Close this window

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "แอร์รถยนต์"
แอร์รถยนต์ หรือเรียกให้ถูกว่า ระบบปรับอากาศภายในห้องโดยสารของรถยนต์ นั้นกล่าวอย่างให้เข้าใจง่าย
ก็คืออุปกรณ์ที่ใช้ "สูบ" ความร้อนภายในห้องโดยสารของรถ แล้วนำความร้อนนี้มา "คาย" ทิ้งภายนอก
แต่กรรมวิธีสูบและคายความร้อนซึ่งฟังอย่างผิวเผินเหมือนของง่ายนั้น จำเป็นต้องอาศัยชิ้นส่วนไม่น้อย
หน้าที่ต่างกันให้มาทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น จึงจะสัมฤทธิ์ผลสมประสงค์ของมนุษย์เรา
ในการใช้สมองอันเฉลียวฉลาดพัฒนาอุปกรณ์เพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเอง

วิธี "สูบ" ความร้อนออกจากห้องโดยสาร อาศัยหลักการนำความร้อนแฝงไปด้วยเมื่อของเหลวระเหยกลายเป็นไอ
และจะคายความร้อนนี้กลับคืนเมื่อกลั่นตัวคืนสู่สถานะของเหลวอีกครั้ง
ระบบปรับอุณหภูมิในห้องโดยสารให้ลดต่ำลง จึงใช้วิธีทำให้ของเหลวภายใต้ความดันสูง
ถูกลดความดันจนระเหยกลายเป็นไอพร้อมกับพาความร้อนในห้องโดยสารไปด้วย
หลังจากนั้นนำไปเพิ่มความดันให้สูงพร้อมกับหาที่เหมาะสมให้มันคายความร้อนแฝงออกและกลายสภาพเป็นของเหล
วอีกครั้ง ภายนอกห้องโดยสาร

การบรรยายหลักการทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์อย่างละเอียดมิใช่จุดประสงค์ของคอลัมน์นี้
แต่เป็นการบำรุงรักษาและการใช้งานให้ถูกต้องซึ่งต้องอาศัยความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของระบบนี้อย่างคร่าวๆ
เริ่มกันที่อุปกรณ์เพิ่มความดันของสารทำความเย็นหรือที่นิยมเรียกกันว่า น้ำยา ก่อน คอมเพรสเซอร์
อาศัยกำลังจากเครื่องยนต์มาหมุนมันโดยอาศัยสายพาน
น้ำยาแอร์ในสถานะที่ยังเป็นไอจากอีแวพอเรเตอร์ภายในรถจะถูกคอมเพรสเซอร์เพิ่มความดันให้สูง
ขณะเดียวกันก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วย จากนั้นแกสความดันสูงและอุณหภูมิสูง จะไหลไปสู่คอนเดนเซอร์
ซึ่งมีลักษณะเหมือนรังผึ้ง (ส่วนใหญ่อยู่หน้าหม้อน้ำของรถยนต์นั่ง)
อาศัยลมปะทะหรือพัดลมไฟฟ้าพ่นอากาศผ่านรังผึ้งแกสนี้จะเย็นลงและกลายสภาพเป็นของเหลว
พร้อมกับคายความร้อนส่วนหนึ่งให้อากาศที่ไหลผ่านรังผึ้ง
(ความร้อนส่วนนี้คือตัวการที่ทำให้เครื่องยนต์ของรถหลายๆ รุ่น โดยเฉพาะรถยุโรป มีปัญหาจากความร้อนสูง
มิใช่เกิดจากการที่เสียกำลังไปในการฉุดคอมเพรสเซอร์ให้หมุน) ออกจากปลายทางของรังผึ้งหรือคอนเดนเซอร์

