Close this window

ใครเคยเป็น บ้างมั๊ยครับ 323 xg ปี 79 เครื่องดับ
ขอความรู้ครับ รถ323 xg ปี 79 เครื่องคาร์บู ติดแก๊ส ขับๆอยู่ชอบดับแล้วก็จะสตาร์ทไม่ติด ลองแก้ไขโดยต่อสายไฟตรง ขั้วบวกที่แบตกับขั้วบวกของคอยล์ ก็จะสตาร์ทติด เป็นมาสักพักแล้ว ประมาณอาทิตย์ละสองครั้ง อาการอย่างนี้คอล์ยเสื่อมหรือป่าวหรือว่าเป็นที่ส่วนอื่นครับ
โดย: แทน   วันที่: 26 Sep 2012 - 08:46


 ความคิดเห็นที่: 1 / 5 : 742632
โดย: จิว
เครื่องตัวนี้ แต่ไม่ใช่คันนี้นะครับ
วันที่: 26 Sep 12 - 08:52

 ความคิดเห็นที่: 2 / 5 : 742655
โดย: ทวีรัฐ
แล้วในรถเจ้าของกระทู้ทีคอยล์จะมีทุ่น เซรามิค ที่มีขดลวดพันๆอยู่ 5-6 รอบไหมครับ

ในรูปข้างบนคือแท่งขาวๆนั่นแหละ
ถ้ามี เจ้าลวดความต้านทานตัวนี้ น่าจะใกล้หมดสภาพ ความต้านทานขึ้นสูงมากจนไฟไม่สมบูรณ์ ในการป้อนเข้า primary ในคอยล์

ผมจำไม่ได้ว่าสายไฟวิ่งเขายังไง แต่คุณเอาต่อโดยไม่ต้องผ่านเจ้าแท่งนี้ แล้วลองดูก่อนครับ
ถ้าอาการไม่เป็นอีก ก็เจ้าแท่งนี้แหละ แต่ถ้ายังไม่หาย

ก็ลองหากันต่อ ว่า คอยล์เริ่มเสื่อม เมื่อเครื่องร้อน
 *_* ือ ปัญหาจากระบบหน้าทองขาว ใน จานจ่าย หรือ คอนเดนเซอร์ตัวเล็กๆข้างจานจ่ายเริ่มมีปัญหา(ราคาไม่กี่ตังค์)

จริงๆปัญหาลักษณะนี้ ควรถ่ายรูป ของจริงมานะครับ ไม่ควรใช้รูปรถคนอื่น จะได้ช่วยกันดูได้ตรงจุดและถูกต้อง ไม่เสียเวลา ท่านที่มีน้ำใจมาตอบด้วย เพราะเห็นรูปจริงจะเข้าใจได้เร็วกว่า
วันที่: 26 Sep 12 - 11:37

 ความคิดเห็นที่: 3 / 5 : 742695
โดย: จิว
ขอบคุณครับที่ช่วยตอบ จะลองทำดูครับ
วันที่: 26 Sep 12 - 14:40

 ความคิดเห็นที่: 4 / 5 : 742788
โดย: srithanon
ขออนุญาตเข้ามาเพิ่มเติมข้อมูลต่อจากคุณ ทวีรัฐ เพื่อความเข้าใจในการใช้ค่าความต้านทานภายนอกตัว Ignition coil
การที่ตัวคอยไฟสูง มีค่าความต้านทานต่อ อนุกรมกับขดลวด primary ของตัวคอย ก็เพื่อป้องการกระแสไฟฟ้าที่ไหลเข้าไปในขดลวด primary ของคอย มากเกินไป เมื่อเครื่องยนต์มีความเร็วรอบที่ต่ำๆ หรือในรอบเดินเบา และจะทำให้เกิดความร้อนในขดลวด primary

เนื่องจากตัวคอยไฟสูง ที่ออกแบบมาให้ใช้ค่าความต้านทานภายนอก จะถูกสร้างให้ขดลวด primary มีขนาดของเส้นลวดใหญ่กว่าขดลวดทางด้าน secondary หรือขดไฟสูง ทำให้กระแสไหลผ่านขดลวดได้สะดวก และมีค่าความต้านทานการไหลของกระแส ที่เกิดภายในเส้นลวดน้อยกว่าขดลวดเส้นเล็กๆ เมื่อกระแสไฟที่ไหลผ่านได้สะดวกหรือมาก ก็จะทำให้เกิดความร้อนตามมาด้วย ไม่เป็นผลดีกับตัวคอยไฟสูง ( Ignition coil )

