Close this window

ได้รับข้อมูลผลกระทบจากการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ แทน น้ำมันเบนซิน 95 ฝากเพื่อน ๆ Comment หน่อยครับว่าจริงแท้แค่ไหน
รถยนต์ในบ้านเราปัจจุบันนี้สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ได้หรือเปล่า ตอบไปเลยว่าได้ แต่ถ้าถามว่าแล้วมันจะมีผลกระทบอะไรตามมาหรือเปล่าจากการใช้แก๊สโซฮอล์ ตอบไปเลยสิว่า มีดังต่อไปนี้

1. รถยนต์ในประเทศไทยที่ผลิตตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ถังน้ำมันในรถยนต์ตลอดจนท่อทางเดินน้ำมันจากถังน้ำมันเข้าสู่เครื่องยนต์จะทำจากวัสดุที่ทำจากยาง หรือพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันไร้สารตะกั่วทำปฏิกริยากับถังน้ำมันเหล็กของรถยนต์รุ่นก่อนหน้านี้ (รถยนต์รุ่นเก่ากว่าปี 1994 ลงไป) ซึ่งไม่สามารถจะใช้น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วได้เนื่องจากถังน้ำมันและท่อทางเดินจาก
เป็นสนิมอย่างรวดเร็วหากใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว ทำให้ถังน้ำมันและท่อทางเดินน้ำมันรั่วซึมก่อนเวลาอัน
ควร แต่เมื่อรัฐบาลมารณรงค์ให้ใช้แก๊สโซฮอล์ ซึ่งมีส่วนผสมของเอธานอล =10 % และน้ำมันเบนซิน 91 =90% หรือ E10 ที่คุยนักหนา ว่าเติมได้ ปรากฏว่าเจ้าเอธานอล 10% ที่ว่านี้มันไปทำปฏิกริยากับถังน้ำมันรถยนต์และท่อทางเดินน้ำมัน รถยนต์ที่ผลิตจากวัสดุที่ทำจากยาง หรือพลาสติกชนิดพิเศษทำให้เกิดการกัดกร่อนยาง หรือพลาสติกชนิดพิเศษ กลายเป็นตะกอนสะสมในถังน้ำมันไปเรื่อยๆ ทีละน้อย
เมื่อปริมาณตะกอนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเกิดผลกระทบดังต่อไปนี้

1. ปั๊มน้ำมันไฟฟ้าจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดูดเอาน้ำมันเข้าไปเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ทำให้อายุการใช้งานของปั๊มน้ำมันไฟฟ้าสั้นลงอย่างรวดเร็ว

2. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงหรือกรองเบนซินจะอุดตันเร็วกว่าปกติ ทำให้อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อ
เพลิงของรถยนต์เพิ่มสูงขึ้น และทำให้เครื่องยนต์กำลังตกลงเนื่องจากปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงไม่ได้สัดส่วนกับปริมาณของอากาศ เมื่อ ECU สั่งจุดระเบิดจะทำให้กำลัง ของเครื่องยนต์ต่ำกว่ามาตรฐานของมันส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่าเร่งไม่ขึ้น

3. ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์จะมีตะกอนของยางและพลาสติกชนิดพิเศษไปเกาะตามบ่าวาล์ว ลูกสูบ
แหวนลูกสูบ หากมีปริมาณไม่มาก ก็จะทำให้แหวนลูกสูบสึกหรอไปทีละน้อย แต่หากมีปริมาณมากๆ แล้ว แหวนลูกสูบจะบิ่น ทำให้เครื่องยนต์ เริ่มมีปัญหาเนื่องจากแหวน ลูกสูบไม่สามารถกวาดน้ำมันเครื่องลงก้นอ่างได้หมด ทำให้รถยนต์คันนั้นมีปัญหาการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ สะสมทีละน้อยๆ เครื่องก็จะค่อยๆ หลวมไปทีละนิด ทีละนิด

4. คาตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ หรือตัวกรองไอเสียของรถยนต์ในปัจจุบันไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อ
รองรับการใช้งานกับเชื้อเพลิงชนิดเอธานอลเบลนด์ การใช้งานเชื้อเพลิงชนิดอื่นนอกจาก RON (น้ำมันไร้สารตะกั่ว) ย่อมทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ชนิดนี้ลดลงกว่าที่ควรจะเป็น (คาตาไลติกคอนเวอร์เตอร์อายุใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10 ปี)

5. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ที่ใช้กันในปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตเอธานอลในประเทศไทยแต่ละรายยังไม่
สามารถส่งมอบเอธานอลได้มาตรฐานตามข้อกำหนด ทำให้คุณภาพของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในปัจจุบันยังไม่นิ่ง และแปรเปลี่ยนไปตามวัตถุดิบของ แต่ละโรงงานผลิต ส่งผลให้การผสมน้ำมันเบนซินไม่ได้สัดส่วนที่แน่นอนอย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีบางโรงงานลดคุณภาพเอธานอลลงเนื่องจากไม่สามารถปรับราคาจำหน่ายขึ้นจาก 12.75 บาท มาเป็น 14.90 บาทได้ จนกระทั่งปัจจุบันรัฐบาลต้องให้ราคาสูงถึง ลิตรละ 15.00 บาทในช่วง 3 เดือนที่ ผ่านมาเพื่อจูงใจให้โรงงานผลิตเอธานอลเหล่านี้ไม่เกเร

6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 ไม่สามารถให้พลังงานได้เทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 เดิม ทำให้ต้องเติม
จำนวนมากกว่า เพื่อให้ได้ระยะทางการขับขี่ที่เท่าๆ กัน

คราวนี้ถ้าเขาถามว่าทำไม ทักษิณ ถึงไม่ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์แบบที่แนะนำให้ชาวบ้านและหน่วยราชการทดลองใช้ล่ะ ก็ตอบเขาไปสิลูก

1. บีเอ็ม 730i ของผมคันนี้อะไหล่มันแพงนี่ครับ ถังน้ำมันใบนึงเท่าไหร่ ท่อทางเดินน้ำมันเท่าไหร่
รถๆ ผมดีๆ เติมแก๊สโซฮอล์ไปเดี๋ยวก็ ต้องโอเวอร์ฮอล์สิครับพี่น้อง

2. ลูกสาวผมก็ใช้ Volk Carvelle V6 ของยนตรกละ นี่ก็ซ่อมแพงเหมือนกัน ผมจึงไม่สามารถเสีย
สละเพื่อชาติได้

3. การเอารถหลวงมาทดลองก่อน ถ้าเสียก็เบิกงบหลวงซ่อมได้ ผมไม่ได้ควักกระเป๋าจ่ายนี่นา

4. ก็รู้ๆ กันอยู่ว่าคุณสุริยาเขาทำโรงงานเอธานอล เขาอยากได้ลิตรละ 18 บาท แต่ผมให้ไม่ได้
เดี๋ยวไก่ (ประชาชน) จะตื่นก่อน ต้องรอให้ ยกเลิกใช้เบนซิน 95 ในปี 2550 ก่อน แล้วผมถึงจะปรับขึ้นให้ ตอนนั้นแก๊สโซฮอล์ราคาจะเท่ากับ เบนซิน 91 ไง ก็ให้ไก่มันเลือกใช้เอาไอ้ที่มันฉลาดมันก็เลือก 91 ไม่ให้รถมันพัง ไอ้ที่โง่ๆ ก็ให้มันเก็บเงินซื้อ E-Car ไปใช้แทนคันเดิมละกัน

5. คุณสุริยะก็ขายอะไหล่รถได้ แถมบ้านเราผลิตไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงเทียมกันเยอะ ผมทำให้มีราย
ได้แล้วไง ผมผิดตรงไหน จะได้ขายไส้กรองบ่อยๆ ไงล่ะ

6. ร้านท่อไอเสียก็รวยแน่คราวนี้เพราะไม่ถึง 10 ปี ไก่ก็ต้องเปลี่ยนแคตกันให้วุ่น เงินทองสะพัด GDP
สูงปรี๊ดส์
โดย: Lai   วันที่: 25 Jul 2005 - 08:17


 ความคิดเห็นที่: 1 / 14 : 100244
โดย: jOeChOn
อิอิอิ

ตาไล้....เตรียมย้ายบ้านใหม่ยัง

เอาวิธีทำมาหารับประทานของ พะนะทั่น มาแฉโพยหมดเนี่ย...
วันที่: 25 Jul 05 - 08:47

 ความคิดเห็นที่: 2 / 14 : 100251
โดย: ไม่บอก
ท่าจะจริงได้ยินมาประมาณนี้ตลอด
และยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่น่าเชื่อถือ
มีแต่บอกว่าใช้ได้ ต้องทำใจอย่างเดียว
บ้านนี้เมืองนี้ เฮ้อ........................
วันที่: 25 Jul 05 - 09:02

