Close this window

Lantis เครื่อง Cronos มีปัญหา
ไปซ่อมที่อู่ อู่นึงไว้ หลายเดือนแล้วครับ

เขาบอกว่า เหลือแค่ไฟที่หัวเทียนติด

คือจบ แต่ทำไมมันนานจัง หาสาเหตุไม่ได้

ใครมีคำแนะนำดีๆบอกกันหน่อยครับ
โดย: นุ๊ส์   วันที่: 29 Oct 2012 - 17:44


 ความคิดเห็นที่: 1 / 2 : 748329
โดย: SpyTT
ผมเคยโดนมาก่อนครับ
ช่างไม่รู้เห็นเครื่องเหมื่อนกัน
ว่างเสร็จหมดแล้วหาช่าไฟมาเดินไม่ได้ เพราะมันไม่เหมื่อนกันเลย ต้องเดินใหม่หมด
จอดไปเกือบหกเดือนครับ
กว่าจะได้ช่างไฟ เดินก็ไม่เรียบร้อย แต่ก็พอขับได้ขับมาเกือบแสนโล
มายกเครื่องใหม่ เอาเครื่องแลนติสวีหกลงเหมื่อนเดิมที่ช่างหมู จบสบายๆครับ

แนนะนำว่าคุยกับอู่ให้แน่ครับว่ามีช่างไฟใหม ถ้าหาไม่ได้จริงๆจ่ายค่าแรงว่างเครื่องไป
แล้วลากมาเข้าอู่ในคลับดีกว่าครับ
วันที่: 29 Oct 12 - 20:44

 ความคิดเห็นที่: 2 / 2 : 748462
โดย: srithanon
สงสัยช่างยังคงไม่สามารถหาจุดเสียไม่พบ หรือไม่ก็ไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ปัญหา วงจรไฟจุดระเบิดของเครื่องยนต์ได้ จึงหาข้ออ้างว่ายังขาดระบบไฟจ่ายให้กับหัวเทียน ความจริงเรื่องการตรวจซ่อมเครื่องยนตที่ควบคุมด้วยระบบ ด้วยระบบ ECU จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือทางด้านอีเลคโทรนิคส์ พวก Digital storage oscilloscope และ Function arbitrary waveform generator มาทำการตรวจวิเคราะห์ ระบบการสร้างสัญญาณ ของระบบพัลส์ต่างๆ ที่ได้มาจากการ generate ของระบบ sensor ต่างๆ

oscilloscope จะสามารถวัดสัญญาณต่างๆเหล่านั้นให้เห็นการทำงานของมัน ตั้งแต่เริ่มต้นในการสร้างสัญญาณ ที่ได้มาจากตัว crankshaft หรือ TDC sensor เมื่อเพลาข้อเหวี่ยงเริ่มเคลื่อนที่ และ crankshaft ส่งสัญญาณพัลส์ มุมองศาการเคลื่อนที่ของเพลาข้อเหวี่ยง ไปให่กล่อง ECU generate สัญญาณการจุดระเบิด IGT ส่งไปให้วงจรช่วยจุดเบิด สร้างสัญญาณไฟสูงให้กับหัวเทียน

ดังนั้นหากช่างที่ซ่อมเครื่องยนต์ในระบบหัวฉีด ไม่สามารถจะใช้เครื่องมือทางด้านอีเลคโทรนิคส์ได้ หรือไม่มีความเข้าใจ การทำงานของระบบการคอนโทรลเครื่องยนต์ด้วยระบบสมองกล ECU แต่ละภาคส่วนได้ ก็ไม่สามารถที่จะแก็ปัญหาที่ถูกต้องได้ จะอาศัยเหวี่ยงแห ลองผิดลองถูก เปลี่ยนในสิ่งที่ไม่ควรเปลี่ยน โดยคิดว่า คาดว่า จะเป็นที่ตัวนั้น จุดนั้น เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จนของที่ดีก็เสียหายไปกับการทดลองถอดเข้าและสับเปลี่ยน ช่างไม่ต้องจ่ายเจ้าของรถเป็นผู้จ่าย ก็เป็นคราวโชคไม่ดี ที่ท่านเจ้าของรถต้องทนยอม เพราะไม่สามารถที่จะเลือกอู่ที่มีความรู้จริง พร้อมด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับโลกาภิวัฒน์ สำหรับตรวจซ่อมเครื่องยนต์ในสมัยเทคโนโลยี่กับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ

ความจริงในวงจรจุดระเบิด สามารถจะใช้เครื่องมือที่ผมเกล่ามา ทำการตรวจซ่อมอาการที่ท่านเจ้าของกระทู้ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้ได้อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาได้ตรงประเด็น พร้อมกับเสียเวลาในการจรวจซ่อมไม่กี่ชั่วโมง หรือแค่ชั่วโมงก็รู้ผล กับปัญหาระบบไฟจุดระเบิดให้กับหัวเทียน

