Close this window

ถ้าย้อนเวลาได้ ผมต้องเรียนอะไรถึงจะได้ทำงาน design รถ
คิดเล่น แต่อยากรู้จริงๆเหมือนกัน เมื่อก่อนเคยคิดจะเรียน ออกแบบผลิตภัณฑ์
แต่คิดว่าเรียนสายวิทย์มา เลยเอนท์วิศวะแทน
เห็นเค้าออกแบบรถกันแล้ว มันน่าหนุกดีแฮะ
เผื่อไว้ให้ลูกเราเรียนแทน :-)
โดย: Time will tell   วันที่: 6 Nov 2004 - 10:31


 ความคิดเห็นที่: 1 / 7 : 014847
โดย: BIG DDT
เรียนสถาปัตย์ ออกแบบนิเทศศิลป์ ก้อได้มั้ง
วันที่: 06 Nov 04 - 10:42

 ความคิดเห็นที่: 2 / 7 : 014850
โดย: 777
ที่จุฬามีเรียนออกแบบรถยนต์โดยตรงเลยครับ ได้รับการสนับสนุนการโตโยต้า
วันที่: 06 Nov 04 - 11:24

 ความคิดเห็นที่: 3 / 7 : 014852
โดย: ต้น
วิศวะก็ออกแบบได้นี่ครับ และอาจรู้มากกว่าด้วย แต่อาจไม่มีความสวยงาม และมักจะคำนึงถึง effiency มากกว่ารูปร่างหน้าตา

การออกแบบรถของบ้านเรามีปัญหา หลายครั้งที่เคยเห็น ออกแบบ ทำโมเดลจำลองนะได้ แต่ ถ้าทำรถจริงละก็มีปัญหาแน่ เช่น บอกว่าเป็นขับล้อหน้า และ ใช้ suspension แบบ Mcpherson ก็เลยถามว่า เอาที่อยู่ ของ strut ไปไว้ไหน และ เครื่องนะไว้ไหน ถึงทำฝากระโปรงลาดอย่างนั้นได้นะ ถ้าจะไว้จริงๆ ไม่ต้องทำ dry sump หรือ และ อื่นๆ อีก

ถึงแม้เป็นวิศวะ ส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ทำด้านนี้หรือศึกษาเข้าไปลึกๆ ก็จะไม่เข้าใจ suspension geometry อย่างแท้จริง ตลอดไปจนถึงเรื่อง kinematic และ vehicle dynamics

อยากลองทำเล่นๆ ดูไหม หา program ADAMS/Car มาลองเล่นดูสิครับ (ไม่ต้องไปซื้อตัวจริงมานะ ถ้าไม่อยากขายบ้าน ขายรถ ซื้อ program) ถ้าอยากได้เรื่อง Aerodymics ก็หา Fluent CFD มาเล่นดู (ข้อแนะนำ เครื่องควรมี RAM อย่างน้อย 1 GB recommend ไม่ต่ำกว่า 2 GB )

อยากรู้ไหมว่า พวกทีม F1 ใช้เครื่อง spec กับ software อะไรบ้าง ?

Ferrari, Sauber, Renault ใช้ software CFD ของ Fluent , Ferrari กับ Sauber ใช้เครื่องระดับ Super Computer ที่ใช้ CPU Opteron ของ AMD ที่ทำเป็น Massive Parallel Processing , BAR ใช้ software Advance CFD ใช่ PC ที่ใช้ Intel Itanium 2 processor ต่อ เครื่อง ทำ cluster 24 - 48 เครื่อง (จำไม่ได้แล้วเป็นข้อมูลปี 2003), CAD - Ferrari ใช้ Pro/Engineer , Sauber ใช้ CATIA
วันที่: 06 Nov 04 - 11:35

 ความคิดเห็นที่: 4 / 7 : 014856
โดย: Time will tell
โห จะไปลองหาแถวพันทิพย์ดู เอาแค่ออกแบบลิ้น สเกริ์ต แล้วเอามาใส่โครโนสที่ตัวเองใช้อยู่ก็ยังดี
หรือไม่ก็ออกแบบ body GO-cart สักคัน ก็โอเค

ขอบคุณนะครับ ...คุณต้นอยู่ในวงการนี้หรือครับ เชี่ยวชาญมากเลย
วันที่: 06 Nov 04 - 11:58

 ความคิดเห็นที่: 5 / 7 : 014880
โดย: กุ้ง01....
โอ......มันยากงี้เอง....ถึงว่า ผมถึงถนัดแต่ก้อปปี้...55555555
วันที่: 06 Nov 04 - 15:11

 ความคิดเห็นที่: 6 / 7 : 014968
โดย: +=FIRST=+
ปัจจุบันการออกแบบรถยนต์ มีความซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รถยนต์มีการเปลี่ยนรุ่นเร็วและบ่อยมากขึ้น ขั้นตอนในการออกแบบและการทำรถยนต์ต้นแบบเป็นอุปสรรคอย่างมาก เพราะการทำรถยนต์ต้นแบบแต่ละคันกว่าจะสร้างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาประกอบกัน แล้วยังต้องนำมาทดสอบและปรับปรุงแบบครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าจะได้เป็นรถแต่ละรุ่น จากปัญหาคอขวดของการพัฒนารถยนต์ตรงจุดนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกต่างมีความรู้สึกกดดันจากการแข่งขันที่มากขึ้น

แนวคิดในการจำลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์และการสร้างต้นแบบเสมือน (Virtual Prototype) ถูกคิดค้นและนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบของรถยนต์ เพื่อเป้าหมายคือ ประสิทธิภาพ, สมรรถนะของรถยนต์และในขณะเดียวกันใช้เวลาและต้นทุนต่ำที่สุด โดยจะทดแทนการสร้างและทดสอบแบบเดิม ๆ เทคโนโลยีต้นแบบเสมือนสามารถที่จะรองรับปัญหาดังกล่าวได้แต่ปัญหาคือ บริษัทต่าง ๆ จะมั่นใจได้อย่างไรกับการสร้างและทดสอบต้นแบบเสมือนในคอมพิวเตอร์ว่าจะให้ผลลัพธ์ถูกต้องในระดับที่ต้องการ

รถยนต์ BMW Series 3 ใหม่นี้ เปิดตัวขึ้นมาพร้อมกับความสำเร็จอย่างสูง "ความสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นจนรายละเอียดสุดท้าย" ถูกใช้เป็นปรัชญาในการออกแบบทุกขั้นตอน ซึ่งทดแทนคำพูดเดิมที่ว่า "สุดยอดแห่งจักรกลขับเคลื่อน" (The Ultimate Driving Machine) จากข้อมูลในหนังสือ BMW Magazine การออกแบบจะใช้เวลาประมาณ 5 ปีครึ่ง หรือ 2.6 ล้านชั่วโมงทำงาน 130 ระบบถูกสร้างขึ้นด้วยต้นทุนประมาณ $ 360,000 ต่อ 1 ต้นแบบ ซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบ 2,400 ชิ้น ระบบเบรค ABS ระบบ Traction-control รวมถึงระบบ Advance-multi-link System ไปจนระบบความปลอดภัยสูงสุด และระบบช่วงล่างอื่น ๆ อีกมาก

บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมรถยนต์ อาจพูดได้ว่ามาตรฐานที่เยี่ยมยอดได้บรรจุอยู่ใน BMW 3-Series ใหม่นี้จะถูกถ่ายทอดไปสู่รถรุ่นอื่น ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้จะทำให้ยานพาหนะรุ่นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมีสมรรถนะที่ดีเยี่ยม ขับขี่ได้อย่างนุ่มนวลราบเรียบ มีการตอบสนองอย่างฉับไว ภายในห้องโดยสารเงียบ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในขณะที่การบำรุงรักษาง่ายขึ้น รวมไปถึงความปลอดภัยระดับสูงสุดซึ่งที่ลูกค้าจะได้รับประโยชน์นี้สูงสุด ที่มากกว่านั้นก็คือ BMW 3-Series นี้ ใช้เวลาในการพัฒนาเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ต้นทุนในเรื่องของการผลิตชิ้นส่วนเพื่อทำต้นแบบอาจจะไม่แตกต่างมากนัก แต่เมื่อดูภาพรวมของการพัฒนา ก็สามารถลดต้นทุนจากการประหยัดเวลาได้มาก สิ่งนี้ BMW เขาสามารถทำได้อย่างไร และอะไรคือสิ่งที่ทำให้การพัฒนาก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว คำตอบก็คือ "ต้นแบบเสมือนจริง (Virtual Prototype)"

การออกแบบโดยใช้การจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ช่วยให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกร และนักวิเคราะห์สามารถสร้างรูปแบบ, การประกอบ, หน้าที่การทำงานของสิ่งที่ตัวเองกำลังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบแนวคิด, ลงรายละเอียด จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว คอมพิวเตอร์ยังสามารถจำลองกระบวนการผลิตของส่วนประกอบแต่ละชิ้น เพื่อดูปัญหาและแก้ไขในส่วนของการผลิตอีกด้วย ด้วยความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์นี้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องรอเป็นเดือน ๆ เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนทีละชิ้นแล้วถึงประกอบกันเป็นต้นแบบและทดสอบ นี้ยังไม่รวมถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงหลังจากต้นแบบที่เราทดสอบให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ การจำลองต้นแบบบนคอมพิวเตอร์สามารถให้เราสร้างชิ้นส่วน, ประกอบ, และทดสอบได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ นอกจากนั้นเราสามารถดัดแปลงรูปแบบของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วน, ทดสอบเพื่อดูผลได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน จนกระทั่งเราได้ต้นแบบที่ดีที่สุด ทั้งรูปแบบ, หน้าที่การทำงานไปจนถึงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมที่สุด

อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้การนำเอาต้นแบบเสมือนจริงมาใช้จนประสบความสำเร็จ ทำไมก่อนหน้านี้ไม่ใช้ต้นแบบเสมือนจริงตั้งแต่แรกถ้ามันดีจริง และอะไรคือจุดสำคัญที่ตัดสินว่า ระบบต้นแบบเสมือนจริงสามารถนำมาใช้ได้จริง

ระบบ CAD/CAM/CAE แบบเดิมกับ System-Level Virtual Prototype

CAD/CAM/CAE มีเป้าหมายแนวคิดว่า "art-to part" หรือจากศิลปสู่ชิ้นงานซึ่งใกล้เคียงกับแนวโน้มที่วิศวกรจะต้องมีการพัฒนาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงการการผลิตเพื่อคุณภาพของงานที่สูงขึ้น ระบบ CAD โดยเฉพาะระบบของ Solid Modeling จะทำให้ท่านสามารถสร้างและออกแบบชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว ระบบ Finite Element Software สามารถวิเคราะห์ผลกระทบต่าง ๆ ทางโครงสร้าง, การแลกเปลี่ยน, ความร้อน, แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานที่เราออกแบบ และระบบที่มีเป้าหมายจะปรับปรุงความสามารถในการผลิตก็คือ CAM ซึ่งสามารถทำให้เราควบคุมเครื่องจักรประเภท CNC, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังควบคุมการสร้างแม่พิมพ์กระบวนการ Stamping หรือการ Forging (ตีขึ้นรูป) ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้

CAD/CAM/CAE ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจหลัก ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน, อากาศยาน, เครื่องจักรกล และ อิเล็กทรอแมคานิค ซึ่งสามารถยกระดับในการออกแบบและการผลิตในแทบจะทุกชิ้นส่วน อย่างในอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ เช่น มีการรายงานว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนสามารถลดของเสียได้ถึง 40% ภายใน 5 ปีที่นำเทคโนโลยีนี้มาพัฒนา จุดสำคัญหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบด้วย CAD/CAM/CAE คือ ต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตนั้นลดลง แต่โชคไม่ดีที่ในระหว่างที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบความสำเร็จในการลดของเสียถึง 40% ภายใน 5 ปี บริษัทที่เป็นผู้ผลิตระบบย่อย เช่นระบบเกียร์, คอนโซลภายใน อื่น ๆ ผู้ซึ่งนำชิ้นส่วนจากผู้ผลิตมาประกอบกันอีกครั้งเป็นระบบย่อย สามารถลดต้นทุนจากการรับประกันเพียง 20% เท่านั้น ซึ่งเป็นที่แปลกใจของบริษัทผู้ผลิตระบบย่อยที่หวังว่า เมื่อเปอร์เซ็นต์ของเสียลดลงในการผลิตสามารถลดลงได้ถึง 40% ต้นทุนของการรับประกันชิ้นส่วนก็น่าจะลดลงในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ชิ้นส่วนต่างๆที่ออกแบบอย่างเหมาะสม ไม่ได้นำไปสู่การออกแบบระบบย่อยที่ดีเสมอไป เมื่อเรานำระบบเบรคที่ดีมารวมกับช่วงล่างที่เยี่ยมยอดแล้วนำไปติดตั้งบนแชสซี ผลที่ได้อาจจะไม่เป็นระบบช่วงล่างที่ดีเลิศเสมอไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะสิ่งที่สำคัญของคุณภาพโดยรวมของระบบที่ออกแบบมาจากรูปแบบของชิ้นส่วนในแต่ละชิ้นด้วยว่าทำงานได้ตามหน้าที่ที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้เป็นหรือไม่ นั่นก็คือ ถ้าเราสามารถกำหนดขนาด ณ จุดสำคัญของการออกแบบที่ใช้ CAD/CAM/CAE กำหนดในส่วนของการออกแบบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาเป็นการออกแบบในระดับของการออกแบบระบบรวมได้ ก็น่าจะสามารถที่พัฒนาประสิทธิภาพของภาพรวมในการออกแบบเพื่อลดต้นทุนได้มากขึ้น หรือเรียกสั้น ๆ ว่า System Level และที่ยิ่งไปกว่านั้นผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นที่ประจักษ์ชัดจากประสิทธิผลของการใช้คอมพิวเตอร์จำลอง(Simulation-base) ในขั้นตอนการออกแบบและใช้ต้นแบบเสมือนกับการออกแบบระบบรวม(System-level Design)

ผู้ผลิตในปัจจุบันพยายามพัฒนาต้นแบบของผลิตภัณฑ์ (Digital Make-Up) ให้สามารถสร้างได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาไปถึงการทดสอบหน้าที่การทำงานของระบบรวมที่ประกอบขึ้นสำเร็จ ไม่ใช่แต่ชิ้นงานเดี่ยว ๆ เท่านั้น บรรดาผู้ผลิตต่าง ๆ เริ่มที่จะตระหนักเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาในสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วนั้น เป็นเรื่องปกติที่บริษัทเหล่านี้เริ่มที่จะมองเทคโนโลยีที่มากกว่า CAD/CAM/CAE ที่ตนมีอยู่แต่การพัฒนาจากการออกแบบชิ้นส่วนย่อย ๆ ไปสู่การออกแบบระบบรวมโดยใช้ระบบ CAD/CAM/CAE เดิม ๆ นั้นอาจนำไปสู่ปัญหาหลายอย่าง เช่น วิศวกรพยายามเขียน CAD ของระบบที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนมาก แถมด้วยการทำ Photo Rendering (ภาพเสมือนจริง) อีกต่างหาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบคอมพิวเตอร์จะช้าจนกระทั่งรับไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าวิศวกรหรือนักออกแบบพยายามที่จะใช้ FEA (Finite Element Analysis) มาวิเคราะห์ระบบที่มีชิ้นส่วนมาก ๆ แถมยังต้องใช้ Solver แบบ Non Linear ในการจำลองการทำงานด้วยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เพื่อที่จะวิเคราะห์เหตุการที่เกิดขึ้นจริงเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น

วิธีการใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นต่างมุ่งเป้าไปที่ความสามารถในการสร้างระบบรวมให้ได้รวดเร็วที่สุด การเจริญเติบโตของการใช้แบบจำลองเสมือนจริงนั้นเป็นการพัฒนาจากระบบ CAD/CAM/CAE เดิมเป็นหลักโดยจะมี 2 ลักษณะคือ

สิ่งแรก คือ ต้นแบบเสมือนจริง (Function Virtual Prototype) ได้ถูกนำไปใช้ในการออกแบบ ตรวจสอบการทำงาน และประสิทธิภาพรวมของระบบ

สิ่งที่สอง คือ ระบบการผลิตจำลอง (Virtual Factory Simulation) ได้ถูกนำไปใช้ในการวิเคราห์ความเป็นไปได้ในการผลิต, ประกอบของระบบหรือชิ้นส่วน, ระบบการจัดการฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Database Management : PDM) คือสิ่งที่จะช่วยให้ การออกแบบโดยรวมประสบความสำเร็จได้ โดยคุณสมบัติของ PDM เองนั้นจะสามารถช่วยให้ข้อมูลของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ออกแบบนั้นไม่ซ้ำซ้อน และมีการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุดเราสามารถเรียกใช้ข้อมูลชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เราออกแบบได้อย่างถูกต้องและสามารถควบคุมได้

จากส่วนต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาของระบบ Digital Mock Up (การสร้างต้นแบบในคอมพิวเตอร์), Functional Virtual Prototyping, Virtual Factory Simulation ได้ถูกนำมารวมกันเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบโดยรวม โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงจากต้นแบบที่จะต้องสร้างขึ้นมาจริง ๆ มาเป็นต้นจำลองในคอมพิวเตอร์ซึ่งจากนี้ผมก็จะกล่าวถึงต้นแบบเสมือน "Function Virtual Prototyping" เป็นหลัก

กลับด้านบน

ต้นแบบเสมือนจริง (Functional Virtual Prototyping : FVP)

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบ FVP จะมีพื้นฐานอยู่ 5 ประการ คือ การสร้างต้นแบบ (Build), การทดสอบ (Test), การตรวจสอบ (Validate), ปรับแต่ง (Refine) และสุดท้าย ก็คือ นำเข้าสู่ระบบที่สามารถเรียกใช้ได้ทันที (Automate)

การสร้าง Model

ในส่วนของการสร้าง Model นั้น ต้นแบบเสมือนจริง (FVP) จะเกี่ยวพันทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีอยู่แล้วในท้องตลาด ตามปกติในเบื้องต้น FVP จะนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นหลัก ที่อาจจะมีหลักการพื้นฐานแบบง่าย ๆ หรืออาจจะมาจากความต้องการขั้นพื้นฐานของการออกแบบ เช่น กราฟหรือข้อมูลดิบที่ตั้งสมมติฐานมากกว่าใช้ FVP ในการพัฒนารูปร่างหน้าตาของผลิตภัณฑ์

กราฟหรือข้อมูลดิบที่อ้างอิงในข้างต้นนี้อาจจะมาจากความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องถูกศึกษา (Quality Function Deployment (QFD)) และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบให้ได้ประสิทธิภาพของการใช้งานต่อไป อย่างเช่นในการเริ่มต้นออกแบบช่วงล่างของรถ ต้นแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาจะเน้นเฉพาะส่วนของช่วงล่างในส่วนอื่น ๆ ของรถก็จะทำเป็น Model ลักษณะของภาพรวมและที่สำคัญ จะต้องมีชุดของข้อมูลที่บ่งบอกลักษณะของช่วงล่าง ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของล้อรถในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอาจจะแสดงเป็นกราฟอย่างใน Software ที่ชื่อ ADAMS/Car สามารถเลือกชุดช่วงล่างที่เป็นระบบสำเร็จรูปที่บรรจุใน Software อย่างเช่น McPherson Strut มาทั้งชุดและติดตั้งเข้ากับตัวรถ หลังจากนั้นจึงให้ตัว Software หาขนาดที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลกราฟ (เช่น กราฟของมุม Toe, หรือมุม Camber) ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของช่วงล่างที่ต้องการด้วยวิธีนี้ เราจะได้ต้นแบบของระบบช่วงล่างได้รวดเร็วมาก ระบบที่บรรจุในโปรแกรมมีหลากหลายระบบ เช่น เครื่องยนต์, ส่งกำลัง และอื่นๆ มีข้อมูลให้เราเลือกนำมาดัดแปลงข้อมูลและใช้ได้โดยจะเป็นลักษณะ Modular System

ข้อดีของระบบนี้ก็คือ มีความรวดเร็วในการสร้างต้นแบบ (เพราะไม่ต้องสร้างตั้งแต่เริ่มต้น) และมีความชัดเจนในการส่ง Input หรือรับ Output ระหว่าง Module ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในระบบย่อย ๆ แต่ละระบบที่เป็นต้นแบบเสมือนจริงนี้สามารถอธิบายคุณลักษณะต่าง ๆ ของตัวมันเองได้จากการเชื่อมโยงหรือประกอบกันของชิ้นส่วนย่อย ๆ ซึ่งใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งกำหนดรูปทรงและมวลสารของชิ้นส่วนสร้างจากระบบ CAD ที่เป็น Solid Modeling ขณะที่โครงสร้าง, คุณสมบัติทางกายภาพ, การนำความร้อน สามารถใช้ FEA หรือการทดสอบจริงเป็นตัวกำหนด จุดสำคัญที่จะนำเอา FVP มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จจริง ๆ ก็จะเริ่มจากการสร้างที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งนักวิเคราะห์และวิศวกรผู้ทดสอบในด้านต่าง ๆ เพราะ การสร้างต้นแบบในที่นี้ก็คือ การสร้างรูปทรง (Solid Modeling) ซึ่งอธิบายหน้าตาของระบบและที่สำคัญยังจะต้องสร้างคุณลักษณะ (ข้อมูล,กราฟ ต่าง ๆ ) ของระบบย่อย FVP ด้วย

การทดสอบ

อาจจะเป็นเพียงเหตุผลเดียวจริง ๆ ที่จะทำให้ FVP ประสบผลสำเร็จได้นั้นก็คือ "การทำสอบแบบจำลองให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับผลที่คุณทดสอบจริง" การทดสอบจริง ๆ โดยปกติจะทำในห้องทดลองหรือไม่ก็ในสนามทดสอบ ในสภาวะที่ต่าง ๆ กันออกไป แต่ในคอมพิวเตอร์เราต้องพยามทำให้แบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับในห้องทดลองหรือสนามทดสอบให้มากที่สุด ง่ายที่สุดก็คือ การสร้างเครื่องทดสอบซึ่งใช้ในห้องทดลองจริง ๆ บนระบบ FVP หรือสร้างสนามทดสอบจำลองขึ้นใน FVP ข้อสำคัญเครื่องทดสอบหรือสนามทดสอบที่สร้างขึ้นจะต้องสอดคล้องกับของจริง

การทดสอบมีความหลากหลายในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อการออกแบบ ในการทดสอบเพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งใช้ได้ทั้ง FVP และการทดสอบจริง มีลักษณะของการทดสอบแตกต่างกันไป คือ

สิ่งแรก คือ การทดสอบของชิ้นส่วน มีเป้าหมายก็คือหาประสิทธิภาพของระบบ เมื่อเราเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนย่อย ในแบบต่าง ๆ วิธีนี้จะทำให้เราได้ระบบย่อย ๆ ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุด

สิ่งที่สอง คือ การทดสอบของจริงจะเป็นการทดสอบระบบรวมทั้งหมดอีกครั้ง และเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลกับ แบบจำลองในคอมพิวเตอร์ที่เราทดสอบมาแล้ว ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความผิดพลาด และใช้ในการปรับแต่งระบบ ต้นแบบเสมือนให้มีความแม่นยำเที่ยงตรงยิ่งขึ้น ซึ่งผลสุดท้ายก็จะทำให้การออกแบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับบริษัทที่เพิ่งเริ่มจะใช้ FVP ในกระบวนการออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างต้นแบบจริง ๆ ขึ้นมาด้วยเพื่อใช้ทดสอบและนำข้อมูลไปเปรียบเทียบแต่งต้นแบบเสมือนเราจึงสามารถใช้ต้นแบบเสมือนได้อย่างมั่นใจ และเมื่อการออกแบบได้ผ่านขั้นตอนนี้ไประยะหนึ่งจนมีความมั่นใจในข้อมูลของ FVP ที่ปรับแต่งและตรวจสอบแล้วนั้นการทำต้นแบบของจริงอาจจะไม่มีความจำเป็น ที่จะสร้างเพื่อทดสอบเปรียบเทียบอีกต่อไป

เมื่อต้นแบบเสมือนที่สร้างขึ้นมาเป็นที่เชื่อถือได้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องใช้ประโยชน์จากต้นแบบที่สร้างและทดสอบปรับแต่งขึ้นมา เราสามารถทดสอบต้นแบบได้นับพัน ๆ ครั้ง พัน ๆ เหตุการณ์ของการทดสอบ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความเที่ยงตรง พอที่จะทำให้เราตัดสินใจว่ารูปแบบใดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวอีกครั้งในขั้นตอนปรับแต่ง (Refine)

สำหรับการทดสอบ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ในการใช้งานต้นแบบเสมือนจริง ซึ่งต้นแบบจำลองนี้จะนำไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ

ตรวจสอบผล

ความสำคัญของต้นแบบที่มีความเที่ยงตรงและสมมุติฐานต่าง ๆ ที่เรากำหนดให้ต้นแบบเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก ระบบ FVP อาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างแต่สำคัญที่จะต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ จุดที่ใช้ตัดสินใจในการยอมรับ FVP ที่จะสร้างขึ้นก็คือ ข้อมูลที่สะท้อนมาจากการทดสอบต้นแบบจริง ๆ ในการเริ่มต้นพัฒนาระบบในขั้นตอนการตรวจสอบผลนี้ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถแต่ก็บ่อยครั้งที่ผลที่ได้ไม่ตรงกับมันควรจะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้ FVP พบว่าเป็นบริษัทที่ทุ่มเทเวลาให้กับการตรวจสอบและมีการจัดการข้อมูลของการตรวจสอบเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถนำไปใช้ในการสร้างต้นแบบต่อไป

ปกติในกระบวนการของการตรวจสอบ ทั้งต้นแบบจำลอง (FVP) และต้นแบบจริงๆ จะถูกสร้างขึ้นและทดสอบ ผลลัพธ์จะถูกบันทึกเอาไว้เป็นฐานข้อมูล และฐานข้อมูลนี้ก็จะใช้กำหนดบรรทัดฐานในการสร้างต้นแบบขึ้นเพื่อทดสอบในอนาคต

เครื่องมือที่ใช้จำลองการทำงานของต้นแบบที่ดีสามารถช่วยกระบวนการตรวจสอบของต้นแบบได้อย่างมาก อย่างเช่นโปรแกรมทางด้าน Simulation ที่มีข้อมูลที่ช่วยในการออกแบบ อีกทั้งสามารถเปลี่ยน Parameter ที่จะช่วยให้การติดตามผลเพื่อปรับปรุงการจำลองและการทดสอบผล เป็นต้น

ในอดีตกระบวนการในการตรวจสอบผลจะใช้ในรถแข่งประเภท รถสูตร 1 หรือ Formula 1 อย่างเช่นในอิตาลี ที่สนาม Lmola Race Caurse ใช้ระบบรถแข่งเสมือนจริงในการพฤติกรรมของนักขับและรถแข่งก่อนการลงสนามจริง เวลาต่อรอบ (Lap Time) ถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างการขับจริงและระบบเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ โดยใช้นักขับระดับมืออาชีพ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความเที่ยงตรง เกินคาดโดยมีความผิดพลาดเพียง 0.1 วินาที ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเปรียบเทียบระดับของอัตราเร่งในจุดต่าง ๆ ปรากฏว่ามีความสอดคล้องกันของกราฟอย่างเด่นชัด (ดูรูปกราฟเปรียบเทียบ) สีแดง คือกราฟที่บันทึกจากรถแข่งจริงและสีน้ำเงินคือกราฟที่ได้จากระบบเสมือนจริงโดยใช้ซอฟท์แวร์ ADAMS จาก Mechanical Dynamic Inc. อย่างไรก็ดี ระบบเสมือนจริงที่ผ่านการตรวจสอบ ทดสอบจนมีความมั่นใจในการนำไปใช้ในกระบวนการออกแบบขนาดใดก็ตาม สุดท้ายต้นแบบจริงที่ต้องผลิตขึ้นมาทั้งคันก็ยังมีความจำเป็น ในการทดสอบรถก่อนการผลิตจริงอยู่ดี

การปรับแต่งละเอียด

ในการปรับแต่งของระบบ FVP นั้นจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การปรับแต่งเพื่อเพิ่มความแม่นยำของระบบ FVP ที่จะนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และการปรับแต่งเพื่อการออกแบบจริง ๆ นั่นเอง

ความก้าวหน้าของการออกแบบนั้นมีส่วนทำให้งานออกแบบที่ได้นั้นมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่มากขึ้นอีกด้วย ในการออกแบบรถยนต์สักคัน เริ่มต้นสิ่งที่อยู่ในสมองเราก็อาจจะเป็นเรื่องของความเร็ว,วิธีการทำงานของระบบต่าง ๆ หรือไม่ก็เนื้อที่ใช้สอยซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถรับรู้ได้ในเบื้องต้น สิ่งที่เป็นหัวข้อถัดมาคือ เรื่องของความสะดวกสบายอย่างเช่น เสียงรบกวน,ความสั่นสะเทือน หรือความนุ่มนวล ซึ่งระบบ FVP สามารถช่วยปรับปรุง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ สิ่งสำคัญคือ FVP จะต้องสามารถรองรับความซับซ้อนของระบบย่อย ๆ ต่าง ๆ และความแม่นยำของต้นแบบเพื่อที่จะรองรับปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างซับซ้อนได้ เช่น ต้นแบบที่มีระบบไฮดรอลิกที่ทำงานร่วมกับระบบกลไกและระบบไฟฟ้าจะต้องอธิบายร่วมกันได้ในระบบเดียวกัน นี่คือเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการทำระบบ FVP ขึ้นมา

ในหลายกรณีการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถยืดหยุ่นได้ในระบบ FVP (ปกติชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นระบบ FVP หรือต้นแบบเสมือนจริงจะกำหนดให้เป็นวัตถุแข็งแรง) จะช่วยเพิ่มความแม่นยำของระบบได้แต่การใช้ชิ้นส่วนที่ยืดหยุ่น (Flexible Parts) จะเพิ่มสมการการคำนวณให้กับระบบมากขึ้นด้วยเช่นกัน การปรับแต่งของระบบที่เราออกแบบจะสำฤทธ์ผลก็ต่อเมื่อระบบที่เราสร้างขึ้นในเบื้องต้นต้องมีความถูกต้องแม่นยำ หมายถึง กระบวนการตรวจทดสอบต้นแบบ จะต้องทำอย่างจริงจัง มีการทดสอบต้นแบบในระบบย่อยทุกระบบกระบวนการปรับแต่งจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

กลับด้านบน

สรุป


การปรับแต่งที่ต้องการจะต้องสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของต้นแบบที่เราออกแบบในคอมพิวเตอร์เหมือนกับการปรับแต่งรถยนต์จริง ๆ ที่ส่งผลกับการเกาะถนน,การทรงตัว,ความสะดวกสบายอย่างรูปตัวอย่างที่แสดงถึงพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เราปรับแต่งมุม Toe ของรถยนต์ในระบบต้นแบบเสมือนจริง



เอกสารอ้างอิง

Functional Virtual Prototyping Realization of "The Digital Car"

Robert R. Ryan, Ph.D. President and Chief Operating Officer , Mechanical Dynamics, Inc.)



