Close this window

น้ำมันเครื่อง
บทความเบาๆ ไม่ยาว .. อ่านง่ายครับ

http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01eci02020348&show=1§ionid=0142&day=2005/03/02
โดย: นพดล   วันที่: 3 Mar 2005 - 15:45


 ความคิดเห็นที่: 1 / 2 : 044141
โดย: เอื้อย
ขอบคุณนะค้า
วันที่: 04 Mar 05 - 10:02

 ความคิดเห็นที่: 2 / 2 : 044142
โดย: เอื้อย
วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 9853

รู้เฟื่องเรื่องน้ำมันเครื่อง

คอลัมน์ คลื่นความคิด

*สกล หาญสุทธิวารินทร์*

วันนี้เปลี่ยนบรรยากาศมาทำความรู้จักกับน้ำมันเครื่องที่มีความสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถยนต์ หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่า เรื่องของน้ำมันเครื่องน่าจะไปอยู่ในคอลัมน์รถยนต์ ไฉนจึงย้ายนิวาสสถานมาลงในคอลัมน์นี้ มันเกี่ยวข้องอะไรกับเศรษฐกิจการค้า ก็ขอชี้แจงในเบื้องต้นว่า หน่วยงานที่ควบคุมดูแลคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งรวมถึงน้ำมันเครื่องด้วย คือ สำนักน้ำมันเชื้อเพลิง เคยเป็นหน่วยงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์มาก่อน

จนเมื่อมีการปฏิรูประบบราชการเมื่อสองปีที่แล้ว จึงโอนไปตั้งเป็นกรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน รับผิดชอบควบคุมดูแลการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท น้ำมันเครื่องมีมากมายหลายชั้นคุณภาพ มีชื่อทางการค้ามากมายหลายยี่ห้อ มีราคาแตกต่างกันหลายระดับ แต่ละชั้นคุณภาพก็เหมาะกับประเภทของเครื่องยนต์ต่างกัน ถ้าเป็นน้ำมันเครื่องที่ไม่มีคุณภาพหรือเป็นน้ำมันเครื่องปลอม ใช้แล้วมีผลต่ออายุของเครื่องยนต์ ก็มีผลกระทบต่อสตางค์ในกระเป๋าของเจ้าของรถยนต์

การซื้อน้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงมีราคาแพงมาใช้เกินความจำเป็นกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ก็จะทำให้เสียสตางค์สูงขึ้นโดยใช่เหตุ จึงเป็นเรื่องที่ผู้ใช้รถยนต์ซึ่งเป็นผู้บริโภคควรมีส่วนรับทราบรับรู้ เพื่อตัดสินใจใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับความต้องการของรถยนต์ และเหมาะสมกับราคาที่ต้องจ่าย

บทความนี้เรียบเรียงขึ้นจากข้อมูลและบทความที่เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องของสำนักคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงาน

น้ำมันเครื่องที่จำหน่ายในท้องตลาดอยู่ในการควบคุมดูแลคุณภาพโดยกรมธุรกิจพลังงาน โดยมีการประกาศกำหนดคุณภาพมาตรฐานของน้ำมันเครื่อง ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายน้ำมันเครื่องที่ใช้ชื่อทางการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของตนเอง ต้องยื่นเอกสารแสดงลักษณะคุณภาพ สูตร ผลการทดสอบด้วยการใช้งานของน้ำมันเครื่อง เพื่อให้กรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบก่อนว่าเป็นไปตามข้อกำหนด เรื่องชั้นมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่ประกาศกำหนดไว้หรือไม่ ถ้ากรมธุรกิจพลังงานให้ความเห็นชอบแล้ว จะกำหนดเลขทะเบียนน้ำมันเครื่องแต่ละชั้นแต่ละผลิตภัณฑ์ให้

