Close this window

อัตราส่วนกำลังอัด ค่าอ๊อคเทน องศาจุดระเบิด สามเกลอไปไหนไปกัน
วันก่อนไปตั้งศูนย์ พร้อมถ่วงจี้ที่ร้าน ส.ประเสริฐ พอดีได้คุยกับลูกค้าท่านนึงของร้าน ขณะที่ผมกำลังอ่านบทความหนี่งของหนังสือรถซิ่งเล่มหนึ่งจำไม่ได้น่ะครับว่าชื่ออะไร แต่เป็นของเดือนสิงหานี่ล่ะครับ เป็นบทความเกี่ยวกับ ค่าอ๊อคเทนกับองศการจุดระเบิด แล้วก็พอดีเขาเช้ามาบอกว่า มาสด้าตัวนี้สวยดีนะครับ ผมก็ชอบ (เช้าทางล่ะว้า... มาชมอีพริ้งค์ลูกกรูแบบนี้ คอเดียวกัน ก็เลยคุยกันได้ยาว ปกติจะมีแต่คนถามว่า ฮุนไดรุ่นไหนครับเนี่ย ....... กรรม) รถเขาเป็น Cef 2J Bo แต่ว่าติดแก๊สแบบฟิกซ์มิกเซอร์ (เห็น J Bo ทำหลายคันแล้ว รถเพื่อนผม 3J ในCef เหมือนกัน มันยังฟิกมิกซ์เล๊ย....ย) เขามาถามว่า เนี่ยตั้งแต่ติดแก๊สรถวิ่งไม่ค่อยออกเลย เสียดายที่ติดแก๊ส อย่างโน้นอย่างนี้ ผมก็เลยถามกลับไปว่า แล้วได้ลองตั้งไฟใหม่หรือเปล่า

เนี่ยล่ะครับจุดนี้ล่ะที่ทำให้ผมคิดถึงบทเรียนเก่าๆ ความรู้เก่าๆ แต่ทรงคุณค่าเรื่องเครื่องยนต์ของผม ที่เคยได้ร่ำเรียน เคยได้ค้นคว้ามาตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ หุหุ ก็เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง มันนานมากแล้ว แต่ว่าอยู่ในความทรงจำเสมอ แต่มันอาจจะบกพร่องในบางจุด ผิดมั่งถูกมั่ง ท่านใดเห็นค้านตรงไหน เสริมได้เลยนะครับ

ที่เอามาลงเพราะเห็นว่า มันน่าจะมีประโยชน์ต่อพวกเรา มาสด้าเก่าๆ หุหุ เริ่มเลยแล้วกันนะครับ


อัตราส่วนกำลังอัด

หากเราสนใจเรื่องความแรง เราคงเคยได้ยินคำๆ นี้มานานมากแล้ว ถ้าจะให้พูดแบบละเอียด อัตราส่วนกำลังอัด หมายถึงการเปรียบเทียบในเชิงปริมาตร ของอากาศในกระบอกสูบ ณ.จุดต่ำสุดของลูกสูบ (ในจังหวะดูด) เปรียบเทียบกับ ปริมาตรของอากาศเดียวกัน ณ.จุดสูงสุดของลูกสูบ (ในจังหวะอัด) งงมั๊ยครับท่าน ท่านใดที่พอจะมีพื่นฐานของช่างยนต์อยู่บ้างน่าจะไม่ งง
เอาเป็นประมาณว่า อากาศปกตินี่ล่ะ แต่ถูกบีบให้อยู่ในพื้นที่แคบลง ๆ ตามจังหวะเลือนขึ้น ของลูกสูบ แล้วเอาปริมาตรตอนไม่ได้ถูกบีบ มาเปรียบเทียบกับตอนที่ถูกบีบให้อยู่ในพื้นที่ ที่เล็กที่สุดน่ะครับ (งง..หนักเลยมั๊ยเนี่ย)