 ความคิดเห็นที่: 3 / 14 : 100276
โดย: ton_mct
====

4. คาตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ หรือตัวกรองไอเสียของรถยนต์ในปัจจุบันไม่ได้รับการออกแบบมาเพื่อ
รองรับการใช้งานกับเชื้อเพลิงชนิดเอธานอลเบลนด์ การใช้งานเชื้อเพลิงชนิดอื่นนอกจาก RON (น้ำมันไร้สารตะกั่ว) ย่อมทำให้อายุการใช้งานของอุปกรณ์ชนิดนี้ลดลงกว่าที่ควรจะเป็น (คาตาไลติกคอนเวอร์เตอร์อายุใช้งานเฉลี่ยประมาณ 10 ปี)

====

RON ไม่ได้หมายถึงน้ำมันไร้สารตะกั่ว แต่หมายถึง Research Octane Number ต่างหากครับ

Ethanol มีค่า RON = 108 ส่วน MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) มีค่า RON = 118

ที่ใช้ Ethanol ไม้ได้ใช้แทน Gasoline แต่นำมาใช้แทน MTBE ที่มีราคาแพงครับ

ลองหาหนังสือ Thai Driver เล่มเดือนพฤษภาคม 2548 (เล่มที่ 71) มาอ่านนะครับ มีข้อมูลเรื่อง Gasohol มากเลยนะครับ
วันที่: 25 Jul 05 - 10:18

 ความคิดเห็นที่: 4 / 14 : 100294
โดย: Lai
ขอบคุณครับพี่โจ ที่เตือน ผมว่าจะย้ายไปอยู่กับพี่โจซะเลย จะได้มีคนคุ้มหัวไงพี่
วันที่: 25 Jul 05 - 10:56

 ความคิดเห็นที่: 5 / 14 : 100354
โดย: น้อท
ข้อความ นี้มีคน post หลายรอบจัง ขอแหล่งที่มาหน่อยครับ

แก๊สโซฮอล์
http://www.thaienergynews.com/words04.php
http://www.pttplc.com/th/ptt_core.asp?page=ps_pr_fu_gs_01
http://www.bangchak.co.th/th/gasohol.asp

ผลการทดสอบ
http://www.pttplc.com/th/ptt_core.asp?page=ps_pr_fu_gs_08
http://www.bangchak.co.th/th/newsUpdateDetail.asp?id=146
วันที่: 25 Jul 05 - 13:46

 ความคิดเห็นที่: 6 / 14 : 100825
โดย: RollriderS
เฮ้อประเทศไทยเจอแบบนี้เมื่อไรจาเจริญว้า
วันที่: 26 Jul 05 - 13:05

 ความคิดเห็นที่: 7 / 14 : 100838
โดย: 323 ซีดาน สีน้ำเงิน คนแปด
เราไม่แตะ แก๊สโซฮอลมานานแล้วค่ะ ใช้ 91 ดีกว่า รถหมอปัญหาทันทีค่ะ...!! รถเราปี 95 คงผลิตก่อนปี 95 มัง เลยใช้ไม่ได้ค่ะ...
วันที่: 26 Jul 05 - 13:32

 ความคิดเห็นที่: 8 / 14 : 100927
โดย: เหมาะ
ผมอ่านมาหลายเว็บแล้วครับ คนเขียนผมว่านั่งเทียนเขียนเอาครับ เขียนจากความรู้ตัวเอง แต่ไม่มีการทดลองยืนยัน ข้อมูลอ่านได้ แต่จะให้ผมเชื่อ ผมไม่เชื่อครับ ไม่มีตัวเลขมายืนยัน ยี่ห้อใหนใช้ถังน้ำมันแบบใหน ก็ไม่บอก คนเขียนหัวเอียงซ้าย มีอคติ
วันที่: 26 Jul 05 - 17:36

 ความคิดเห็นที่: 9 / 14 : 100947
โดย: ผมก๊อบมาไว้นะ
แก๊สโซฮอล์" เชื้อเพลิงที่ให้ความหวังกับประเทศชาติ

บทความโดย แสวง บุญญาสุวัฒน์
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท.