แต่เดิมเลขทะเบียนจะใช้อักษร ทค และตามด้วยตัวอักษร ตัวเลขที่กำหนดเฉพาะแต่ละผลิตภัณฑ์ให้ ปัจจุบันเปลี่ยนอักษรเป็น ธพ และตามด้วยตัวอักษรและตัวเลขเฉพาะแต่ละผลิตภัณฑ์เช่นเดิม

ดังนั้น หากผู้ใดซื้อน้ำมันเครื่องที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นแบบเดิม ทค หรือแบบใหม่ ธพ ถือได้ว่าเป็นน้ำมันเครื่องที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบเรื่องคุณภาพ หรืออาจเป็นน้ำมันเครื่องปลอม

สำหรับชั้นคุณภาพของน้ำมันเครื่องชั้นหลักใหญ่จะอิงหรือใช้มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีอักษรย่อว่า API(AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE) แต่ก็มีผู้ผลิตผู้นำเข้าบางรายอิงหรือใช้มาตรฐานของประเทศญี่ปุ่น(JASA) หรือของยุโรป(ACEA)

น้ำมันเครื่องชั้นคุณภาพสูงสุดในปัจจุบัน ได้แก่ API SL และ API CI-4

API SL เป็นน้ำมันเครื่องชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์เบนซินในปัจจุบัน เหมาะสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งเน้นเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิง ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ ลดมลภาวะจากเขม่า ไอเสีย ตลอดจนปริมาณก๊าซเสียต่างๆ จากขบวนการเผาไหม้ และเพิ่มระยะการเปลี่ยนถ่ายมากขึ้น การระเหยตัวต่ำภายใต้สภาพการใช้งานในสภาพเครื่องยนต์ร้อนจัดหรือใช้งานหนัก

API CI-4 เป็นน้ำมันเครื่องชั้นคุณภาพสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ที่ต้องผ่านมาตรฐานมลพิษที่เข้มงวดขึ้น

สำหรับคำแนะนำในการเลือกซื้อน้ำมันเครื่อง สรุปได้คือ ให้พิจารณาจากเรื่องสำคัญๆ สองเรื่อง ดังนี้

(1) ให้พิจารณาจากคู่มือประจำรถ ซึ่งจะระบุถึงเกรดหรือมาตรฐานการใช้งาน(ADI)และความหนืด(SAE) ของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับรถนั้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องเกรดที่สูงกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือประจำรถ เว้นเสียแต่ว่าอยากใช้เพื่อความสบายใจ หรือเพื่อความมัน

(2) รายละเอียดของฉลากบนภาชนะบรรจุน้ำมันเครื่อง จะต้องระบุชื่อของผู้ผลิต หรือผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่าย สถานที่ผลิต ระบุมาตรฐานการใช้งาน ชนิดความหนืด ข้อแนะนำการใช้งานรวมทั้งมีเลขทะเบียนสำหรับน้ำมันเครื่องที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะและเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงานแล้ว

ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นยี่ห้อตรงกับยี่ห้อรถ เพราะยี่ห้อเป็นเพียงชื่อทางการค้าจะใช้ชื่ออะไรก็ได้ หลายยี่ห้อเจ้าของยี่ห้อก็มิได้เป็นผู้ผลิตเอง แต่จ้างผู้อื่นผลิต ที่สำคัญคือมาตรฐานการใช้งานและชนิดความหนืด ตรงตามที่คู่มือประจำรถกำหนดไว้หรือไม่

เมื่อเขียนมาถึงตอนนี้ นึกได้ว่าเพิ่งไปซื้อน้ำมันเครื่องมา 1 แกลลอน เพื่อเตรียมไว้เปลี่ยนถ่าย จึงต้องย่องไปดูฉลากว่าตรงตามคำแนะนำหรือไม่ เพราะจะกลายเป็นว่าแนะนำแต่เขาแต่อิเหนากลับไม่ทำเอง

เปลี่ยนใจเอามาแปะไว้เลยดีกว่า
วันที่: 04 Mar 05 - 10:03