สำคัญยังไง

เอาง่ายๆ ส่งผลโดยตรงต่อความแรง ตามทฤษฏีที่ว่า อ๊อกซีเจนช่วยให้การเผาใหม้สมบูรณ์ หมายความว่า ยิ่งอัตราส่วนสูงกำลังอัดยิ่งสูง คือ อากาศเข้าไปแยะมากขึ้น ยิ่งทำให้ได้กำลังจากเครื่องยนต์มากตามไปด้วย เช่น เครื่องยนต์ที่มีความจุเท่ากันแต่อัตราส่วนกำลังอัดไม่เท่ากัน เครื่องที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงกว่าจะให้กำลังมากกว่า
ง่ายๆ ตระกูลมาสด้าของเรา พวกเครื่องที่มีรหัสลงท้ายด้วย ZE ทั้งหลายจะเป็นเครื่องที่มีอัตรากำลังอัดมากกว่าเครื่องที่อยู่ใน ซีรีส์เดียวกันแต่รหัสลงท้ายไม่เหมือนกัน เช่น
KL-ZE จะมีอัตราส่วนกำลังอัด10 : 1 จะให้กำลังสูงสุด 147 KW ที่ 6500 rpm หรือประมาณ 199.73 HP (จาก 147*1000/736 ) และแรงบิด 224 Nm ที่ 4800 rpm
KL-DE หรือ KL-03 มีอัตราส่วนกำลังอัด 9.2 : 1 ให้กำลังสูงสุด 121 KW ที่ 6500 rpm หรือประมาณ 164 HP และแรงบิดที่ประมาณใกล้เคียงกับ KL-ZE
( ค่าตัวเลข แรงม้า แรงบิดต่างๆ เหล่านี้ ผมให้เครดิต จากเวบ MX6 จากต่างประเทศนะครับ แล้วก็รวบรวมจากเท่าที่พอจะจำได้จากเวบ จากหนังสือ จากช่าง และเพื่อนๆ ในคลับ )
ซึ่งนอกจาก จะมี KL-ZE 2.5 แล้วก็ยังมี KF-ZE 2.0 , K8-ZE 1.8 , KJ-ZEM พวกนี้เป็นตระกูล V6 ส่วน 4 เม็ดก็จะมีพวก BP-ZE 1.8 ในป๊อบอัพ ตาตี่ แลนติส roadster MX5(อันนี้ขับหลัง) , B6-ZE 1.6 ใน MX5 ประมาณนี้ล่ะครับ

เรื่องของกำลังอัดเอาไว้ประมาณนี้ละกันนะครับ สรุปง่ายๆ คืออัตราส่วนกำลังอัดยิ่งสูง ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้เครื่องมีกำลังสูงขึ้นมาด้วย