--------------------------------------------------------------------------------

กลับด้านบน

ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์
อันดับหนังสือขายดี
เว็บบอร์ด


--------------------------------------------------------------------------------



The Digital Car ต้น แบบเสมือนจริงแห่งอนาคต

Mechanical Technoloqy Magazine 4

ธันวาคม 2544 - มกราคม 2545

www.cadthai.com

ระบบ CAD/CAM/CAE แบบเดิมกับ System-Level Virtual Prototype / ต้นแบบเสมือนจริง (Functional Virtual Prototyping : FVP) / สรุป

ปัจจุบันการออกแบบรถยนต์ มีความซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งการแข่งขันทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รถยนต์มีการเปลี่ยนรุ่นเร็วและบ่อยมากขึ้น ขั้นตอนในการออกแบบและการทำรถยนต์ต้นแบบเป็นอุปสรรคอย่างมาก เพราะการทำรถยนต์ต้นแบบแต่ละคันกว่าจะสร้างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาประกอบกัน แล้วยังต้องนำมาทดสอบและปรับปรุงแบบครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งกินเวลายาวนานกว่าจะได้เป็นรถแต่ละรุ่น จากปัญหาคอขวดของการพัฒนารถยนต์ตรงจุดนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลกต่างมีความรู้สึกกดดันจากการแข่งขันที่มากขึ้น

แนวคิดในการจำลองแบบด้วยคอมพิวเตอร์และการสร้างต้นแบบเสมือน (Virtual Prototype) ถูกคิดค้นและนำมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาต้นแบบของรถยนต์ เพื่อเป้าหมายคือ ประสิทธิภาพ, สมรรถนะของรถยนต์และในขณะเดียวกันใช้เวลาและต้นทุนต่ำที่สุด โดยจะทดแทนการสร้างและทดสอบแบบเดิม ๆ เทคโนโลยีต้นแบบเสมือนสามารถที่จะรองรับปัญหาดังกล่าวได้แต่ปัญหาคือ บริษัทต่าง ๆ จะมั่นใจได้อย่างไรกับการสร้างและทดสอบต้นแบบเสมือนในคอมพิวเตอร์ว่าจะให้ผลลัพธ์ถูกต้องในระดับที่ต้องการ

รถยนต์ BMW Series 3 ใหม่นี้ เปิดตัวขึ้นมาพร้อมกับความสำเร็จอย่างสูง "ความสมบูรณ์แบบเกิดขึ้นจนรายละเอียดสุดท้าย" ถูกใช้เป็นปรัชญาในการออกแบบทุกขั้นตอน ซึ่งทดแทนคำพูดเดิมที่ว่า "สุดยอดแห่งจักรกลขับเคลื่อน" (The Ultimate Driving Machine) จากข้อมูลในหนังสือ BMW Magazine การออกแบบจะใช้เวลาประมาณ 5 ปีครึ่ง หรือ 2.6 ล้านชั่วโมงทำงาน 130 ระบบถูกสร้างขึ้นด้วยต้นทุนประมาณ $ 360,000 ต่อ 1 ต้นแบบ ซึ่งมีชิ้นส่วนประกอบ 2,400 ชิ้น ระบบเบรค ABS ระบบ Traction-control รวมถึงระบบ Advance-multi-link System ไปจนระบบความปลอดภัยสูงสุด และระบบช่วงล่างอื่น ๆ อีกมาก

บนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมรถยนต์ อาจพูดได้ว่ามาตรฐานที่เยี่ยมยอดได้บรรจุอยู่ใน BMW 3-Series ใหม่นี้จะถูกถ่ายทอดไปสู่รถรุ่นอื่น ๆ ในอนาคตอันใกล้นี้ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้านี้จะทำให้ยานพาหนะรุ่นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมีสมรรถนะที่ดีเยี่ยม ขับขี่ได้อย่างนุ่มนวลราบเรียบ มีการตอบสนองอย่างฉับไว ภายในห้องโดยสารเงียบ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในขณะที่การบำรุงรักษาง่ายขึ้น รวมไปถึงความปลอดภัยระดับสูงสุดซึ่งที่ลูกค้าจะได้รับประโยชน์นี้สูงสุด ที่มากกว่านั้นก็คือ BMW 3-Series นี้ ใช้เวลาในการพัฒนาเพียงครึ่งเดียวเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน ต้นทุนในเรื่องของการผลิตชิ้นส่วนเพื่อทำต้นแบบอาจจะไม่แตกต่างมากนัก แต่เมื่อดูภาพรวมของการพัฒนา ก็สามารถลดต้นทุนจากการประหยัดเวลาได้มาก สิ่งนี้ BMW เขาสามารถทำได้อย่างไร และอะไรคือสิ่งที่ทำให้การพัฒนาก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว คำตอบก็คือ "ต้นแบบเสมือนจริง (Virtual Prototype)"

การออกแบบโดยใช้การจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ ช่วยให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกร และนักวิเคราะห์สามารถสร้างรูปแบบ, การประกอบ, หน้าที่การทำงานของสิ่งที่ตัวเองกำลังทำได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทำตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบแนวคิด, ลงรายละเอียด จนกระทั่งเป็นผลิตภัณฑ์ นอกจากในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์แล้ว คอมพิวเตอร์ยังสามารถจำลองกระบวนการผลิตของส่วนประกอบแต่ละชิ้น เพื่อดูปัญหาและแก้ไขในส่วนของการผลิตอีกด้วย ด้วยความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์นี้ เราไม่จำเป็นที่จะต้องรอเป็นเดือน ๆ เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนทีละชิ้นแล้วถึงประกอบกันเป็นต้นแบบและทดสอบ นี้ยังไม่รวมถึงเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงหรือดัดแปลงหลังจากต้นแบบที่เราทดสอบให้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพอใจ การจำลองต้นแบบบนคอมพิวเตอร์สามารถให้เราสร้างชิ้นส่วน, ประกอบ, และทดสอบได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ นอกจากนั้นเราสามารถดัดแปลงรูปแบบของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นส่วน, ทดสอบเพื่อดูผลได้อีกนับครั้งไม่ถ้วน จนกระทั่งเราได้ต้นแบบที่ดีที่สุด ทั้งรูปแบบ, หน้าที่การทำงานไปจนถึงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมที่สุด

อะไรคือองค์ประกอบที่ทำให้การนำเอาต้นแบบเสมือนจริงมาใช้จนประสบความสำเร็จ ทำไมก่อนหน้านี้ไม่ใช้ต้นแบบเสมือนจริงตั้งแต่แรกถ้ามันดีจริง และอะไรคือจุดสำคัญที่ตัดสินว่า ระบบต้นแบบเสมือนจริงสามารถนำมาใช้ได้จริง