"น้ำยา" แอร์ที่เป็นของเหลวและ "เย็น" แล้ว (เทียบกับเมื่อยังร้อนตอนออกจากคอมเพรสเซอร์) จะไหลเข้าสู่
รีซีฟเวอร์และดรายเออร์ ซึ่งมีลักษณะเป็นกระบอกทำจากอลูมิเนียมเพื่อช่วยระบายความร้อน
รีซีฟเวอร์นี้จึงต้องอยู่ในที่ๆ มีลมพัดผ่านได้ดีเช่นเดียวกับคอนเดนเซอร์
จึงนิยมติดตั้งไว้ส่วนหน้าหรือด้านข้างของหม้อน้ำ ภายในรีซีฟเวอร์จะมีสารดูดความชื้น เช่น ซิลิคาเจล
สำหรับช่วยกำจัดน้ำที่หลงปะปนอยู่ในน้ำยาแอร์ เพื่อมิให้เกิดปัญหาอุดตัน
เมื่อน้ำนี้กลายเป็นน้ำแข็งเมื่อถูกความเย็นจัด นอกจากนี้จะมีวัสดุสำหรับกรองผงหรือสิ่งแปลกปลอมในน้ำยาด้วย
ด้านบนของรีซีฟเวอร์และดรายเออร์ จะมีช่องกระจกสำหรับตรวจดูปริมาณน้ำยาในระบบ
น้ำยาที่ผ่านรีซีฟเวอร์และดรายเออร์แล้ว จะไหลมาสู่อีแวพอเรเตอร์ซึ่งมีลักษณะเป็นรังผึ้ง เช่นเดียวกับคอนเดนเซอร์
แต่มักจะมีความหนา จำนวนชั้นมากกว่าเพื่อมิให้สิ้นเปลืองเนื้อที่ น้ำยาแอร์ในสถานะของเหลวความดันสูง
จะถูกปล่อยเข้าไปยังอีแวพอเรเตอร์ให้ระเหยเป็นไอ ขณะที่เปลี่ยนสถานะเป็นไอก็จะพาความร้อนแฝงรอบตัวมัน
คือท่อน้ำยาซึ่งเป็นหลอดขดไปมาในอีแวพอเรเตอร์ไปด้วย

แต่จุดประสงค์ของเราต้องการสูบความร้อนภายในห้องโดยสารออกสู่ภายนอก
เราจึงต้องหาวิธีพาอากาศในห้องโดยสารให้ไหลผ่านรังผึ้งของอีแวพอเรเตอร์ ซึ่งทำได้ไม่ยากโดยการใช้พัดลมไฟฟ้า
น้ำยาแอร์ที่กำลังระเหยกลายเป็นไอเพราะถูกลดความดัน จะ "ดูด" ความร้อนจากอากาศของห้องโดยสารไปด้วย
แต่การปล่อยให้น้ำยาแอร์ระเหยในอีแวพอเรเตอร์จะต้องมีการควบคุมปริมาณให้พอเหมาะ หากน้อยไป
จำนวนน้ำยาแอร์ที่ระเหยก็ไม่เพียงพอในการนำความร้อนออกจากห้องโดยสาร
หากปล่อยเข้าไปมากเกินไปก็ระเหยไม่ทัน กลายเป็นของเหลวไป
คั่งค้างอยู่ในอีแวพอเรเตอร์ ไม่สามารถพาความร้อนได้เพียงพอเช่นกัน
เราใช้วาล์วชนิดปรับตัวได้ควบคุมปริมาณของน้ำยาแอร์ที่จะไหลเข้าอีแวพอเรเตอร์เรียกชื่อตามหน้าที่มันว่
เธอร์โมสแตทิค เอกซ์แพนชัน วาล์ว เมื่อเปลี่ยนสถานะเป็นไอพร้อมกับรับความร้อนจากรังผึ้ง (และอากาศ)
มาเก็บไว้ในตัวด้วยแล้ว และอยู่ภายใต้ความดันต่ำ น้ำยาแอร์จะถูกคอมเพรสเซอร์ดูดเข้าไป
เพื่ออัดเพิ่มความดันเช่นเดียวกับจุดเริ่มต้นเป็นอันครบวงจรการทำงานของระบบปรับอากาศของรถยนต์

การปรับอากาศนั้นมิได้หมายถึงเพียงการทำให้อากาศเย็นลงเท่านั้น แต่รวมไปถึงการควบคุมความชื้นให้เหมาะสม
การกำจัดฝุ่นละอองและสิ่งแปลกปลอมที่ลอยฟุ้งอยู่ รวมทั้งกลิ่นไม่พึงปรารถนาด้วย
เราจึงรู้สึกสบายกายจากผลการทำงานของมัน

