Close this window

ฝากถึง พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกคน ที่กำลังจะ.... สอบบบบบ ...
เรามาพยายามด้วยกันนะค๊า..... บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด... บึ๊ด จ้ำ บึ๊ด... ฮุย เล ฮุย...

อ่านอะไร ขอให้ออกอันนั้น (สำคัญนะ เพราะกวางสอบทีไรนะ อ่านไปไม่ตรงกะที่ออกสอบซะทุกทีสิน่า ชิ)

ขอให้สมองปลอดโปร่ง โล่งสบาย แต่อัดแน่นไปด้วยความรู้

ขอให้ความรู้อย่าพึ่งวิ่งหนีกลับบ้านตามอาจารย์ผู้สอนไป

ขอให้ตั้งใจอะไรไว้ก็ขอให้ทำได้ตามนั้น สมหวังๆ นะจ๊ะ

และสุดท้ายยยยย ถ้าเดา ถ้ามั่ว ก็ขอให้มันถูกกกก!!! เด้ออออออ

เก็ทเอๆ กันถ้วนหน้านะค๊า สาธุ๊.....


ปล. เกร็ดน่ารู้ สำหรับชาวเรา (พวกใกล้สอบทั้งหลาย)

--- ดื่มน้ำเยอะๆ จะช่วยให้ไม่หลับ (วิ่งเข้าห้องน้ำแทน) และสดชื่น แจ่มใส ไม่มึน หัวไม่ตื้อ โดยไม่ต้องพึ่งกาแฟ (กาแฟทำให้หัวตื้อ คิดไม่ออก จำไม่แม่น นะจ๊ะ)

--- วิตามินบี เลซิติน แปะก๊วย -- ช่วยเรื่องการทำงานเซลล์ประสาท ได้นะจ๊ะ แต่ว่าไม่จำเป็นอะ ดื่มน้ำสะอาดเยอะๆ ก็ช่วยได้โข แล้ว ถ้าจะให้ดีหน่อยก็น้ำผักผลไม้สดอะ เจ๋งงงงงง

--- และสุดท้าย โสม <<< พิสูจน์แล้วว่าช่วยเรื่องร่างกาย ไม่ให้เพลีย ไม่ให้ปวดหัวหลังอดนอน ได้เยอะทีเดียว (อันนี้ใช้กับตัวเองมาน่ะ) วิธีก็ง่ายๆเลย เอาโสมที่ฝานบางๆแล้วใส่ในแก้ว แล้วใส่น้ำร้อนลงไป ปิดฝาซะหน่อยแล้วทิ้งเอาไว้ แล้วค่อยมาดื่มทีหลัง ส่วนกากโสมนี่จะเคี้ยวเล่นก็ได้ ไม่ว่ากันจ้า


อะเฮ้ย อีกอย่างนึง ขอแก้ข่าวตาพี่เร๊ดก่อน... กวางยังไม่ได้สอบตก ไม่ได้สอบซ่อมนะ อย่าเข้าใจผิดตามตาพี่เร๊ดนะคร๊า....
โดย: กวางป่า   วันที่: 20 Jul 2005 - 21:42


 ความคิดเห็นที่: 1 / 9 : 099183
โดย: กวางป่า
เคล็ดลับวิธีทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำ


เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ
นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน
ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง
หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ
การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัย
การอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
หากท่านสามารถจับหลักนี้ได้ ท่านย่อมพบกับความสำเร็จในการเล่าเรียนศึกษาอย่างแน่นอน
ขอให้โชคดีทุก ๆ คนนะครับ...
เคล็ดลับ
1.เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว
2.จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟัง คือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้
3.หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง
4.หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป
5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตร ต่าง ๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลา เปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง
7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน คลุมเครือ
8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-

ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ
อ่านหนังสือด้วยวิธีการนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ทั้งเล่ม ไม่ลืมเลย...สวัสดี


หมายเหตุ * เทคนิคการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำนี้ เป็นเพียงข้อเดียว (อรรถปฏิสัมภิทา) ในธรรมะชุดปฏิสัมภิทา ๔ หรือ ธรรมะเพื่อความเลิศทางวิชาการ จาก พระไตรปิฎกมรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุดของคนไทย )


ที่มา... http://www.budpage.com/patisum002.shtml
วันที่: 20 Jul 05 - 21:48

 ความคิดเห็นที่: 2 / 9 : 099185
โดย: กวางป่า
"เคล็ดลับวิธีจับประเด็น และ จดโน้ตย่อ"