ขั้นตอนในการตรวจซ่อมแบ่งแยกออกเป็นสามวาระ วาระแรกก็ใช้ oscilloscope ตรวจจับการทำงานของ crankshaft sensor ว่าส่งสัญญาณพัลส์ ในขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ให้เพลาข้อเหวี่ยงหมุน ว่ามีพัลส์จาก crankshaft sensor ส่งไปให้กล่อง ECU ไม่ หากมี ให้ตรวจสอบสัญญาณ IGT ซึ่งเป็นสัญญาณการจุดระเบิด ที่ ECU หลังจากที่ได้รับสัญญาณ จากแคร้งชาร์ปเซ็นเซอร์แล้ว จะต้องสร้างสัญยาณ IGT ส่งไปให้วงจรช่วยจุดระเบิดทำงาน

ดังนั้นเราก็จะตรวจวัดจับสัญญาณ IGT ที่กล่อง ECU ว่ามันส่งสัญญาณ IGT ออกมาหรือไม่ หากตรวจสอบ บางครั้งอาจจะพบว่าไม่มีออกมา ก็ต้องตรวจซ่อมกล่อง ECU หากสมมุติว่ามี ปัญหาที่เกิดขึ้น ยังคงไม่มีไฟจุดระเบิดให้กับหัวเทียนอีก
ดังนั้นในวาระที่สอง ก็มีความจำเป็นที่จะตรวจสอบวงจรช่วยจุดระเบิด ว่าหลังจากที่มันได้รับสัญญาณ IGT จากกล่อง ECU แล้ว ทำไมมันจึงไม่สร้างไฟสูง ซึ่งประเด็นตรงจุดนี้ ต้องแบ่งแยกการตรวจสอบ วงจร power switching transistor เป็นตัวทำงานตัดต่อกระแสไฟใให้กับขดลวด primary ของตัว Ignition coil ลงกราวด์ เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก อินดิวส์ ให้กับขดลวด ทางด้าน secondary ของตัว Ignition coil สร้างไฟสูงให้กับหัวเทียน

ดังนั้นการตรวจวัดสัญญาณของวงจรช่วยจุดระเบิด จึงจำเป็นที่จะตรวจสอบสัญญาณ IGT ที่เป็น Bias ให้กับ power switching transistor ว่าเมื่อมีไบอัสให้กับมัน แล้วมันทำงานหรือไม่ โดยหลัการแล้ว หลังจากที่มันมีไบอัสที่ขา B ทำให้ที่ ขา C กับขา E จะต้องชอร์ทหรือต่อถึงกัน เพื่อให้กระแสไฟไหลผ่านขา C มาที่ขา E ลงกราด์ ซึ่งถือว่ามันทำงานปกติ
ในการใช้เครื่องมือตรวจสอบ จำเป็นที่จะต้องใช้ oscilloscope และ Function arbitrary waveform generator ทำงานร่วมกัน ทั้งนี้การตรวจเช็คที่จุดนี้ ไม่จำเป็นที่จะต้องสตาร์ทเครื่องยนให้เกิดสํญญาณ IGT หรือ สัญญาณจากแคร้งชาร์ป เพราะเราใช้ตัว waveform generator สร้างสัญญาณแทนสัญญาณ IGT ที่เลือกแบบ สแคว์เว็ป ซึ่งสามารถที่จะกำหนดค่าเวลาให้การเกิดสัญญาณในช่วงการเกิดสัญญาณให้ช้าหรือเร็วก็ได้ เพื่อการวิเคราะห์ที่เห็นการทำงานอย่างช้าๆ จะดีกว่าแบบเร็วๆ เพราะสายตาเรามันจับคาบเวลาการเกิดสัญญาณ ได้ช้า ดังนั้นเราจึงกำหนดคาบวลาที่
เกิดสัญญาณให้ช้ากว้างขึ้น เราก็จะเห็นการทำงานมันได้ชัดเจน นี้เป็นการตรวจสอบวิเคราะห์ในวาระที่สอง

ในวาระที่สามนี้ สมมุติว่าวงจรช่วยจุดเบิดทำงานปกติ และยังไม่มีไฟออกที่หัวเทียนอีก จุดที่น่าสงสัยก็คงจะเป็นที่ตัว Ignition coil ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจจะมีการชอร์ทเทินของขดลวด ในตัว Ignition coil อาจจะเป็นการชอร์ทเทิน ระหว่าขด primary กับ secondary หรือขดหนึ่งขดได ที่ชอร์ทระหว่างรอบที่พันทับกัน อันมาจากสาเหตุการเกิดความร้อนสะสมในเส้นลวด ที่ทำให้ฟีลมฉนวนที่เคลือบผิวเส้นลวดที่พัน หมดความเป็นฉนวน ก็ทำให้เกิดการชอร์ทถึงกัน การตรวจเช็คตรงนี้ก็มีเครื่องมือตรวจเช็คการชอร์ทเทินของขดลวดมาทำการวัด เช่นเดียวกับการตรวจสอบเช็คฟลายแบล็ค ของเครื่องรับ TV ก็จะทราบได้ทันที่

สมมุติอีกนั่นแหละ หากตรวจพบว่าตัว Ignition coil เสีย หลังจากที่เปลี่ยนแล้ว เราสามารถตรวจสอบการทำงานของวงจรตัวช่วยจุดระเบิด โดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ ก็คือเอาสัญญาณพัลส์ ที่ได้จาก waveform generator ที่กล่าวในตอนแรก มาทำการป้อนสัญญาณ ทางอินพุท ที่เป็นสายเส้นเดียวกับสัญญาณ IGT ของเดิม และอย่าลืมดึงปลั๊กชุดที่มีสายสัญญาณ IGT ที่กล่องออก ให้เราเอาฝาครอบจานจ่ายออก และหาสายไฟมาต่อที่ตัวแปลงถ่านที่กดตัวก้านหัวนกกระจอก หรือต่อออกมาจากคอยไฟสูง เอามาวางใกล้ๆกับกราวด์ตัวถังรถ บิดสวิชท์กุญแจรถ ON ไว้ เปิดเครื่อง waveform gen ส่งสัญญาณพัลส์สแควเว็ป เข้าที่จุดสายไฟ IGT ของวงจรช่วยจุดระเบิด หากทุกอย่างปกติ จะเห็นประกายไฟ อาร์คกับกราวด์ อย่างต่อเนื่องให้เห็น เหมือนกับตอนที่เครื่องยนต์ติด

การตรวจสอบวงจรจุดระเบิด นอกจากจะใช่เครื่องมือที่ผมกล่าวมา ยังสามารถตรวจสอบแบบไม่ใช้เครื่องเมือที่ผมกล่าวก็ได้ ให้เอาสายไฟต่อเข้าจุด สายไฟ IGT ที่ตัวจานจ่าย แล้วน้ปลายสายไฟอีกปลายของเส้นที่ต่อนี้ มาเขี่ยที่ขั่วบวกของแบ้ตก็ได้ โดยเอาฝาครอบสายจานจ่ายออก เอาสายไฟต่อตรงแปลงถ่านที่กดลงตรงก้านหัวนกกระจอก มาวางใกล้ๆกับกราวด์ เมื่อเราเอาายไฟที่กล่าวเมื่อกี้นี้มาเขี่ยที่ขั่วบวก ก็จะเห็นประการไฟอาร์คกับกราวด์ ( ในกรณีที่มี คอยอยู่ในจานจ่าย) หากเป็นคอยที่แยกออกมาไว้ข้างนอก ก็ให้เอาสายไฟที่ต่อจากจุกออกของตัวคอย มาวางใกล้ๆกับกราวด์ ก็เป็นการตรวจสอบวงจรจุดระเบิดได้เช่นกัน

ที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถือเป็นการแนะแนว ในการตรวจสอบวิเคราะห์การทำงานของวงจรจุดระเบิดรถยนต์อย่างเคร่าๆ พอเป็นแนวทาง สำหรับท่านที่สนใจ หรือช่างที่ยังไม่ทราบ หากช่างที่ทราบแล้วก็ขออภัย หากคำกล่าวใดที่ถูกพาดพิงไปบ้าง ในเรื่องรู้และไม่รู้ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้ใดที่ได้เรียนรู้และศึกษา ก็จะรู้ ท่านใดไม่ได้เรียนรู้และไม่ได้ศึกษา ก็จะไม่รู้ ไม่ได้หมายความว่าช่างเหล่านั้นโง่ ทุกคนมีความรู้และความสามารถใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าใครมีโอกาสได้เรียนรู้ก่อนก็รู้ก่อนกันเท่านั้น ความรู้เรียนทันกันได้ ผมไม่ใช่ผู้รู้ เป็นเพียงผู้ใฝ่รู้ ลองผิดลองถูก เสียหายก็มาก ความอยากรู้ก็ต้องลงทุนด้วยความเสียหายที่เกิดขึ้น ถึงจะรู้และแก้ไขได้ ก็เอาประสบการณ์มาบอกเล่าสู่กันฟัง ผิดพลาดประการใด ขออภัยต่อท่านผู้ทรงความรู้และครูบาอาจาร์ด้วยนะครับ.......srithanon
วันที่: 30 Oct 12 - 11:13