ระบบ CAD/CAM/CAE แบบเดิมกับ System-Level Virtual Prototype

CAD/CAM/CAE มีเป้าหมายแนวคิดว่า "art-to part" หรือจากศิลปสู่ชิ้นงานซึ่งใกล้เคียงกับแนวโน้มที่วิศวกรจะต้องมีการพัฒนาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จนถึงการการผลิตเพื่อคุณภาพของงานที่สูงขึ้น ระบบ CAD โดยเฉพาะระบบของ Solid Modeling จะทำให้ท่านสามารถสร้างและออกแบบชิ้นงานได้อย่างรวดเร็ว ระบบ Finite Element Software สามารถวิเคราะห์ผลกระทบต่าง ๆ ทางโครงสร้าง, การแลกเปลี่ยน, ความร้อน, แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นบนชิ้นงานที่เราออกแบบ และระบบที่มีเป้าหมายจะปรับปรุงความสามารถในการผลิตก็คือ CAM ซึ่งสามารถทำให้เราควบคุมเครื่องจักรประเภท CNC, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังควบคุมการสร้างแม่พิมพ์กระบวนการ Stamping หรือการ Forging (ตีขึ้นรูป) ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้

CAD/CAM/CAE ได้ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจหลัก ๆ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน, อากาศยาน, เครื่องจักรกล และ อิเล็กทรอแมคานิค ซึ่งสามารถยกระดับในการออกแบบและการผลิตในแทบจะทุกชิ้นส่วน อย่างในอุตสาหกรรมทางด้านยานยนต์ เช่น มีการรายงานว่า ผู้ผลิตชิ้นส่วนสามารถลดของเสียได้ถึง 40% ภายใน 5 ปีที่นำเทคโนโลยีนี้มาพัฒนา จุดสำคัญหลังจากที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบด้วย CAD/CAM/CAE คือ ต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการผลิตนั้นลดลง แต่โชคไม่ดีที่ในระหว่างที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนประสบความสำเร็จในการลดของเสียถึง 40% ภายใน 5 ปี บริษัทที่เป็นผู้ผลิตระบบย่อย เช่นระบบเกียร์, คอนโซลภายใน อื่น ๆ ผู้ซึ่งนำชิ้นส่วนจากผู้ผลิตมาประกอบกันอีกครั้งเป็นระบบย่อย สามารถลดต้นทุนจากการรับประกันเพียง 20% เท่านั้น ซึ่งเป็นที่แปลกใจของบริษัทผู้ผลิตระบบย่อยที่หวังว่า เมื่อเปอร์เซ็นต์ของเสียลดลงในการผลิตสามารถลดลงได้ถึง 40% ต้นทุนของการรับประกันชิ้นส่วนก็น่าจะลดลงในระดับที่ใกล้เคียงกัน

ชิ้นส่วนต่างๆที่ออกแบบอย่างเหมาะสม ไม่ได้นำไปสู่การออกแบบระบบย่อยที่ดีเสมอไป เมื่อเรานำระบบเบรคที่ดีมารวมกับช่วงล่างที่เยี่ยมยอดแล้วนำไปติดตั้งบนแชสซี ผลที่ได้อาจจะไม่เป็นระบบช่วงล่างที่ดีเลิศเสมอไป ที่เป็นเช่นนี้เพราะสิ่งที่สำคัญของคุณภาพโดยรวมของระบบที่ออกแบบมาจากรูปแบบของชิ้นส่วนในแต่ละชิ้นด้วยว่าทำงานได้ตามหน้าที่ที่ผู้ออกแบบตั้งใจให้เป็นหรือไม่ นั่นก็คือ ถ้าเราสามารถกำหนดขนาด ณ จุดสำคัญของการออกแบบที่ใช้ CAD/CAM/CAE กำหนดในส่วนของการออกแบบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นมาเป็นการออกแบบในระดับของการออกแบบระบบรวมได้ ก็น่าจะสามารถที่พัฒนาประสิทธิภาพของภาพรวมในการออกแบบเพื่อลดต้นทุนได้มากขึ้น หรือเรียกสั้น ๆ ว่า System Level และที่ยิ่งไปกว่านั้นผลตอบแทนจากการลงทุนเป็นที่ประจักษ์ชัดจากประสิทธิผลของการใช้คอมพิวเตอร์จำลอง(Simulation-base) ในขั้นตอนการออกแบบและใช้ต้นแบบเสมือนกับการออกแบบระบบรวม(System-level Design)

ผู้ผลิตในปัจจุบันพยายามพัฒนาต้นแบบของผลิตภัณฑ์ (Digital Make-Up) ให้สามารถสร้างได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาไปถึงการทดสอบหน้าที่การทำงานของระบบรวมที่ประกอบขึ้นสำเร็จ ไม่ใช่แต่ชิ้นงานเดี่ยว ๆ เท่านั้น บรรดาผู้ผลิตต่าง ๆ เริ่มที่จะตระหนักเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาในสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้วนั้น เป็นเรื่องปกติที่บริษัทเหล่านี้เริ่มที่จะมองเทคโนโลยีที่มากกว่า CAD/CAM/CAE ที่ตนมีอยู่แต่การพัฒนาจากการออกแบบชิ้นส่วนย่อย ๆ ไปสู่การออกแบบระบบรวมโดยใช้ระบบ CAD/CAM/CAE เดิม ๆ นั้นอาจนำไปสู่ปัญหาหลายอย่าง เช่น วิศวกรพยายามเขียน CAD ของระบบที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนมาก แถมด้วยการทำ Photo Rendering (ภาพเสมือนจริง) อีกต่างหาก สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ระบบคอมพิวเตอร์จะช้าจนกระทั่งรับไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าวิศวกรหรือนักออกแบบพยายามที่จะใช้ FEA (Finite Element Analysis) มาวิเคราะห์ระบบที่มีชิ้นส่วนมาก ๆ แถมยังต้องใช้ Solver แบบ Non Linear ในการจำลองการทำงานด้วยแล้วอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เพื่อที่จะวิเคราะห์เหตุการที่เกิดขึ้นจริงเพียงเสี้ยววินาทีเท่านั้น

วิธีการใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นต่างมุ่งเป้าไปที่ความสามารถในการสร้างระบบรวมให้ได้รวดเร็วที่สุด การเจริญเติบโตของการใช้แบบจำลองเสมือนจริงนั้นเป็นการพัฒนาจากระบบ CAD/CAM/CAE เดิมเป็นหลักโดยจะมี 2 ลักษณะคือ

สิ่งแรก คือ ต้นแบบเสมือนจริง (Function Virtual Prototype) ได้ถูกนำไปใช้ในการออกแบบ ตรวจสอบการทำงาน และประสิทธิภาพรวมของระบบ

สิ่งที่สอง คือ ระบบการผลิตจำลอง (Virtual Factory Simulation) ได้ถูกนำไปใช้ในการวิเคราห์ความเป็นไปได้ในการผลิต, ประกอบของระบบหรือชิ้นส่วน, ระบบการจัดการฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ (Product Database Management : PDM) คือสิ่งที่จะช่วยให้ การออกแบบโดยรวมประสบความสำเร็จได้ โดยคุณสมบัติของ PDM เองนั้นจะสามารถช่วยให้ข้อมูลของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ออกแบบนั้นไม่ซ้ำซ้อน และมีการปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ที่สำคัญที่สุดเราสามารถเรียกใช้ข้อมูลชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เราออกแบบได้อย่างถูกต้องและสามารถควบคุมได้

จากส่วนต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาของระบบ Digital Mock Up (การสร้างต้นแบบในคอมพิวเตอร์), Functional Virtual Prototyping, Virtual Factory Simulation ได้ถูกนำมารวมกันเป็นระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบโดยรวม โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงจากต้นแบบที่จะต้องสร้างขึ้นมาจริง ๆ มาเป็นต้นจำลองในคอมพิวเตอร์ซึ่งจากนี้ผมก็จะกล่าวถึงต้นแบบเสมือน "Function Virtual Prototyping" เป็นหลัก