องศาการจุดระเบิด

คงจะเคยได้ยินคำว่า ไฟอ่อน ไฟแก่ กันมามั่งล่ะนะครับ ( ไม่ได้เกี่ยวกับ การแก่แต่ยังมีไฟ แต่ประการใด หรือหากใครที่แก่แต่ยังมีไฟก็ว่ากันมิได้ มันอยู่ที่วาสนาจะพา...น้อง เอ๊ย จะพาไป หุหุ )
องศาการจุดระเบิดหมายถึงตำแหน่งการเริ่มสปาร์คของหัวเทียนให้เกิดประกายไฟเพื่อจุดระเบิดในกระบอกสูบในจังหวะ อัด หรือจังหวะที่ลูกสูบกำลังจะขึ้นถึงจุดสูงสุด (ผมใช้คำว่ากำลังจะขึ้นถึงจุดสูงสุดนะครับ ไม่ได้หมายถึงจุดสูงสุด หรือจุดสุดยอด หุหุ ออกแนวหื่นอีกแล้วกรู.. ) ตำแหน่งของการจุดระเบิดมีผลต่อการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในกระบอกสูบอย่างมากเพราะหากจุดระเบิดเร็วไปเชื้อเพลิงเผาไหม้หมดก่อนที่ลูกสูบจะเลื่อนขึ้นถึงจุดสูงสุดก็จะทำให้เกิดแรงต้านดันลูกสูบให้ลงมาซึ่งแรงนี้จะฝืนกับจังหวะที่ลูกสูบกำลังเลื่อนขึ้นยังไม่ถึงจุดสูงสุดของมัน ทำให้ลูกสูบโดนผลักไปเบียดกับกระบอกสูบในด้านใดด้านหนึ่ง แรงที่ได้จากการระเบิดก็จะโดนหักล้างไปกับแรงเฉื่อยของการเลื่อนขึ้นของลูกสูบที่ส่งมาจากข้อเหวี่ยง ก็จะทำให้รถไม่มีแรง แล้วนอกจากรถเราจะไม่มีแรงอย่างใจคิดแล้วยังอาจเกิดความเสียหายกับ กระบอกสูบ แหวน ก้านสูบ รวมทั้งแบร์ริ่งของก้าน และข้อเหวี่ยงได้ อาการที่จุดระเบิดเร็วไปนี้ เรียกว่า ไฟแก่ไป
อ้อ .. การสังเกตุอาการ ไฟแก่เกินไป อีกประการคือ หากไฟแก่ไปเนี่ยในรอบสูงๆ ซัก 3500 ขึ้นไปถ้าตั้งใจฟังดีดี จะได้ยินเสียงเครื่องมันดัง แก๊กกกกๆๆๆๆ หรือ ก๊อกกกกๆๆๆๆ นะครับ ซึ่งจะเรียกกันว่าเครื่องมัน น๊อค มาจากคำว่า Knock ซึ่งแปลว่า เคาะ ก็เนื่องมาจากการกระทบกันของลูกสูบกับผนังกระบอกสูบนั่นล่ะครับ
ฉะนั้น ไฟอ่อนก็จะหมายถึง การที่หัวเทียนทำการสปาร์คในขณะที่ลูกสูบเลื่อนไปจนเกือบจะถึงจุดสูงสุดเต็มทีแล้ว ทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงไม่หมด (เผาไม่ทัน ว่างั้นเถอะ) เพราะว่าในจังหวะ ระเบิดนั้น ลูกสูบควรจะเลื่อนลงจากแรงระเบิดของการเผาไหม้อย่างเต็มที่ ซึ่งในกรณีนี้ เชื้อเพลิงยังเผาไหม้ไม่ทันหมด แรงระเบิดที่ส่งมาผลักลูกสูบจึงไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น ซึ้งก็จะทำให้รถ ไม่มีแรงอย่างที่มันควรจะเป็น แถมยังกินเชื้อเพลิงอีกด้วย ( อีกแระ อ่อนก็ไม่แรง แก่ก็ไม่แรง งั้นเอาซักประมาณ 18-25 เนี่ย แรงแน่ๆ หุหุ 18-25 เนี่ย .. ค่าของอะไรคิดเอาเองนะครับท่านๆ )


ค่าอ๊อคเทน

ค่าอ๊อคเทนหมายถึงค่าที่ต้านการน๊อคของเครื่องยนต์ ยิ่งค่าอ๊อคเทนสูงยิ่งสามารถต้านการน๊อคของเครื่องยนต์ได้มากขึ้น โอกาสเกิดการน๊อคของเครื่องยนต์ก็น้อยลง
การน๊อคของเครื่องยนต์ คืออะไร ลองย้อนกลับไปอ่านข้างบน ตรงหัวข้อองศาการจุดระเบิด ไฟแก่ น่ะครับ