เรียกรถมาแก้ไขไม่ใช่เรื่องผิด
เป็นข่าวใหญ่พอสมควร เมื่อหญิงสาวชาวเยอรมันผู้หนึ่ง ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดยรถยนต์
โดยมีสาเหตุมาจากความล้มเหลวของระบบถุงลมนิรภัย หรือแอร์แบก จากการตรวจสอบรถคันดังกล่าว
พบว่าเป็นรถที่เข้าข่ายถูกเรียกกลับเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบขั้วสายไฟสัญญาณ
ที่จะกระตุ้นให้ถุงลมนิรภัยพองออก เพราะโรงงานผู้ผลิตเคยพบที่รถรุ่นเดียวกับคันอื่น ว่าขั้วนี้ถูกประกอบผิดวิธี
ที่น่าเสียดายอย่างยิ่งคือชีวิตของหญิงผู้เคราะห์ร้ายรายนี้ เพราจากรายงานการชันสูตรซากรถคันนี้
ผู้ขับน่าจะรอดชีวิตอย่างแน่นอน หากถุงลมนิรภัยทำงานตามปกติ

ไม่มีอะไรเป็นหลักประกัน ว่าเจ้าของรถที่ถูกเรียกให้ส่งรถเข้าตรวจสอบ จะนำรถเข้าศูนย์บริการทันทีหรือไม่
ที่ยังไม่มานั้นเพราะยังไม่ว่าง หรือไม่ยอมมาอยู่ดี เพราะไม่เห็นคุณค่าของการตรวจสอบ
คงเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในโรงงานผลิตรถยนต์ว่าจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร งานนี้โรงงานผู้ผลิตเขารอดตัวไป
เพราะได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว คือได้เปิดเผยและแจ้งเจ้าของรถที่เข้าข่ายทุกคันครบถ้วน

ที่น่าห่วงก็คือประเทศที่ทันสมัยแต่ไม่พัฒนาอย่างเมืองเรานี่แหละครับ
ผมเคยเขียนไปสองครั้งแล้วว่าหมดสมัยที่จะปิดบังข้อบกพร่องของรถกันแล้ว
ลองไปสอบถามทำสถิติความเห็นของผู้ใช้รถชาวไทยดูก็ได้ว่า เขาหวังหรือไม่ว่ารถที่เพิ่งซื้อมาใหม่
จะต้องดีพร้อมไม่มีข้อบกพร่อง ไม่มีใครหวังอย่างนั้นหรอกครับ อย่าดูถูกภูมิปัญญาของผู้ใช้รถดีกว่า
เขาทราบดีว่ามันประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ขอเพียงชี้แจงกันด้วยความจริงใจและมีเหตุผลเท่านั้น
และแก้ไขให้เขาอย่างถูกต้องก็พอใจแล้ว

รถที่หญิงสาวผู้ขับเสียชีวิต ก็มีการนำเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยครับ
แต่ผมไม่ทราบว่าเป็นรุ่นที่มีถุงลมนิรภัยด้านคนขับหรือไม่ สัปดาห์ที่แล้ว
ก็อ่านพบข่าวการเรียกรถกลับเข้าศูนย์บริการทั่วโลก เป็นรถที่คนไทยคลั่งไคล้กันสุดขีดโดยไม่ลืมหูลืมตา
และเป็นรุ่นใหญ่ราคาแพงเสียด้วย ก็ไม่เห็นมีข่าวอะไรเล็ดลอดออกมานะครับ ทั้งๆ
ที่เป็นความบกพร่องเกี่ยวกับท่อน้ำมันเบรคของล้อหน้า
ซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยโดยตรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต เท่าที่ทราบ ตัวแทนจำหน่ายทั้งหลายในเมืองไทย
จะใช้วิธีคอยแอบซ่อมหรือแก้ไขโดยไม่ให้ลูกค้าทราบ พวกที่ไม่เข้าศูนย์บริการตามกำหนด ก็ปล่อยให้มันตายไป
ไม่ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว
เคยมีรถที่ฝาสูบมีปัญหาและโรงงานในต่างประเทศสั่งเปลี่ยนใหม่ให้แก่ลูกค้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
แต่ที่เมืองไทยกลับมีการพ่นสีทอง แล้วล่อลูกค้าให้นำมาเปลี่ยน จะฉวยโอกาสคิดค่าแรงหรือไม่ น่าสงสัย
แต่ผมไม่ขอปรักปรำเท่านี้ก็เลวร้ายพออยู่แล้ว คือมองลูกค้าดุจวัวควาย จะหลอกล่ออย่างไรก็ได้
บางแห่งมีอันตรายถึงขั้นอาจเกิดไฟไหม้ทั้งคันจนคลอกลูกค้าเสียชีวิต ก็ยังไม่ยอมตามรถจากลูกค้ามาแก้ไข