กลับด้านบน

ต้นแบบเสมือนจริง (Functional Virtual Prototyping : FVP)

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบ FVP จะมีพื้นฐานอยู่ 5 ประการ คือ การสร้างต้นแบบ (Build), การทดสอบ (Test), การตรวจสอบ (Validate), ปรับแต่ง (Refine) และสุดท้าย ก็คือ นำเข้าสู่ระบบที่สามารถเรียกใช้ได้ทันที (Automate)

การสร้าง Model

ในส่วนของการสร้าง Model นั้น ต้นแบบเสมือนจริง (FVP) จะเกี่ยวพันทั้งผลิตภัณฑ์ใหม่และผลิตภัณฑ์ที่อาจจะมีอยู่แล้วในท้องตลาด ตามปกติในเบื้องต้น FVP จะนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นหลัก ที่อาจจะมีหลักการพื้นฐานแบบง่าย ๆ หรืออาจจะมาจากความต้องการขั้นพื้นฐานของการออกแบบ เช่น กราฟหรือข้อมูลดิบที่ตั้งสมมติฐานมากกว่าใช้ FVP ในการพัฒนารูปร่างหน้าตาของผลิตภัณฑ์

กราฟหรือข้อมูลดิบที่อ้างอิงในข้างต้นนี้อาจจะมาจากความต้องการของลูกค้า ซึ่งต้องถูกศึกษา (Quality Function Deployment (QFD)) และนำไปใช้เป็นข้อมูลในการออกแบบให้ได้ประสิทธิภาพของการใช้งานต่อไป อย่างเช่นในการเริ่มต้นออกแบบช่วงล่างของรถ ต้นแบบจำลองที่สร้างขึ้นมาจะเน้นเฉพาะส่วนของช่วงล่างในส่วนอื่น ๆ ของรถก็จะทำเป็น Model ลักษณะของภาพรวมและที่สำคัญ จะต้องมีชุดของข้อมูลที่บ่งบอกลักษณะของช่วงล่าง ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของล้อรถในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งอาจจะแสดงเป็นกราฟอย่างใน Software ที่ชื่อ ADAMS/Car สามารถเลือกชุดช่วงล่างที่เป็นระบบสำเร็จรูปที่บรรจุใน Software อย่างเช่น McPherson Strut มาทั้งชุดและติดตั้งเข้ากับตัวรถ หลังจากนั้นจึงให้ตัว Software หาขนาดที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลกราฟ (เช่น กราฟของมุม Toe, หรือมุม Camber) ที่บ่งบอกถึงคุณลักษณะของช่วงล่างที่ต้องการด้วยวิธีนี้ เราจะได้ต้นแบบของระบบช่วงล่างได้รวดเร็วมาก ระบบที่บรรจุในโปรแกรมมีหลากหลายระบบ เช่น เครื่องยนต์, ส่งกำลัง และอื่นๆ มีข้อมูลให้เราเลือกนำมาดัดแปลงข้อมูลและใช้ได้โดยจะเป็นลักษณะ Modular System

ข้อดีของระบบนี้ก็คือ มีความรวดเร็วในการสร้างต้นแบบ (เพราะไม่ต้องสร้างตั้งแต่เริ่มต้น) และมีความชัดเจนในการส่ง Input หรือรับ Output ระหว่าง Module ที่เชื่อมต่อกันอยู่ในระบบย่อย ๆ แต่ละระบบที่เป็นต้นแบบเสมือนจริงนี้สามารถอธิบายคุณลักษณะต่าง ๆ ของตัวมันเองได้จากการเชื่อมโยงหรือประกอบกันของชิ้นส่วนย่อย ๆ ซึ่งใช้หลักการทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งกำหนดรูปทรงและมวลสารของชิ้นส่วนสร้างจากระบบ CAD ที่เป็น Solid Modeling ขณะที่โครงสร้าง, คุณสมบัติทางกายภาพ, การนำความร้อน สามารถใช้ FEA หรือการทดสอบจริงเป็นตัวกำหนด จุดสำคัญที่จะนำเอา FVP มาใช้ให้ประสบผลสำเร็จจริง ๆ ก็จะเริ่มจากการสร้างที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งนักวิเคราะห์และวิศวกรผู้ทดสอบในด้านต่าง ๆ เพราะ การสร้างต้นแบบในที่นี้ก็คือ การสร้างรูปทรง (Solid Modeling) ซึ่งอธิบายหน้าตาของระบบและที่สำคัญยังจะต้องสร้างคุณลักษณะ (ข้อมูล,กราฟ ต่าง ๆ ) ของระบบย่อย FVP ด้วย

การทดสอบ

อาจจะเป็นเพียงเหตุผลเดียวจริง ๆ ที่จะทำให้ FVP ประสบผลสำเร็จได้นั้นก็คือ "การทำสอบแบบจำลองให้ผลลัพธ์สอดคล้องกับผลที่คุณทดสอบจริง" การทดสอบจริง ๆ โดยปกติจะทำในห้องทดลองหรือไม่ก็ในสนามทดสอบ ในสภาวะที่ต่าง ๆ กันออกไป แต่ในคอมพิวเตอร์เราต้องพยามทำให้แบบจำลองมีความสอดคล้องใกล้เคียงกับในห้องทดลองหรือสนามทดสอบให้มากที่สุด ง่ายที่สุดก็คือ การสร้างเครื่องทดสอบซึ่งใช้ในห้องทดลองจริง ๆ บนระบบ FVP หรือสร้างสนามทดสอบจำลองขึ้นใน FVP ข้อสำคัญเครื่องทดสอบหรือสนามทดสอบที่สร้างขึ้นจะต้องสอดคล้องกับของจริง

การทดสอบมีความหลากหลายในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อการออกแบบ ในการทดสอบเพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งใช้ได้ทั้ง FVP และการทดสอบจริง มีลักษณะของการทดสอบแตกต่างกันไป คือ

สิ่งแรก คือ การทดสอบของชิ้นส่วน มีเป้าหมายก็คือหาประสิทธิภาพของระบบ เมื่อเราเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนย่อย ในแบบต่าง ๆ วิธีนี้จะทำให้เราได้ระบบย่อย ๆ ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุด

สิ่งที่สอง คือ การทดสอบของจริงจะเป็นการทดสอบระบบรวมทั้งหมดอีกครั้ง และเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลกับ แบบจำลองในคอมพิวเตอร์ที่เราทดสอบมาแล้ว ซึ่งจะช่วยตรวจสอบความผิดพลาด และใช้ในการปรับแต่งระบบ ต้นแบบเสมือนให้มีความแม่นยำเที่ยงตรงยิ่งขึ้น ซึ่งผลสุดท้ายก็จะทำให้การออกแบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สำหรับบริษัทที่เพิ่งเริ่มจะใช้ FVP ในกระบวนการออกแบบนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างต้นแบบจริง ๆ ขึ้นมาด้วยเพื่อใช้ทดสอบและนำข้อมูลไปเปรียบเทียบแต่งต้นแบบเสมือนเราจึงสามารถใช้ต้นแบบเสมือนได้อย่างมั่นใจ และเมื่อการออกแบบได้ผ่านขั้นตอนนี้ไประยะหนึ่งจนมีความมั่นใจในข้อมูลของ FVP ที่ปรับแต่งและตรวจสอบแล้วนั้นการทำต้นแบบของจริงอาจจะไม่มีความจำเป็น ที่จะสร้างเพื่อทดสอบเปรียบเทียบอีกต่อไป