เคล็ดลับวิธีจับประเด็น และ จดโน้ตย่อนี้เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการจับประเด็น และ จดโน้ตย่อ คือ หมั่นฝึกจับประเด็นทุกครั้งที่ได้อ่านหรือได้ยินได้ฟังอะไรก็ตาม ควรฝึกบ่อยๆจนติดเป็นนิสัย การอ่านเพื่อจับประเด็น เป็นสิ่งที่ฝึกกันได้ทุกคน หากมีความเพียรพยายาม หากท่านสามารถจับหลักนี้ได้ ท่านย่อมพบกับความสำเร็จในการเล่าเรียนศึกษาอย่างแน่นอน


เคล็ดลับ


คนเราส่วนใหญ่เมื่ออ่านหนังสือหรือได้ยินได้ฟังอะไรแล้ว มักจะไม่ค่อยรู้จักตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นให้ความคิดทำงาน หลาย ๆ คน อ่านหนังสือแล้วก็อ่านไปเลย จำเรื่องราวได้แค่คร่าว ๆ ไม่ค่อยแม่นยำ จับประเด็นอะไรไม่ค่อยได้ บางคนถึงกับหลงประเด็นไปเลยก็มี
หัวใจของการจับประเด็นคือ การฝึกหัดตั้งคำถามกับตัวเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือ หรือ เมื่อได้ฟังเรื่องราวต่าง ๆ คำถามที่สำคัญ ได้แก่ คำถามว่า "อะไรคือประเด็นสำคัญของเรื่องนี้" หรือ "หัวใจของเรื่องมันอยู่ที่ตรงไหน" หรือ "คนเขียนหนังสือเรื่องนี้เขาต้องการจะบอกอะไรกับเรา" หรือ " สาระสำคัญของเรื่องมันอยู่ตรงไหน " เป็นต้น

( ถ้าจะฝึกฝนให้จับประเด็นได้แม่นยำยิ่งขึ้น ท่านควรจะเรียนรู้วิธีทำความเข้าใจและ จดจำเนื้อหา ให้คล่องแคล่วเสียก่อน หรือจะฝึกไปพร้อม ๆ กันก็ได้ )

ท่านสามารถฝึกฝนเทคนิคการจับประเด็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่นการอ่านหนังสือ พิมพ์ หรือบทความต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบทความในอินเตอร์เน็ต ยกตัวอย่าง เวลาท่านอ่านหนังสือพิมพ์ ก็อย่าเพิ่งไปดูที่พาดหัวข่าว ให้อ่านเนื้อหาของข่าวไปเลย พออ่านข่าวจบ ให้ท่านตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ข่าวนี้ควรจะพาดหัวข่าวว่าอย่างไร" นี้เป็นการฝึกจับประเด็นที่ดีวิธีหนึ่ง
หรือในกรณีที่ท่านได้อ่านบทความที่เป็นข้อถกเถียง หรือข้อโต้แย้ง ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ หรือ จากกระดานข่าวในอินเตอร์เน็ต พอท่านอ่านบทความที่เป็นข้อขัดแย้งนั้นจบและทำความเข้าใจเนื้อหาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้ท่านตั้งคำถามกับตัวเองว่า "ประเด็นของปัญหามันอยู่ตรงไหน" คำตอบที่ตอบปรากฏออกมาในใจของท่าน นั่นคือ ประเด็นของปัญหา ทีนี้เมื่อเราจับประเด็นได้แล้ว ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนก็จะมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่หลงประเด็นอีกต่อไป
ในกรณีนักเรียนนักศึกษาที่จะต้องดูหนังสือทบทวนเพื่อเตรียมตัวสอบไล่ ควรฝึกหัด จับประเด็นให้คล่องแคล่ว เริ่มต้นด้วยการฝึกทำความเข้าใจในเนื้อหาตำราให้ได้เสียก่อน เมื่อเข้าใจแล้ว ขั้นต่อไปก็ให้ฝึกตั้งคำถามกับตัวเองทุกครั้งที่อ่านหนังสือจบบทว่า "หัวใจสำคัญของบทเรียนแต่ละบทที่อ่านมานั้นมันอยู่ที่ตรงไหน" หรือ ประเด็นที่สำคัญที่สุดของบทเรียนบทนี้คืออะไร " ทีนี้พอจับประเด็นแล้ว ก็ให้จดโน้ตย่อประเด็นนั้นให้เป็นข้อความสั้น ๆ เก็บเอาไว้ ทีนี้เวลาใกล้สอบก็ไม่ต้องไปท่องหนังสือทั้งเล่มอีกต่อไป เพียงแค่ทบทวนประเด็นที่จดโน้ตย่อไว้ในกระดาษเพียงไม่กี่แผ่นก็เข้าใจได้หมดทั้งเล่ม
เวลาทบทวน แค่เราดูโน้ตย่อเพียงประโยคเดียว ความจำของเราก็จะทำหน้าที่ขยาย แตกตัวออกเป็นความเข้าใจเนื้อหาได้เป็นหน้า ๆ ทีนี้ถ้าหากมีที่ตรงไหนเราเกิดความรู้สึกคลุมเครือ หรือ ลังเลสงสัย เราก็เพียงแต่หยิบหนังสือมาทบทวนดูเฉพาะตรงบทนั้นอีกครั้งหนึ่ง
ปัจจุบันเราอยู่ในยุคข่าวสารข้อมูล เป็นยุคที่ข่าวสารข้อมูลหลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศจนท่วมท้นหูตาไปหมด คนที่เข้าใจเนื้อหาสาระและ จับประเด็นแม่น จะเป็นคนที่ได้เปรียบ เพราะสามารถรับข่าวสารข้อมูลได้มากมาย ในขณะที่คนอื่นรับไม่ไหว
สาระสำคัญของบทความนี้ คือ ใครต้องการที่จะเป็นคนยุคข่าวสารข้อมูล คือมีความรู้เท่าทันข่าวสารข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ก็ควรจะพัฒนาตนให้เป็นคนที่สามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้รวดเร็วและจับประเด็นเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ ได้แม่นยำ และ "การหมั่นฝึกตั้งคำถาม " คือหัวใจสำคัญที่สุดในการฝึกจับประเด็น
สุดท้ายนี้ เครือข่ายฯ ขอเอาใจช่วยทุก ๆ ท่าน ขอให้ฝึกฝนจนประสบความสำเร็จทุก ๆ ท่านนะครับ สวัสดี



หมายเหตุ * เคล็ดลับวิธีจดโน้ตย่อ และ จับประเด็นนี้ เป็นเพียงข้อเดียว (ธัมมปฏิสัมภิทา) ในธรรมะชุดปฏิสัมภิทา ๔ หรือ ธรรมะเพื่อความเลิศทางวิชาการ จาก พระไตรปิฎกมรดกทางปัญญาที่สำคัญที่สุดของคนไทย


ที่มา... http://www.budpage.com/patisum002.shtml
วันที่: 20 Jul 05 - 21:50

 ความคิดเห็นที่: 3 / 9 : 099187
โดย: เต่าฟ้า
โชค เอ เยอะๆนะน้องหมอ
วันที่: 20 Jul 05 - 21:53

 ความคิดเห็นที่: 4 / 9 : 099251
โดย: ผีเฝ้าบอร์ด~
แหม ปีหน้าจะเอนท์ฯพอดีเลยคับ
มีประโยชน์จัง
วันที่: 21 Jul 05 - 09:00

 ความคิดเห็นที่: 5 / 9 : 099260
โดย: aomsin
เคล็ดลับที่ทำให้สอบผ่านอีกประการ........ครือ..


ให้เอาเวลาไปอ่านหนังสือ..อย่ามัวแต่เปิด Web Board.....แฮ่ะๆๆๆๆ
วันที่: 21 Jul 05 - 09:30

 ความคิดเห็นที่: 6 / 9 : 099261
โดย: AL Fargo
ขอถุยดัง ๆกับ คห. ที่4 หน่อยนะค้า เหม ๆๆๆ ปีหน้าจะเอนท์ฯ ระวังจะเอ็นติดนะจ้า......






กวาง...........ข้อสอบอัตนัยใช่ป่ะ แบบเขียนเรียงความ 100ย่อหน้าไรเงี้ย ไม่มีไรจะพูด น่ากัว

ขอให้โชคดีทุกคนนะน้อง ๆที่ยังเรียนหนังสืออยู่ ก็จงตั้งใจเรียนมิฉะนั้นจะจบมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพ (ต่ำ) แบบพี่


วันที่: 21 Jul 05 - 09:32

 ความคิดเห็นที่: 7 / 9 : 099279
โดย: ไม่บอก
เยี่ยมมั่กๆ
วันที่: 21 Jul 05 - 11:56

 ความคิดเห็นที่: 8 / 9 : 099326
โดย: RollriderS
ดีจังมีแบบนี้เยอะก็ดีครับให้ความรู้คนได้เยอะดี
วันที่: 21 Jul 05 - 16:36

 ความคิดเห็นที่: 9 / 9 : 118198
โดย: คอลล์เกต
ไม่ต้องมาสอนคนอื่นเลยเหม็นขี้ฟัน หัดแปลงฟันบ่อยๆหน่อยนะปากเหม็นมาก
ผู้หญิงอะไรสกปรกจริงๆไม่ชอบแปลงฟันเชอะ
วันที่: 05 Sep 05 - 23:30