ถ้าถามว่าเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ในประเทศเราตลอดเวลา คำตอบก็คือ
1. การขาดจรรยาบรรณของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก และไม่ใช่สิ่งที่เราจะไปคาดหวังว่าจะมี
กำไรคือยอดปรารถนาของนักค้ารถเป็นธรรมดาอยู่แล้ว สาเหตุน่าจะอยู่ที่ข้อถัดไปคือ
2. กลไกของรัฐ ขาดความสามารถและความจริงใจในการคุ้มครองประชาชนอยู่บริโภค ทำให้ผู้ผลิตมั่นในว่า
ไม่มีผู้ใดจะมาเอาผิดลงโทษ หรือบังคับให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ใช้รถได้
เพราะรัฐขาดองค์กรที่จะวิเคราะห์อุบัติเหตุด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และตรรกศาสตร์
3. ผู้ใช้รถจำนวนมาก ยังไม่ยอมเข้าใจว่า ความปลอดภัยของยานพานะและการจราจร เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์
ไม่ใช่ไสยศาสตร์ (ถ้าเข้าใจ ก็คงจะต้องมีการร้องเรียน ฟ้องร้องให้เราเห็นกันอยู่เสมอๆ)
ยานพาหนะเป็นอุปกรณ์ทางเทคนิค
ถ้าจะมีอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุก็ต้องด้วยเหตุผลทางเทคนิคของยานพาหนะ
หรือไม่ก็จากความบกพร่องของมนุษย์ผู้ขับขี่ ไม่ได้เกิดเพราะขาดการพกพาวัตถุมงคล หรือบูชาน้อยไป
น่าจะมีนักศึกษารวบรวมสถิติสำหรับทำวิทยานิพนธ์สักรายนะครับ
ว่าในบรรดายานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีวัตถุมงคลติดรถอยู่หรือไม่
มากน้อยเพียงใด ผมบอกได้เลยว่ามีเกือบทุกคน ไม่ได้ลบหลู่ใครนะครับ แต่ยานพาหนะเป็นวิทยาศาสตร์
ถ้าจะบกพร่องหรือเกิดอันตรายในส่วนของยานพาหนะเองก็ต้องด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
และก็ต้องแก้ไขและป้องกันอันตรายด้วยวิทยาศาสตร์เท่านั้น แล้ววัตถุมงคลล่ะ ? ดีครับ มีติดรถไว้เยอะๆ
เป็นการช่วยเสริมก็ได้ จะได้มีความเชื่อมั่นและอุ่นใจขณะขับแถมยังช่วยให้เราละอายใจได้ด้วย
ถ้าเริ่มคิดจะทำบาปหรืออะไรที่เราก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันไม่ดี

เหมือนแม่ทัพหรือนักรบที่เก่งกล้า ซึ่งรักษาผืนดินให้เราได้อยู่กันสุขสบายทุกวันนี้
เพลงดาบและวิทยายุทธต้องเยี่ยมก่อน แล้วถึงจะเสริมด้วยเครื่องรางของขลังทั่วตัว ถ้ารถพร้อมสรรพทางเทคนิค
ผู้ขับเชื่อมั่นมีศีลมีธรรมเพราะละอายต่อบาป กรรมเก่าก็ตามทันได้ยาก แบบนี้น่าจะปลอดภัยที่สุดแล้วนะครับ
ก่อนจบเรื่องนี้ผมอยากเรียนถามอัยการแผ่นดินและผู้รู้ว่า กรณีที่ปล่อยให้ผู้อื่นเสียชีวิต ทั้งๆ
ที่เรารู้อยู่แก่ใจและสามารถป้องกันได้ แต่กลับเจตนาปิดบังหรือละเลยเพื่อประหยัดทรัพย์
และแรงงานเพียงเล็กน้อยเช่นนี้ เข้าข่ายฆาตกรรมผู้บริสุทธิ์หรือไม่ ?
โดย: +=FIRST=+   วันที่: 24 Jan 2005 - 18:54


 ความคิดเห็นที่: 1 / 8 : 032013
โดย: +=FIRST=+
ที่มา : www.autoinfo.co.th
วันที่: 24 Jan 05 - 18:56

 ความคิดเห็นที่: 2 / 8 : 032027
โดย: เต่าฟ้า
ยาวมากๆๆ นาย1
วันที่: 24 Jan 05 - 19:31

 ความคิดเห็นที่: 3 / 8 : 032044
โดย: นายหนึ่ง
ผมปล่าวนะ ว่าผมทำไม??
วันที่: 24 Jan 05 - 19:59

 ความคิดเห็นที่: 4 / 8 : 032068
โดย: นา่ย -=FIRST=- มะได้โลจิ้น
เวงกำคนละคน
วันที่: 24 Jan 05 - 22:06

 ความคิดเห็นที่: 5 / 8 : 032110
โดย: buggi
ขอบคุณค่ะที่เอาเรื่องดีๆมาแบ่งปัน
วันที่: 24 Jan 05 - 23:42

 ความคิดเห็นที่: 6 / 8 : 032155
โดย: H@NK
นายหนึ่งน่ะ...ไม่ยาวหรอก



แต่เรื่องน่ะยาวจัง เหอ เหอ

แหะ แหะ แซวเล่น
วันที่: 25 Jan 05 - 09:43

 ความคิดเห็นที่: 7 / 8 : 032695
โดย: เลิศ
ก็มีบริษัทรถยนต์ยักใหญ่ของญี่ปุ่นรายหนึ่ง โดนฟ้องแล้วฟ้องอีกดังไปทั้งโลก เรื่องปกปิดความบกพร่องของรถยนต์(รถบรรทุก)แล้วไม่ยอมเรียกคืน จนทำให้ผู้ใช้ถึงแก่ชีวิตเป็นจำนวนมาก (ผลการวิเคราะห์ของหนวยงานของรัฐที่เกียวข้อง) เสียเงินค่าปรับไปก็ตั้งเยอะ เสียชื่อไปก็แยะ เดี๋ยวนี้สถานะภาพรวมของทั้ง brand ก็ค่อนข้างย่ำแย่ รถแทบจะขายไม่ได้ ครึ่งผี ครึ่งคน เมื่องไทยมีสื่อสิ่งพิมพ์ลงข่าวไม่กี่ฉบับ
...แต่แปลกไอ้รถบรรทุกรุ่นนี้ ยี่ห้อนี้ ก็ยังมีหน้ามาโชว์ที่เมืองไทย ในงาน motor expo ที่ผ่านมาด้วย
วันที่: 26 Jan 05 - 19:59

 ความคิดเห็นที่: 8 / 8 : 039575
โดย: ฟฟ
ที่ได้ยินจากคนรู้จักเป็นชาว Japanese เขาบอกว่าเป็นยี่ห้อ เอ็ม นำหน้า ตามด้วย ยาแก้ _ น้ำดำ
ตอนนี้ในญี่ปุ่นยี่ห้อนี้ ยิ่งกว่า ครึ่งผีครึ่งคนอีกครับ แต่เมืองไทย ก็เรื่อยๆครับ
วันที่: 19 Feb 05 - 15:19