การที่รถยนต์รุ่นหนึ่งๆ กำหนดว่าต้องใช้น้ำมันที่มีค่าอ๊อคเทน เท่านั้น เท่านี้ นั้น เพราะทางวิศวกรได้คำนวณแล้วว่าเครื่องยนต์ตัวนี้จะสามารถให้ประสิทธิภาพที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้วกับค่าอ๊อคเทนที่กำหนดมาให้ ( ผมไม่ได้บอกว่าจะให้ได้กำลังมากที่สุดที่ค่าอ๊อคเทนนี้นะครับ ผมหมายถึงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องยนต์ ซึ่งก็มีหลายแฟคมาประกอบเช่น กำลัง แรงบิด ความร้อนจากการเผาไหม้ ความทนทานของชิ้นส่วน ฯลฯ ) ซี่งค่าอ๊อคเทนที่กำหนดมาให้จะต้องสัมพันธ์กับองศาการจุดระเบิดที่โรงงานเซทมาให้ อย่างพวกเครื่องจานจ่ายก็สามารถปรับไฟแก่ อ่อน ได้จากการหมุนจานจ่ายโดยตรง แต่เครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เป็น ไดเร็คคอล์ย ก็อาจจะต้องไปจัดการที่กล่องอีซียู ซึ่งอันนี้ผมไม่ทราบวิธี แต่ก็รู้สึกว่าในกระทู้ก่อนหน้านี้ซักสัปดาห์นึง มีคนถามเรื่องการปรับองศาการจุดระเบิดกับเครื่องที่เป็น ไดเร็คคอล์ย ต้องลองไปหาดูครับ หรือท่านใดที่ทราบจะมาเพิ่มเติมในกระทู้นี้ก็จะเยี่ยมเลยล่ะครับ

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าอ๊อคเทน กับ องศาการจุดระเบิด ก็คือ
เชื้อเพลิงที่มีค่าอ๊อคเทนสูงกว่าจะเกิดการลุกไหม้ได้นานกว่าเชื้อเพลิงที่มีค่าอ๊อคเทนต่ำกว่า ในสภาวะเดียวกัน ( ไม่ได้หมายถึงเผาไหม้ช้ากว่านะครับ แต่เผาไหม้ได้นานกว่า ) เมื่อเผาไหม้ได้นานกว่าก็จะมีช่วงที่ให้กำลังงานได้มากกว่าเช่นกันเป็นเงาตามตัว

เมื่อมีช่วงเผาไหม้นานกว่า ก็ควรที่จะมีตำแหน่งองศาการจุดระเบิดที่เร็วกว่า จึงจะทำให้การเผาไหม้ในกระบอกสูบหมดจดพอดีในจังหวะที่ลูกสูบขึ้นสูงสุดแล้วเกิดแรงระเบิดผลักดันให้ลูกสูบลงมาในจังหวะ ระเบิด ฉะนั้นการใช้เชื้อเพลิงที่มีค่า อ๊อคเทนสูงกว่าควรมีองศาการจุดระเบิดที่เร็วกว่า หรือ สูงกว่า หรือไฟแก่กว่า การใช้เชื้อเพลิงที่มีค่าอ๊อคเทนต่ำนั่นเอง

เพราะฉะนั้น ในเครื่องยนต์เดียวกัน หากทางโรงงานบอกว่าเชื้อเพลิงที่เหมาะสม ( เหมาะสมนะครับ ไม่ได้หมายความว่าดีที่สุด และหรือทำให้เครื่องมีกำลังสูงสุด ) คือ 91 เราๆ ก็จะเติม 91 กันแล้วก็วิ่งได้ ซูมๆ ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ปุ๊บ ก็จะเกิดคำถาม ที่ว่า อ้าวงั้น กรู...เติม 95 เครื่องก็แรงกว่าเก่าน่ะซิ ใช่มั๊ย คำตอบคือ ใช่ครับ แต่ไม่ทั้งหมดเพราะมันต้องขึ้นอยู่กับว่า คุณเติม 95 ซึ่งมีอ๊อคเทนสูงกว่า แล้วคุณตั้งไฟให้แก่ขึ้นหรือเปล่า ถ้าเปล่าใช้องศาการจุดระเบิดเท่าเดิม ก็แทบไม่ได้มีผลอะไรขึ้นมาเลยแถมเปลืองกว่าเดิมด้วยเพราะเชื้อเพลิงเผาไหม้ไม่หมด แล้วถ้าตั้งไฟอ่อนไว้อยู่แล้วด้วย จะได้เกิดเสียงตด ปุ้งๆ ปู๊ดๆ เวลาเร่งเครื่อง กระทันหันด้วยซ้ำ แถมเครื่องก็จะไม่มีแรงด้วย เพราะเชื้อเพลิงเผาไหม้ไม่หมดแล้วไฟอ่อนทำให้ เกิดการโอเวอร์แล๊บออกมาในจังหวะ คาย ไอเสีย