--------------------------------------------------------------------------------
แก๊สโซฮอล์ คือ น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินผสมกับแอลกอฮอล์หรือเอทานอลชนิดที่ดื่มได้นั่นเอง แต่ต้องเป็นแอลกอฮอล์ที่มีความบริสุทธิ์สูงถึง 99.5% ขึ้นไปจึงจะเหมาะสมและใช้งานได้อย่างไม่มีปัญหา ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่าเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ปตท. เคยจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ในระหว่างปี 2528 - 2530 เป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี ในสถานีบริการสวัสดิการกรมศุลกากร กรมวิชาการเกษตร และสำนักงานใหญ่ ปตท. มียอดจำหน่ายรวมเดือนละประมาณ 200,000 - 300,000 ลิตร ถือว่าได้รับความนิยมพอสมควร และมีข้อมูลศึกษาวิจัยพร้อมสำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายวิจัยและพัฒนา ปตท. สมัยนั้น ปรากฎว่า ไม่พบปัญหาผิดปกติในการใช้งานแต่อย่างใด เพียงแต่พบว่ารถยนต์ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี ภายในถังน้ำมันเชื้อเพลิงมีสนิมจะถูกชะล้างโดยแก๊สโซฮอล์ ทำให้เกิดการอุดตันไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์เดินไม่สะดวก และในครั้งนั้นพบว่ามีเพียง 5 - 6 คันเท่านั้น และได้แก้ไขโดยการถอดล้างไส้กรองหรือเปลี่ยนใหม่ให้เลย แต่ก็ได้รับการชมเชยจากผู้ใช้ส่วนใหญ่แจ้งว่า อัตราเร่งดี สตาร์ทง่าย และบางคันถึงกับแจ้งว่าประหยัดเชื้อเพลิงด้วยซ้ำไป การขายในครั้งนั้นต้องหยุดการจำหน่าย เพราะในขณะนั้นน้ำมันเบนซินราคาขายปลีกเท่ากับ 8.50 บาท/ลิตร ในขณะที่แอลกอฮอล์ชนิดบริสุทธิ์ 99.5% มีราคาสูงกว่า 9.00 บาท/ลิตร จึงทำให้ไม่คุ้มค่ากับการผสมน้ำมันเบนซินในอัตราร้อยละ 10
อย่างไรก็ตามถึงแม้ ปตท. ได้หยุดการจำหน่ายแล้ว แต่โครงการส่วนพระองค์ในสวนจิตรลดากลับมีโครงการต้นแบบผลิตแอลกอฮอล์จากกากน้ำตาลและทดลองผสมกับน้ำมันเบนซินมาโดยตลอด ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 ผลิตแก๊สโซฮอล์ใช้กับรถยนต์ในสวนจิตรลดา โดยบริษัทแสงโสม จำกัด ให้การสนับสนุนเครื่องกลั่นพร้อมวัตถุดิบผลิตแอลกอฮอล์ และ ปตท. ให้การสนับสนุนงานติดตามศึกษาวิจัยและพัฒนาตลอดจนการสร้างสถานีบริการจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์จำนวน 1 สถานีในสวนจิตรลดา โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ในหลวงทรงให้ความสนพระทัยและทรงสนับสนุนมาโดยตลอด ท่านทรงมองการณ์ไกลว่า สักวันหนึ่งแอลกอฮอล์จะมีบทบาทต่อการอนุรักษ์พลังงาน ลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และเพื่อการพยุงราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ ณ วันนี้จึงเป็นความจริงที่ปรากฎชัดเจนอยู่แล้ว

เพื่อให้ผู้ใช้รถยนต์เกิดความมั่นใจและคุ้นเคยกับการใช้แก๊สโซฮอล์ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีจำหน่ายแล้วในสถานีบริการ ปตท. ที่สำนักงานใหญ่ และสถานีบริการน้ำมันบางจากที่ถนนติวานนท์ และที่อื่นๆ อีก 2 - 3 แห่ง ในนามสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ซึ่งมีการวิจัยและติดตามผลการใช้งานและผลกระทบอื่นๆ ต่อชิ้นส่วนของเครื่องยนต์และสิ่งแวดล้อม ใคร่ขอเปิดเผยข้อมูลดังนี้ : ...

--------------------------------------------------------------------------------
การใช้ Gasohol ยังคงประหยัดเชื้อเพลิงเหมือนกับเบนซินออกเทน 95
จากผลการทดสอบกับรถยนต์รุ่นต่างๆ จำนวน 6 คัน โดยสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ด้วยการขับรถยนต์จริงภายในห้องทดสอบยานยนต์เหมือนสภาพการจราจรในเมืองและทางหลวงที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในห้องทดสอบให้คงที่ตลอดเวลา ผลการทดสอบพบว่า Gasohol ยังคงประหยัดเชื้อเพลิงเหมือนกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 รถรุ่น/ปี เบนซินออกเทน 95 Gasohol ความแตกต่าง (%)
Toyota 1.5 L/1996 12.21 12.07 -1.2
Volvo 2.3 L/1995 8.10 7.99 -1.4
Nissan 2.0 L/1994 7.94 7.96 0.3
Mitsubishi 1.5 L/1994 9.78 9.72 -0.6
Honda 1.6 L/1996 11.92 12.09 1.4
Toyota 1.3 L/1993 13.11 13.33 1.7