เมื่อต้นแบบเสมือนที่สร้างขึ้นมาเป็นที่เชื่อถือได้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องใช้ประโยชน์จากต้นแบบที่สร้างและทดสอบปรับแต่งขึ้นมา เราสามารถทดสอบต้นแบบได้นับพัน ๆ ครั้ง พัน ๆ เหตุการณ์ของการทดสอบ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะมีความเที่ยงตรง พอที่จะทำให้เราตัดสินใจว่ารูปแบบใดที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา ซึ่งในส่วนนี้จะกล่าวอีกครั้งในขั้นตอนปรับแต่ง (Refine)

สำหรับการทดสอบ เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ๆ ในการใช้งานต้นแบบเสมือนจริง ซึ่งต้นแบบจำลองนี้จะนำไปใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เป็นสำคัญ

ตรวจสอบผล

ความสำคัญของต้นแบบที่มีความเที่ยงตรงและสมมุติฐานต่าง ๆ ที่เรากำหนดให้ต้นแบบเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญมาก ระบบ FVP อาจจะมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างแต่สำคัญที่จะต้องอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ จุดที่ใช้ตัดสินใจในการยอมรับ FVP ที่จะสร้างขึ้นก็คือ ข้อมูลที่สะท้อนมาจากการทดสอบต้นแบบจริง ๆ ในการเริ่มต้นพัฒนาระบบในขั้นตอนการตรวจสอบผลนี้ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถแต่ก็บ่อยครั้งที่ผลที่ได้ไม่ตรงกับมันควรจะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการใช้ FVP พบว่าเป็นบริษัทที่ทุ่มเทเวลาให้กับการตรวจสอบและมีการจัดการข้อมูลของการตรวจสอบเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ได้จะสามารถนำไปใช้ในการสร้างต้นแบบต่อไป

ปกติในกระบวนการของการตรวจสอบ ทั้งต้นแบบจำลอง (FVP) และต้นแบบจริงๆ จะถูกสร้างขึ้นและทดสอบ ผลลัพธ์จะถูกบันทึกเอาไว้เป็นฐานข้อมูล และฐานข้อมูลนี้ก็จะใช้กำหนดบรรทัดฐานในการสร้างต้นแบบขึ้นเพื่อทดสอบในอนาคต

เครื่องมือที่ใช้จำลองการทำงานของต้นแบบที่ดีสามารถช่วยกระบวนการตรวจสอบของต้นแบบได้อย่างมาก อย่างเช่นโปรแกรมทางด้าน Simulation ที่มีข้อมูลที่ช่วยในการออกแบบ อีกทั้งสามารถเปลี่ยน Parameter ที่จะช่วยให้การติดตามผลเพื่อปรับปรุงการจำลองและการทดสอบผล เป็นต้น

ในอดีตกระบวนการในการตรวจสอบผลจะใช้ในรถแข่งประเภท รถสูตร 1 หรือ Formula 1 อย่างเช่นในอิตาลี ที่สนาม Lmola Race Caurse ใช้ระบบรถแข่งเสมือนจริงในการพฤติกรรมของนักขับและรถแข่งก่อนการลงสนามจริง เวลาต่อรอบ (Lap Time) ถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างการขับจริงและระบบเสมือนจริงในคอมพิวเตอร์ โดยใช้นักขับระดับมืออาชีพ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีความเที่ยงตรง เกินคาดโดยมีความผิดพลาดเพียง 0.1 วินาที ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการเปรียบเทียบระดับของอัตราเร่งในจุดต่าง ๆ ปรากฏว่ามีความสอดคล้องกันของกราฟอย่างเด่นชัด (ดูรูปกราฟเปรียบเทียบ) สีแดง คือกราฟที่บันทึกจากรถแข่งจริงและสีน้ำเงินคือกราฟที่ได้จากระบบเสมือนจริงโดยใช้ซอฟท์แวร์ ADAMS จาก Mechanical Dynamic Inc. อย่างไรก็ดี ระบบเสมือนจริงที่ผ่านการตรวจสอบ ทดสอบจนมีความมั่นใจในการนำไปใช้ในกระบวนการออกแบบขนาดใดก็ตาม สุดท้ายต้นแบบจริงที่ต้องผลิตขึ้นมาทั้งคันก็ยังมีความจำเป็น ในการทดสอบรถก่อนการผลิตจริงอยู่ดี

การปรับแต่งละเอียด

ในการปรับแต่งของระบบ FVP นั้นจะกระทำใน 2 ลักษณะ คือ การปรับแต่งเพื่อเพิ่มความแม่นยำของระบบ FVP ที่จะนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และการปรับแต่งเพื่อการออกแบบจริง ๆ นั่นเอง

ความก้าวหน้าของการออกแบบนั้นมีส่วนทำให้งานออกแบบที่ได้นั้นมีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นการทำงานที่มากขึ้นอีกด้วย ในการออกแบบรถยนต์สักคัน เริ่มต้นสิ่งที่อยู่ในสมองเราก็อาจจะเป็นเรื่องของความเร็ว,วิธีการทำงานของระบบต่าง ๆ หรือไม่ก็เนื้อที่ใช้สอยซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถรับรู้ได้ในเบื้องต้น สิ่งที่เป็นหัวข้อถัดมาคือ เรื่องของความสะดวกสบายอย่างเช่น เสียงรบกวน,ความสั่นสะเทือน หรือความนุ่มนวล ซึ่งระบบ FVP สามารถช่วยปรับปรุง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ สิ่งสำคัญคือ FVP จะต้องสามารถรองรับความซับซ้อนของระบบย่อย ๆ ต่าง ๆ และความแม่นยำของต้นแบบเพื่อที่จะรองรับปรากฎการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างซับซ้อนได้ เช่น ต้นแบบที่มีระบบไฮดรอลิกที่ทำงานร่วมกับระบบกลไกและระบบไฟฟ้าจะต้องอธิบายร่วมกันได้ในระบบเดียวกัน นี่คือเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องการทำระบบ FVP ขึ้นมา

ในหลายกรณีการใช้ชิ้นส่วนที่สามารถยืดหยุ่นได้ในระบบ FVP (ปกติชิ้นส่วนที่ประกอบเป็นระบบ FVP หรือต้นแบบเสมือนจริงจะกำหนดให้เป็นวัตถุแข็งแรง) จะช่วยเพิ่มความแม่นยำของระบบได้แต่การใช้ชิ้นส่วนที่ยืดหยุ่น (Flexible Parts) จะเพิ่มสมการการคำนวณให้กับระบบมากขึ้นด้วยเช่นกัน การปรับแต่งของระบบที่เราออกแบบจะสำฤทธ์ผลก็ต่อเมื่อระบบที่เราสร้างขึ้นในเบื้องต้นต้องมีความถูกต้องแม่นยำ หมายถึง กระบวนการตรวจทดสอบต้นแบบ จะต้องทำอย่างจริงจัง มีการทดสอบต้นแบบในระบบย่อยทุกระบบกระบวนการปรับแต่งจึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้

กลับด้านบน

สรุป


การปรับแต่งที่ต้องการจะต้องสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของต้นแบบที่เราออกแบบในคอมพิวเตอร์เหมือนกับการปรับแต่งรถยนต์จริง ๆ ที่ส่งผลกับการเกาะถนน,การทรงตัว,ความสะดวกสบายอย่างรูปตัวอย่างที่แสดงถึงพารามิเตอร์ต่าง ๆ ที่เราปรับแต่งมุม Toe ของรถยนต์ในระบบต้นแบบเสมือนจริง



เอกสารอ้างอิง

Functional Virtual Prototyping Realization of "The Digital Car"

Robert R. Ryan, Ph.D. President and Chief Operating Officer , Mechanical Dynamics, Inc.)
วันที่: 07 Nov 04 - 10:20

 ความคิดเห็นที่: 7 / 7 : 014975
โดย: Time will tell
โอ้ว.....ขอบคุณมากครับ :-)
วันที่: 07 Nov 04 - 11:34