Close this window

เรียนหมอกิมจิครับ
ขอถามอะไรแปลกๆสักหน่อยครับ

ไม่ทราบว่า หมอได้ใช้แก๊สหัวเราะบ่อยหรือเปล่าครับ

เค้าใช้กันยังไง มากน้อยแค่ไหนเหรอครับ

แล้วซื้อครั้งนึงแพงหรือเปล่าครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
โดย: rex   วันที่: 2 Jun 2006 - 09:01

หน้าที่: 1   [2]

 ความคิดเห็นที่: 21 / 29 : 199421
โดย: Red Metalic
พรึบบบบบ
วันที่: 02 Jun 06 - 18:49

 ความคิดเห็นที่: 22 / 29 : 199427
โดย: *อ๋อง*
รับแบบนี้ไหมครับ

EFI Dry Nitrous System

55-75hp Kit : Baht 32,000.00 + VAT
55-75hp Kit /w Polished Bottle: Baht 36,300.00+VAT
55-75hp Kit No Bottle: Baht 21,200.00 + VAT
วันที่: 02 Jun 06 - 19:28

 ความคิดเห็นที่: 23 / 29 : 199428
โดย: *อ๋อง*
หรือชอบเปียกๆ

EFI Wet Nitrous System

55-75hp Kit : Baht 34,700.00 + VAT
55-75hp Kit /w Polished Bottle: Baht 38,500.00+VAT
75-125hp Kit : Baht 34,700.00 + VAT
75-125hp Kit /w Polished Bottle:Baht 38,500.00+VAT
วันที่: 02 Jun 06 - 19:30

 ความคิดเห็นที่: 24 / 29 : 199429
โดย: *อ๋อง*
อันนี้ประวัติคร่าวๆครับ


Where Nitrous Come From ???

เอาล่ะครับ มาถึงส่วนสำคัญกันอีกแล้ว ไหน ๆ ทางร้านเค้าก็เน้นไนตรัสอยู่แล้ว ก็เลยเอาเรื่องเกี่ยวกับมันมาพูดถึงกันหน่อย แต่เรื่องทำไมถึงแรงเราก็ไม่เน้นนัก เพราะทุกคนพอรู้กันอยู่แล้ว ก็จะขอพูดถึงเรื่องของประวัติ และที่มาที่ไปของก๊าซชนิดนี้ ซึ่งเป็นอีกแง่มุมหนึ่งที่คนอาจจะยังไม่ค่อยได้รู้จัก เริ่มกันดีกว่า ไนตรัสออกไซด์ถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในปี 1772 โดยนักเคมีและนักบวชชาวอังกฤษชื่อ “Sir Joseph Priestley” ซึ่งเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ต่อมาในปี 1800 ก๊าซไนตรัสก็ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ โดย “Sir Humphrey Davy” อ่านเป็นภาษาพ่อแม่เราว่า “เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี” คนนี้เด็ก ๆ ที่เรียนวิทยาศาสตร์น่าจะรู้จักกันดี (ถ้าไม่มัวโง่โดดเรียนไปดูดบุหรี่ไปตีนุ้กอ่ะนะ) ทำงานอยู่โรง’ บาล Pneumatic Medical Institution ในเมือง Bristol ประเทศอังกฤษ ท่านเซอร์ก็นำมาให้คนไข้ดมถอนจะถอนฟัน และใช้ในการผ่าตัดด้วย ซึ่งสมัยก่อนยาชายังไม่เจ๋ง การผ่าตัดถึงโคตรจะเจ็บทรมานมาก พอให้คนไข้ดมไนตรัสเข้าไปก็จะเคลิ้มมม... ไม่เจ็บปวดมาก จะเฉือนจะตัดจะหั่นจะเฉาะอะไรก็ง่าย ไม่ต้องทนฟังเสียงคนไข้แหกปาก หลังจากยุคนั้นไนตรัสก็เงียบ ๆ ไป (ไม่แน่ใจว่าเงียบหลังจากท่านเซอร์เดี้ยงไปแล้วหรือเปล่า) อีก 50 ปีให้หลัง ไนตรัสถูกจิกมาใช้อย่างแพร่หลายอีกครั้งหนึ่ง แต่เปลี่ยนเทรนด์เป็น “สารเสพติด” แทน เนื่องจากมันมีกลิ่นที่น่าดม คนเสพก็จะดมเพื่อให้เคลิ้ม อารมณ์ดี สนุกสนาน บ้าได้ทั้งวัน (เหมือนกับดูดกัญชา) ซึ่งในตอนนั้นจะรู้จักไนตรัสกันในนาม “Laughing Gas” หรือ “แก๊สหัวเราะ” (แต่ข้อมูลบอกว่า คนที่เสพไนตรัสเข้าไป ไม่ค่อยมีใครหัวเราะนะ มักจะเคลิ้มเมากลิ้งซะมากกว่า)