นี่ก็เป็นที่มาว่าถ้าเครื่อง BP สเปคตามคู่มือคือ อ๊อคเทน 90 ขึ้นไป แล้วถ้าเติม 95 ก็ให้ตั้งไฟไว้แก่หน่อย จะทำให้เครื่องแรงขึ้นอีกนิด ถ้าจะสังเกตุ ก็ค่อนข้างจะเห็นได้ชัดเลยทีเดียว ลองมาแล้ว แต่.....ต้องเติม 95 ตลอดนะ ไม่ก็ โซฮอล 95 ก็ได้ ถ้าวันไหนไปเติม 91 นี่ ปู๊ด....ด อย่างเห็นได้ชัดเลย

แล้วมันมีความสัมพันธ์ยังไงกับอัตราส่วนกำลังอัด

เครื่องที่มีอัตราส่วนกำลังอัดสูงจะต้องการสเปคน้ำมันที่ค่าอ๊อคเทนสูงด้วย อย่างน้อยๆ ต้อง 95 ขึ้นไปแน่นอน ที่ต้องการค่าอ๊อคเทนสูงเนื่องจากว่าเมื่อมีอัตรากำลังอัดสูงก็หมายความว่ามี อ๊อกซิเจนมากขึ้นด้วย ซึ่งก็หมายถึงถ้ามีการจุดระเบิดก็จะมีการระเบิดที่รุนแรงมากขึ้นกว่าเครื่องที่มีอัตรากำลังอัดต่ำกว่า ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดการน๊อคของเครื่องมากขึ้นเนื่องจาก อ๊อคซิเจนที่มากขึ้นจะเป็นตัวเร่งให้มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงได้เร็วและรุนแรงขึ้นนั่นเอง ... งงมั๊ยครับ ถ้างง ทำใจร่มๆ แล้วกลับไปอ่าน ย่อหน้านี้อีกที หุหุ ขออภัยหากอธิบายไม่กระจ่าง......

นี่เป็นเหตุให้มีองค์ความรู้เล็กๆ จุดหนึ่งขึ้นมาว่า ถ้าเครื่องติดแก๊สแล้วให้ตั้งไฟแก่ขึ้นนิดนึง ก็เพราะว่า LPG มีค่า อ๊อคเทนอยู่ที่ 105 -110 นั่นเอง

ว่ากันมาถึงจุดนี้ บางท่านที่คิดตามอาจเกิดข้อสงสัยว่า “อ้าว...ถ้าอ๊อคเทนยิ่งสูง แล้วเราหรือช่าง สามารถปรับตั้งองศาการจุดระเบิดให้เหมาะสมกับค่าอ๊อคเทนได้ ก็จะทำให้รถเรามีความแรงและสันดาบได้สมบูรณ์ ก็น่าจะหมายความว่าใช้พลังงานได้เต็มที่ ไม่ต้องเหยียบเค้นคันเร่งให้มาก ให้กินน้ำมันหนักขึ้นไปอีก แถมมลพิษก็น้อยลงด้วยเพราะเผาไหม้หมดจด ”

……. แล้วทำไมคุณรัฐบาลจึงยัดเยียดให้ใช้น้ำมันค่าอ๊อคเทนต่ำ อย่าง 91 ทำไม ... ต้องมีโฆษณาที่ออกมาบอกว่าใช้ 95 หรือ 91 มันก็เหมือนกันแค่เราอุปทานคิดไปเองว่า 95 มันแรงกว่า จำได้มั๊ยครับเมื่อซัก 2 ปีที่แล้วมีประมาณดารานักแข่ง ออกมายืนยันด้วย บอกตามตรง ผมเห็นแล้วเซ็ง.......แต่ก็นะ สู้กันไป

แต่ก็อย่างว่า รัