Close this window

BI-XENON คืออะไร
โดยปกติแล้วไฟหน้าแบบซีนอนทั่วไปที่คุ้นเคยกันจะทำหน้าที่เฉพาะในส่วนของไฟต่ำ (Low Beam) เท่านั้น เห็นได้จากรถไม่ว่ารุ่นใดที่ใช้ไฟหน้าแบบซีนอน โคมไฟหน้ามักจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ โดยแยกเป็นไฟต่ำและไฟสูง เฉพาะไฟต่ำเท่านั้นที่เป็นแบบซีนอน ส่วนไฟสูงยังคงเป็นฮาโลเจนตามปกติ เหตุผลก็เพราะไฟซีนอนแม้ว่าจะให้ความสว่างที่มากกว่า แต่ต้องอาศัยเวลามากกว่าเช่นกันจึงจะให้ความสว่างได้เต็มที่เมื่อเทียบกับหลอดฮาโลเจน ซึ่งในกรณีที่คนขับต้องการใช้ไฟสูงในทันที เช่น ไฟขอทาง (Dip Beam) ปกติแล้วเพียงแค่ดึงก้านควบคุมเข้าหาตัวก็จะเป็นการเปิดไฟสูงโดยอัตโนมัติ กรณีนี้หลอดฮาโลเจนจะให้ความสว่างได้รวดเร็วกว่าหากใช้ไฟแบบซีนอนจะต้องใช้เวลาประมาณ 15 วินาทีเพื่อรอให้แสงที่ออกมามีความสว่างเต็มที่ จึงไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัยหากจะใช้เป็นไฟ Dip Beam ในตอนกลางวัน แต่เมื่อขับในตอนกลางคืน โดยเฉพาะบนถนนที่เปลี่ยวและแสงน้อยหลายครั้งที่จำเป็นต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลา

โดยปกติแล้วไฟหน้าแบบซีนอนทั่วไปที่คุ้นเคยกันจะทำหน้าที่เฉพาะในส่วนของไฟต่ำ (Low Beam) เท่านั้น เห็นได้จากรถไม่ว่ารุ่นใดที่ใช้ไฟหน้าแบบซีนอน โคมไฟหน้ามักจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเสมอ โดยแยกเป็นไฟต่ำและไฟสูง เฉพาะไฟต่ำเท่านั้นที่เป็นแบบซีนอน ส่วนไฟสูงยังคงเป็นฮาโลเจนตามปกติ เหตุผลก็เพราะไฟซีนอนแม้ว่าจะให้ความสว่างที่มากกว่า แต่ต้องอาศัยเวลามากกว่าเช่นกันจึงจะให้ความสว่างได้เต็มที่เมื่อเทียบกับหลอดฮาโลเจน ซึ่งในกรณีที่คนขับต้องการใช้ไฟสูงในทันที เช่น ไฟขอทาง (Dip Beam) ปกติแล้วเพียงแค่ดึงก้านควบคุมเข้าหาตัวก็จะเป็นการเปิดไฟสูงโดยอัตโนมัติ กรณีนี้หลอดฮาโลเจนจะให้ความสว่างได้รวดเร็วกว่าหากใช้ไฟแบบซีนอนจะต้องใช้เวลาประมาณ 15 วินาทีเพื่อรอให้แสงที่ออกมามีความสว่างเต็มที่ จึงไม่เหมาะสมและไม่ปลอดภัยหากจะใช้เป็นไฟ Dip Beam ในตอนกลางวัน แต่เมื่อขับในตอนกลางคืน โดยเฉพาะบนถนนที่เปลี่ยวและแสงน้อยหลายครั้งที่จำเป็นต้องเปิดไฟสูงตลอดเวลา

ซึ่งลำพังแสงของหลอดฮาโลเจนอาจให้ความสว่างไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงเป็นที่มาของไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน (Bi-xenon) เมื่อได้ยินว่าเป็นไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไฟซีนอนคู่ 2 ดวงในโคมเดียวกัน เพราะชุดไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนยังคงใช้หลอดไฟสูงแบบอาโลเจนขนาด 55 วัตต์ควบคู่ไปด้วย เพื่อทำหน้าที่เป็น Dip Beam ตามปกติ ต่อเมื่อต้องการเปิดไฟสูงค้างไว้ในขณะเปิดไฟหน้า (ซึ่งรถส่วนใหญ่ใช้วิธีดันก้านควบคุมไฟข้างหน้า) คราวนี้จึงจะเห็นความแตกต่างของคำว่า "ไบ-ซีนอน" ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนทำงานบนพื้นฐานของไฟซีนอนตามปกติ โดยจะใช้การสะท้อนของแสงคอยปรับการทำงานให้เป็นทั้งไฟสูงค้างไว้ จะมีชิ้นส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนเป็น "ชัตเตอร์" เพื่อควบคุมการกระจายของแสงไฟซีนอน โดยชัตเตอร์จะขยับตัวขึ้น-ลงเพื่อให้แสงที่ออกมาเป็นไฟต่ำและไฟสูงตามต้องการ ดังนั้น ในสภาพการใช้งานจริง ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอนนี้จึงนับว่าเป็นการนำข้อดีของไฟซีนอนมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ทั้งความรวดเร็วของชัตเตอร์ในการเปลี่ยนจากไฟต่ำเป็นไฟสูง และความสว่างที่กว้างไกลกว่าเมื่อลำแสงถูกปรับให้เป็นไฟสูงจึงเท่ากับเป็นการเพิ่มระยะการมองเห็นทางเบื้องหน้าที่ชัดเจนกว่าปกติมาก

ปัจจุบันไฟหน้าไบ-ซีนอนได้พัฒนาเป็นเจเนอเรชั่นที่ 2 ซึ่งเพิ่มระบบปรับความสูงของแสงโดยอัตโนมัติ (Dynamic Headlamp Leveller) และระบบทำความสะอาดไฟหน้ามาให้พร้อม ด้วยความสว่างที่มากกว่าหลอดฮาโลเจน จึงจำเป็นต้องควบคุมแสงของไฟไม่ให้ทำลายทัศนวิสัยของรถที่สวนมา ระบบปรับความสูงของไฟหน้าอัตโนมัติจึงถูกติดตั้งมาให้สำหรับรถที่ใช้ไฟหน้าแบบไบ-ซีนอน ซึ่งระบบนี้จะคอยควบคุมองศาของแสงไฟในแนวดิ่งไม่ให้สูงเกินไป โดยอาศัยสัญญาณจากเซ็นเซอร์ที่ติดตั้ง อยู่ในชุดช่วงล่างที่จะคอยจับอาการยุบหรือยกตัว เช่น การออกตัว เบรก หรือขณะบรรทุกหนัก เพื่อปรับให้แสงของไฟหน้าอยู่ที่ระดับที่เหมาะสมตลอดเวลา แม้จะขับอยู่ในทางขรุขระก็ยังสามารถรักษา ระดับของไฟหน้าด้วยการส่งสัญญาณที่ไวถึง 1 ส่วน 1,000 วินาที ในรถยนต์ราคาสูงหลายรุ่น เซ็นเซอร์ของระบบปรับความสูงของไฟหน้าอัตโนมัติ และจะรับสัญญาณจากเครื่องยนต์และระบบเบรกด้วย นอกเหนือจากระบบกันสะเทือนเพียงอย่างเดียว
เพื่อการทำงานที่รวดเร็วขึ้น เช่น เมื่อมีการเร่งเครื่องทันทีทันใดจะทำให้ตัวรถมีอาการหน้าเชิดขึ้น หรือการเบรกกะทันหันก็จะทำให้รถมีอาการหน้าทิ่มลงนั่นเอง สำหรับรถยนต์ที่ติดตั้งช่วงล่างแบบถุงลมที่ปรับความสูงตัวถุงได้องศาของไฟหน้าก็ยังสามารถปรับตัวเองให้ต่ำลงเมื่อรถอยู่นาระดับสูงสุด แม้ขณะจอดนิ่ง เป็นการรักษาระดับของไฟหน้าไม่ให้สูงขึ้นจนแยงตารถคันอื่น
โดย: HATA   วันที่: 18 Jun 2005 - 21:02