เมื่อเครื่องยนต์มีรอบความเร็วที่ต่ำ จะเกิดกระแสไหลในขดลวด primary มาก ดังนั้นเขาจึงออกแบบเอาค่าความต้านทาน ต่ออนุกรมกับขดลวด primary เพื่อลดกระแสที่ไหลในขดลวดในรอบเครื่องยนต์ต่ำๆ ต่อเมื่อเครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูงๆ จะทำให้กระแสในขดลวดมีไม่มาก เพราะความเร็วของการตัดต่อที่หน้าคอนแท็คทองขาว มันตัดต่อเร็ว ทำให้กระแสไฟที่ไหลเข้าไปในขดลวด มีระยะเวลาสั้นลง กระแสไฟไหลยังไม่เต็มที่ ก็ถูกตัดโดยหน้าทองขาว เขาจึงแก้โดยการใช้เส้นลวดขด primary ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้กระแสไฟไหลได้รวดเร็ว เพราะมีค่าความต้านทานภายในขดลวดน้อย จะมีผลดีในรอบเครื่องยนต์สูงๆด้วย แต่ผลเสียที่ความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่ำๆก็แก้โดยใช้ค่าความต้านทานมาต่ออนุกรม เพื่อลดกระแสไฟที่รอบเครื่องยนต์ต่ำๆ

ที่ผมกล่าวนำเอาเรื่องการทำงานของเรื่องนี้ขึ้นมาก่อน ก็เพื่อจะให้ทราบว่า ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ ในตอนแรกนั้น เขาจะไม่ให้กระแสไฟบวกจากแบ็ตเตอรี่ มาผ่านค่าความต้านทานที่กล่าวถึงนี้
เพราะ ในการสตาร์ทเครื่องยนต์ จะสูญเสียกระแสไฟจำนวนมาก ไปกับมอเตอร์สตาร์ท ไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าถึงสามสิบแอมป์ ทำให้โวลเต็จในแบ็ตเตอรี่ลดลง เป็นผลให้ไฟที่จะจ่ายให้ขดลวด primary ลดลง การเกิดไฟสูงที่จ่ายให้กับหัวเทียนจึงลดลงตามไปด้วย

ดังนั้น เขาจึงออกแบบในการสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งแรก ให้ไฟที่ผ่านสวิชท์สตาร์ทในตำแหน่ง
ST จ่ายตรงไปเข้าที่ขั่วบวกของตัว คอย( Ignition coil ) โดยตรง เพื่อไม่ต้องการให้ผ่านค่าความต้านทาน เดี๋ยวจะเกิดโวลเต็จดร๊อปกับค่าความต้านทานที่เอามาต่ออนุกรม จะยี่งทำให้โวลเต็จลดลง การเกิดไฟสูงที่ตัวคอยก็จะยิ่งต่ำลง ต่อเมื่อเครื่องยนต์ติด และสวิชท์กุญแจจะมาอยู่ที่ตำแหน่ง ON หรือ IG มันก็จะต่อไฟผ่านค่าความต้านทานไปเข้าขั่วบวกของตัวคอยแทน ก็เป็นการทำหน้าที่ของค่าความต้านทานที่ผมกล่าวมาข้างบน

ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเจ้าของกระทู้ น่าจะมาจากคอนแท็คสวิชท์กุญแจในตำแหน่ง ST มีปัญหา ไม่ค่อยสัมผัส ติดบ้างไม่ติดบ้าง หรือรถบางรุ่นบางค่ายอาจจะเอาไฟที่ผ่านสวิชท์ต่ำแหน่ง สตาร์ท ST ไปต่อผ่าน Relay ให้ต่อกระแสไฟไปให้ขั่วบวกของตัวคอย เกิดหน้าคอนแท็คสัมผัสไม่สนิท เพราะเกิดการอาร์คของกระแสไฟที่จุดสัมผัส ทะให้กระแสไฟผ่านไม่สะดวก ติดบ้างไม่ติดบ้าง
ก็ลองตรวจทั้งสองจุดตามที่ผมกล่าวมา อาจจะมีตัวหนึ่งตัวใดทำงานไม่ปกติครับ …..srithanon
วันที่: 26 Sep 12 - 21:37

 ความคิดเห็นที่: 5 / 5 : 742809
โดย: Yut13
คอยล์น้ำมัน เทสง่ายๆถ้าดับตอนร้อนเอาผ้าชุบน้ำเย็นประกบให้เย็นลงถ้าสตาร์ทติดแสดงว่าคอยล์เสื่อมแล้วการต่อตรงไม่ผ่านรีซิสเตอร์จำกัดกระแสอาจจะช่วยได้ระยะหนึ่ง (เคยทำมาก่อน) เหตุผลมันคือน้ำมันทม้อแปลงมัเสื่อมสภาพพอร้อนด้านขดลวดทุตยภูมิไฟฟ้าแรงสูงจะแฟลชอยู่ภายใน เนื่องจากน้ำมันเสียความเป็นฉนวน (ใช้พื้นฐานสิ่งใกล้ตัวมาตอบเลย)

ปัจจุบันหม้อแปลงนี้หรือ Ignition coil ใช้เทคนิคของ solid diaelectric มาผลิตหรือเรียวว่า dry type นั่นแหละโดยใช้ Epoxy resin หุ้มขดลวด (อยากรู้ว่า resin ซื้อที่ไหน ไปถาม Devon)
วันที่: 26 Sep 12 - 22:46