และล่าสุดทางสถาบันวิจัยฯ ได้นำรถยนต์ Toyota Corolla 1.6 ลิตร เกียร์ Automatic เครื่องยนต์ 4A-FE รุ่นปี 1999 ใช้งานไปแล้ว 62,178 กม. มาทำการทดสอบกับแก๊สโซฮอล์ที่จำหน่ายในสถานีบริการ ปตท. สำนักงานใหญ่ เมื่อ 11 มกราคม 2544 เปรียบเทียบกับเบนซิน 95 โดยดำเนินการดังนี้ :-

การทดสอบ 1. Emission test : ECE & EUDC driving cycle (Euro 2 test Cycle)
2. Performance test
2.1 กำลังสูงสุดที่ล้อ : Full throttle at 4th gear, speed at 50, 60, 70, 80, 90, 100, 110 และ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.2 อัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ผลการทดสอบ
1. ผลต่อปริมาณไอเสีย และอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

ตารางที่ 1.1 ผลการทดสอบปริมาณไอเสียและอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง Fuel Emission (g/km) FE (km/l)
THC NOx CO CO2
Gasoline 0.12 0.15 1.10 170.37 13.50
0.12 0.15 1.33 171.86 13.36
0.12 0.17 1.18 170.16 13.51
Average 0.12 0.16 1.20 170.80 13.46
Gasohol 0.17 0.11 0.98 171.71 13.20
0.13 0.12 1.09 172.92 13.35
0.12 0.10 0.95 171.69 13.38
Average 0.14 0.11 1.01 172.11 13.31

*FE : Fuel Economy

ตารางที่ 1.2 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ โดย t-test THC NOx CO FE*
16.7±54.8 -29.8±8.3 -16.2±5.7 1.1±0.3

อธิบายผลวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติ
จากการวิเคราะห์โดยวิธี t-test จะเห็นว่า
1. ปริมาณ THC ถือว่า การใช้ gasoline และ gasohol ให้ปริมาณ THC ที่ไม่แตกต่างกัน
2. ปริมาณ NOx พบว่า การใช้ gasohol จะให้ปริมาณ NOx น้อยกว่าการใช้ gasoline ประมาณ 21.5 - 38.1% อย่างมีนัยสำคัญ
3. ปริมาณ CO พบว่า การใช้ gasohol จะให้ปริมาณ CO น้อยกว่าการใช้ gasoline ประมาณ 10.5 - 21.9% อย่างมีนัยสำคัญ
4. การสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง พบว่า การใช้ gasohol จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นประมาณ 0.8 - 1.4% อย่างมีนัยสำคัญ
2. ผลต่อสมรรถนะและอัตราเร่ง

ตารางที่ 2.1 ผลการทดสอบสมรรถนะ (กำลังสูงสุดที่ล้อ)
Fuel Average Maximum Power (KW)
wot @
50km/h wot @
60km/h wot @
70km/h wot @
80km/h wot @
90km/h wot @
100km/h wot @
110km/h wot @
120km/h
Gasoline 26.81 33.19 41.00 48.99 51.79 56.96 64.07 68.65
Gasohol 25.35 32.40 40.06 47.91 51.15 56.91 64.77 70.44

ผลการวิเคราะห์โดยวิธี t-test พบว่า การใช้ gasoline และ gasohol ให้กำลังสูงสุดที่ล้อที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ตารางที่ 2.2 ผลการทดสอบอัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
Fuel Time (0 - 100 km/hr) (sec)
Test 1 Test 2 Test 3 Average
Gasoline 11.02 10.93 11.02 10.99
Gasohol 10.78 10.61 10.95 10.79

ผลการวิเคราะห์โดยวิธี t-test พบว่า การใช้ gasoline และ gasohol ให้อัตราเร่งที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้ ทางสถาบันวิจัยฯ ปตท. ได้ดำเนินการทดสอบผลของแก๊สโซฮอล์ต่อวัสดุระบบเชื้อเพลิง

ผลของ Gasohol ต่อวัสดุระบบเชื้อเพลิง
เปรียบเทียบน้ำมันเบนซินออกเทน 95 กับ Gasohol (10%Ethanol)

ทดสอบกับวัสดุระบบเชื้อเพลิงต่างๆ จำนวน 13 ชนิด แบ่งเป็น
- ยาง 3 ชนิด
- พลาสติก 2 ชนิด
- โลหะ 8 ชนิด
ทดสอบเป็นเวลา 42 วัน (1008 ชั่วโมง) ต่อเนื่อง ควบคุมอุณหภูมิที่ 60 ºC