First Time In Automotive

ส่วนการนำไนตรัสมาใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน จะเริ่มขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพอากาศของประเทศเยอรมนี ได้ลองนำมาใช้เครื่องบินรบของตัวเอง เพื่อเพิ่มกำลังของเครื่องบิน จะฉีดในขณะที่ต้องการกำลังมาก ๆ อย่างตอนหนี หรือไล่เครื่องบินลำอื่น ภาษาฝรั่งเรียกว่า “Emergency Boost” ซึ่งก็ใช้ได้ผลดี แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ยังไม่ก้าวหน้า บางครั้งเสือกลืมฉีดเพลิน เครื่องพังร่วงซะเองก็มี (สม) หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาไนตรัสขึ้นมาเรื่อย ๆ ต่อมาเครื่องบินรบที่ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบก็ถูกปลดระวาง เปลี่ยนเป็นเครื่องเจ็ท (Jet) แทน ซึ่งใช้ไนตรัสไม่ได้อีกแล้ว ก็เลยหยุดการพัฒนา (สำหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน แต่ในวงการแพทย์ก็ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน) โดนโยนเก็บเข้าเก๊ะไปเป็นที่เรียบร้อย...


First Time In Drag Racing Car

หลังจากที่เงียบ ๆ ไปหลายสิบปี ในปี 1970 ดันมีคนซนสองคน นั่นก็คือ “Mike Thermos & Dale Vazaian” นำไนตรัสมาใช้กับรถแข่ง Drag ของเขา ซึ่งก็ได้ผลจริง ๆ แรงขึ้นทันตาเห็น ตั้งแต่นั้นมาไนตรัสก็ได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งสองก็ศึกษาและเล่นกันมาเรื่อย ๆ จนถึงปี 1978 Mike & Dale ก็ได้ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท Nitrous Oxide Systems Inc. ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “NOS” นั่นเอง ต่อมาบริษัทได้ทุ่มทุนอีกมากมาย เพื่อพัฒนาไนตรัสให้มีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยสูงสุด ช่วงนี้ไนตรัสเริ่มแพร่หลายในวงการ Drag พวกรถ Hot Rod จะนิยมใช้กันมาก แต่ก่อนไนตรัสจะไม่มีการกำหนดใช้เป็นรุ่น ๆ เรียกว่าใครอยากใช้ก็ใช้ จนต้องมีการตั้งกติกาขึ้นมา ไนตรัสอนุญาตให้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกในรุ่น Pro Mod (Pro Modified) ต่อมาสามหน่อ “Chales Carpenter, Bill Kuhlman และ Robby Vandergriff” ได้สร้างสถิติโลกขึ้น โดยการทำรถแข่งในรุ่น “Doorslammer” ก็คือเป็นรถ Funny Car มีบอดี้ซึ่งทำเป็นรูปแบบรถที่จำหน่ายทั่วไปครอบอยู่ ตอนเปิดเข้าออกก็จะยกบอดี้ด้านหน้าขึ้นทั้งอัน เครื่องยนต์ก็จะเป็นบล็อก V8 ควาย ๆ แต่ไม่แรงบ้าขนาด Top Fuel) โดยสร้างสถิติโลกด้วยการวิ่ง 0-402 ม. เร็วที่สุดในรุ่นนี้ ด้วยเวลา “6.07 วินาที” ความเร็วเข้าเส้นสูงถึง 200 ไมล์/ชม. หรือ 320 กม./ชม. นับเป็นการเปิดศักราชไนตรัสออกไซด์อย่างสวยงาม กับรถแข่งควอเตอร์ไมล์ จึงถือได้ว่าไนตรัสออกไซด์นั้นดังเพราะวงการ Drag Racing จริง ๆ ...


More Power By N2O

แฮ่ก ๆ กว่าจะจบ เล่นเอาปวดกบาลเหมือนกันนะเนี่ย ก็เล่ามาซะตั้งยาว ตอนนี้ก็จะกล่าวถึงตัวไนตรัส ว่ามันเป็นอย่างไร มีอะไรเกี่ยวกับความแรงมั่ง เอ้า Start เจ้า Nitrous Oxide หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า N2O จะประกอบไปด้วย Nitrogen 2 ตัว และ Oxygen 1 ตัว สำหรับหน้าที่การเพิ่มพลังตัวหลักก็คือ Oxygen อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่า หากมีออกซิเจนมาก การสันดาปจะทำได้อย่างรุนแรง เหมือนกับคนเรานั่นแหละครับ อยู่ในที่ที่มีออกซิเจนเยอะ จะรู้สึกว่าร่างกายสดชื่น แต่...ถ้าจะอัดออกซิเจนเข้าไปอย่างเดียวคงจะไม่ดีนัก เนื่องจากการสันดาปอย่างรุนแรงก็จะมีความร้อนเพิ่มขึ้นมาด้วย อัดมาก ๆ ก็จะบรรลัย ดังนั้นจึงต้องเอา Nitrogen มาช่วย คุณสมบัติของมันก็คือ มันเป็นสารที่มีความเย็น จึงนำมาช่วยลดความร้อน อีกอย่างก็คือ เมื่ออุณหภูมิเย็นลง การสันดาปก็จะสมบูรณ์มากกว่าอุณหภูมิที่ร้อน ไนโตรเจนจึงเป็นผู้ช่วยที่แสนดีตรงนี้นี่เอง
สำหรับชุดไนตรัสก็จะมีอยู่สองแบบ แบบแรกเป็นแบบเก่า นั่นก็คือ Dry System หรือระบบแห้ง จะมีหัวไนตรัสยิงเข้าห้องเผาไหม้อย่างเดียว และอีกอันที่เป็นระบบใหม่ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ Wet System หรือระบบเปียก ก็จะมีสายน้ำมันพ่วงเข้ากับหัวไนตรัสด้วย ในแบบ Dry จะมีข้อเสียตรงที่ จะต้องเพิ่มน้ำมันเข้าไปทางคาร์บูเรเตอร์ หรือทางหัวฉีดเอง ซึ่งการจูนอัพจะยุ่งยากกว่า เพราะต้องเทน้ำมันหนาเผื่อไว้ตลอด ไม่เหมือนกับแบบ Wet ที่จะฉีดพร้อมกับไนตรัส (เวลาที่เรากดใช้) ตอนไม่ฉีดก็จูนเครื่องตามปกติไป ส่วนตำแหน่งการติดตั้งหัวไนตรัส ก็จะติดตั้งตำแหน่ง “ก่อนเข้าลิ้นผีเสื้อ” ประมาณ 6 นิ้ว เนื่องจากต้องการเผื่อเนื้อที่ให้น้ำมันกระจายตัวก่อน เพราะน้ำมันเบนซินจะหนักกว่าไนตรัสที่เป็นก๊าซ เมื่อน้ำมันกระจายตัว มันจะสามารถเลี้ยวเข้าห้องเผาไหม้ได้เฉลี่ยใกล้เคียงกัน หากฉีดใกล้เกินไป ไม่ทันที่น้ำมันจะแตกตัว โผล่มาเป็นดุ้น ๆ ยังไม่ทันเลี้ยวมันก็จะถูกถีบเข้าไปสูบใน ๆ ก่อน (จากแรงดันบูสต์ที่อัดเข้ามายังท่อร่วม) สูบแรก ๆ จะได้น้อยกว่า จริง ๆ แล้วจะมีการติดตั้งหัวฉีดไนตรัสอีกแบบหนึ่ง นั่นก็คือ Direct Port ฉีดสูบใครสูบมัน แต่ข้อเสียก็คือติดตั้งยากกว่าแบบหัวเดี่ยว ส่วนข้อเสียของตัวไนตรัส ก็ง่าย ๆ หากฉีดมากเกินไป น้ำมันไม่พอ หรือเกิดการจุดระเบิดเกินกว่าที่เครื่องรับได้ ก็ “บรรลัย” ตามระเบียบ อีกอย่างก็คือ มันจะไปสร้าง Green House Effect ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน เอ้า จบ...
ปล. แปลข้อมูลเป็นไทยโดย “Paul Amornwet ณ STRYDER”

ที่มา: http://www.grandprixgroup.com/gpi/magxo/detail.asp?news_id=932

ส่วนอันข้างบนจาก : http://www.stryder.co.th/zex.html
วันที่: 02 Jun 06 - 19:35

 ความคิดเห็นที่: 25 / 29 : 199460
โดย: ~!GunGGinG!~
โห
วันที่: 02 Jun 06 - 23:52

 ความคิดเห็นที่: 26 / 29 : 199476
โดย: เชษฐ์
พี่อ๋องเรานี่
มีสาระจริงๆ
วันที่: 03 Jun 06 - 01:17

 ความคิดเห็นที่: 27 / 29 : 199568
โดย: rex
โห ถามแค่ราคา นึกว่าหมอซื้อถูกกว่า ยาวเลยแฮะ
วันที่: 03 Jun 06 - 11:32

 ความคิดเห็นที่: 28 / 29 : 199569
โดย: อ๋อง
อ่อ ถ้าแก๊สหมดแล้ว
ค่าเติมต่างหากนะคร้าบ

บรื้นนนนนนนนน
วันที่: 03 Jun 06 - 11:40

 ความคิดเห็นที่: 29 / 29 : 199645
โดย: กิมจิ (จิ๊จ๊ะ)
อ๋องมี สาระ มากเลย (ชื่นชม) ขอปรบมือให้
วันที่: 03 Jun 06 - 22:37

หน้าที่: 1   [2]