ผลการทดสอบ

ยาง NBR
(Nitrile butadiene rubber) H-NBR
(Hydrogenated NBR) FKM
(Fluoroelastomer)
Gasoline Gasohol Gasoline Gasohol Gasoline Gasohol
Hardness (%change) -7 -22 -6 -5 -4 +4
Volume (%change) 0 +10 +4 +14 +15 +15
Tensile strength (MPa) 10 10 15 15 8 7
Elongation (%) 520 520 600 600 300 220

พลาสติก Polyethylene Nylon
Gasoline Gasohol Gasoline Gasohol
Length (%change) +3 +2.5 -0.5 +3
Width (%change) +3 +3 -0.5 +3
Thickness (%change) +5.5 +4.5 -0.5 +3.5
Weight (%change) +11 +9 -2 +2.5
Tensile strength (MPa) 8 7.5 50 65
Elongation (%) 350 350 300 330

โลหะ Gasoline Gasohol
Iron (SPCC-SB)
Aluminum (ADC 12)
BRASS (C3604B)
Terne sheet (Sn-Pb)
Nickel-plated steel (SB Ni III)
Copper (C2680P)
Zinc (ZDC-2)
Zinc-plated steel (SB MF ZN II) ไม่พบ
การสึกกร่อน
หรือสนิม ไม่พบ
การสึกกร่อน
หรือสนิม

สรุป

1. Gasohol มีผลต่อการขยายตัวของยางชนิด FKM เหมือนน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ส่วนยางชนิด NBR และ H-NBR น้ำมันเบนซินออกเทน 95 มีผลต่อการขยายตัวของยางน้อยกว่า Gasohol
2. Gasohol มีผลต่อการขยายตัวของพลาสติกชนิด Polyethylene เหมือนกับน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ส่วนพลาสติกชนิด Nylon น้ำมันเบนซินออกเทน 95 มีผลต่อการขยายตัวน้อยกว่า Gasohol
3. ทั้ง Gasohol และน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ไม่พบการสึกกร่อนหรือเกิดสนิมของโลหะชนิดต่างๆ
จากทั้ง 3 หัวข้อ สรุปได้ว่า Gasohol ไม่มีผลต่อวัสดุยางและโลหะที่ทำให้มีผลต่อการใช้งาน
วันที่: 26 Jul 05 - 18:29

 ความคิดเห็นที่: 10 / 14 : 101127
โดย: KOE
ผมก็ใช้นะประหยัดกว่าเติม๙๕พอสมควร วิ่งทางไกล
วันที่: 27 Jul 05 - 01:02

 ความคิดเห็นที่: 11 / 14 : 101359
โดย: RollrideS
โอยยยยยยยยยยยยย







ยาวจังงิ
วันที่: 27 Jul 05 - 17:39

 ความคิดเห็นที่: 12 / 14 : 102364
โดย: Rotary_revolution
จริงๆผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการใช้แก็สโซฮอลในบ้านเรามาตั้งแต่ต้น ไม่ว่ากระทู้ไหนๆ ถ้าอ่านกันบ่อยๆ เพราะอย่างที่คนอ้างในนี้ว่าไม่มีข้อมูลวิชาการมาอ้างอิงว่าไม่ดียังงัย เพราะผมคงไม่ไปลงทุนทดสอบหรือว่าไม่มีงบทำแบบนั้น แน่นอน ไม่เหมือนกับฝ่ายที่อยากให้ใช้ ที่พยายามหาข้อมูลต่างๆมาบอกเล่าว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ เพื่อให้คนใช้โดยไม่บอกข้อมูลสองด้าน เอาผลประโยชน์อย่างเจ้าของกระทู้ได้บอกกล่าว แต่อันนี้ใครจะเชื่อฝ่ายไหนก็แล้วแต่ ถ้าอ่านข้อมูลทางวิชาการแล้วเชื่อก็ลองใช้ดูคับไม่มีใครว่า รถของคุณเอง แต่สำหรับผมข้อมูลแบบนั้นผมไม่มี มีแต่ความเป็นจริงที่เจอผมว่าระยะยาวแล้วพวกคุณจะรู้ เพราะผมอยู่กับการจูนเครืองยนต์แต่งต่างๆทุกวัน แล้วผลมันฟ้องอยู่ในคอมของผม หรือรถบ้านอาจจะเติมได้แต่ถ้าเป็นเครื่องแต่งผมไม่แนะนำเด็ดขาด แต่ผลสรุปยังงัยก็แล้วแต่ สุดท้ายผมว่ามันไม่ยุติธรรมที่จะมาบังคับให้รถทุกคันต้องเติมแก็สโซฮอล น่าจะเป็นทางเลือกมากกว่า เราไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันมันเข้าใกล้ไปทุกที ไม่ก็โกงกันมากเหลือเกินแล้วมาบอกให้ประหยัดแต่พวกพ้องเอาน้ำมันไปขายต่างชาติ น้ำมันตลาดโลกลงเหลือ 57 $ราคาขายปลีกก็ไม่ลงไม่รู้ฟันกำไรกันวันเท่าไร โดยเฉพาะเบนซินลดเอาใจแต่ดีเซล แล้วก็ออกมาขู่ว่าอาจจะปรับขึ้นอีก ไหนบอกว่าลอยตัว เวลาลงไม่ลงตามแต่ขึ้น รีบขึ้นทันที สงสัยเรียกว่าลอยยตัวมันเลยลอยขึ้นอย่างเดียวไม่ลงเลย เซ็งมากๆ สงสารที่ตัวเองเกิดมาเป็นคนไทยโดยเฉพาะยุคนี้ที่ไม่มีความยุติธรรม ประเทศไทยไม่ใช่ของมันคนเดียว
วันที่: 29 Jul 05 - 20:43

 ความคิดเห็นที่: 13 / 14 : 103838
โดย: Mr.Hanaga
แล้ว โปเต้ จะมีปัญหาหรือเปล่าครับ
วันที่: 03 Aug 05 - 11:02

 ความคิดเห็นที่: 14 / 14 : 116043
โดย: ได้รับข้อมูลมาครับ . .
แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล * หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน จึงได้มาเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ออกเทน 95 ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซิลพิเศษไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95

แก๊สโซฮอล์ เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนประองค์สวนจิตรลดาได้ศึกษากระบวนการผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อย และนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซิน ผลิตเป็นน้ำมัน “แก๊สโซฮอล์” เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน โดยโครงการส่วนพระองค์ได้เริ่มผลผลิตแอลกอฮอล์จากอ้อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้

แก๊สโซฮอล์ กับประโยชน์ที่จะได้รับ
นอกจากราคาแก๊สโซฮอล์จะถูกกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดา ซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำมันและเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมันไปได้มากแล้ว แก๊สโซฮอล์ยังช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสียและมลพิษในอากาศ เพราะสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนมอนนอกไซด์ลงได้ถึง 30% ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แก๊สโซฮอล์สามารถเติมได้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นตามที่ผู้ผลิตแนะนำโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์ และสามารถเติมผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในถังได้เลยไม่ต้องรอให้น้ำมันหมดถังก่อน และหากไม่มีจุดเติมแก๊สโซฮอล์ก็สามารถเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินทั่วไปได้ทันทีเช่นกัน เพราะแม้ว่าสารเติมแต่งค่าออกเทนที่กำหนดให้มีในการเติมน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 โดยทั่วไปนั้น จะเติม MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) แต่สำหรับแก๊สโซฮอล์ที่จะใช้ Ethyl Alcohol 99.5% ทดแทนในปริมาณ 10% แต่คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์ยังคงเหมือนกันทุกประการ
นอกจากนี้ การผลิตแก๊สโซฮอล์ยังถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะไม่ว่าจะเป็นอ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ได้ทั้งหมด ช่วยลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาท

*** เอทานอล คือ แอลกอฮอล์ที่ได้จากการหมักพืชหรือผลิตผลทางการเกษตร สามารถใชเป็นเชื้อเพลิงโดยตรงเพื่อทดแทนน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซล เมื่อผสมกับน้ำมันเบนซินเป็น “แก๊สโซฮอล์” ผสมน้ำมัน ดีเซลเป็น “ดีโอฮอล์”
ใช้แก๊สโซฮอล์เพื่อชาติ
เป็นพลังงานทดแทน ผลิตจากพืชเกษตรในประเทศ ใช้แทนสารเพิ่มออกเทนที่นำเข้าจาก
ต่างประเทศ ประหยัดเงินตราต่างประเทศมากกว่า 3,000 ล้านบาท ต่อปี
ประหยัดการใช้น้ำมันที่มีอยู่จำกัด โดยการนำเอทานอลมาผสมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดการใช้
น้ำมันของประเทศลงได้ประมาณ 10% หรือเดือนละ 25 ล้านลิตร
เกษตรกรไทยมีรายได้สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการผลิตเอทานอลที่ได้จากพืชเกษตร
ลดมลพิษทางอากาศ โดยลดไฮโดรคาร์บอน และคาร์บอนมอนนอกไซด์ ลงได้ 20-25 %
ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลัก ที่ก่อให้เกิดสภาวะ เรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ (GREEN HOUSE EFFECT) รวมทั้งลดควันดำ ลดสารอะโรเมติกส์ และลดสารเบนซีน
ช่วยกระจายการลงทุน การจ้างงานสู่ชนบท
ใช้แก๊สโซฮอล์เพื่อคุณ
ได้ใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 95 ในราคาที่ประหยัดลง 1.50 บาทต่อลิตร
ช่วยให้เครื่องยนต์เผาไหม้สะอาด สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ได้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อนร่วมชาติให้ขายผลผลิตได้ในราคาที่สูงขึ้น
ได้ช่วยลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งส่งผลถึงชีวิตตนเอง ลูกหลาน และเพื่อนร่วมชาติ


ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเติมแก๊สโซฮอล์ 95

เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 95 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่าง เอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วน
1. คุณสมบัติของแอลกอฮอล์ คือระเหยเร็ว ทำให้เกิดหยดน้ำในถัง อาจทำให้ถังน้ำมันเกิดสนิมและผุเร็วกว่าที่ควรจะเป็น อาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
2. ควรเติมแก๊สโซฮอล์ 95 สลับกับเบนซิน 95 เนื่องจากในแก๊สโซฮอล์ไม่มีสารหล่อลื่นบ่าวาวล์เหมือนในเบนซิน 95 จึงทำให้เกิดการสึกหรอที่บ่าวาวล์มากขึ้น
3. จากการใช้งานจริงอัตราการเร่งลดลงในช่วง 0 – 100 กม./ชม. ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเบนซิน 95 จึงเป็นเหตุให้ต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้น ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นตามไปด้วย เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น เกิดการสึกหรอเร็วขึ้น
4. การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทยางที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์มากกว่า
5. การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทพลาสติก ที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
6. อัตราการกินน้ำมันของรถ เปรียบเทียบระหว่าง แก๊สโซฮอล์ 95 กับ เบ็นซิน 95 จากการใช้จริง
ก่อนหน้านี้ เติมเบ็นซิน 95 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง = 400 กม.
เบ็นซิน95 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 23.34 บ. เป็นงิน = 933.60 บาท

ปัจจุบัน เติมแก๊สโซฮอล์95 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ = 360 กม.
แก๊สโซฮอล์95 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 21.84 บ. เป็นเงิน = 873.60 บาท

ดังนั้นการเติมแก๊สโซฮอล์95 ประหยัดเงิน (เท่ากับ 933.60 - 873.60) = 60 บาท
แต่... ระยะทางจะหายไป (เท่ากับ 400 – 360) = 40 กม.

(ต้องเติม แก๊สโซฮอล์95 เพิ่มอีก 4.44 ลิตร จึงจะวิ่งได้ 400 กม. = เติมเบ็นซิน95 จำนวน 40 ลิตร)

สรุป ต้องเติมแก๊สโซฮอล์95 จำนวน 44.44 ลิตร เป็นเงิน = 44.44x21.84 = 970.57 บาท

ผลต่างคือ : ระยะทาง 400 กม. เติมแก๊สโซฮอล์95 = 970.57 บาท
ระยะทาง 400 กม. เติมเบ็นซิน95 = 933.60 บาท

กลายเป็นว่าต้องเสียเงินเพิ่ม 36.97 บาท จากการเติมแก๊สโซฮอล์95 เพื่อที่จะให้วิ่งได้ 400 กม. (เท่ากับเติมเบ็นซิน 95)

บทสรุป

" ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราว่าจะเลือกใช้อย่างไหน แต่ทั้งสองอย่างก็มี ข้อด้อย ข้อดี
แตกต่างกันไป " หากมีข้อสงสัย หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ

สำนักงานคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ โทร. 0 2354 1648-51 โทรสาร 0 2354 1647 หรือ

บริษัท เชลล์ (ประเทศไทย) จำกัด
ศูนย์บริการลูกค้าบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด โทร. 0-2262-7700 กด 2

การปิโตเลียมแห่งประเทศไทย
http://www.pttplc.com/th

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
210 สุขุมวิท 64 บางจาก พระโขนง กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2335-4999 โทรสาร 0-2335-4009
ศูนย์บริการลูกค้าบางจาก โทรศัพท์ 0-2745-2440-4
วันที่: 01 Sep 05 - 15:19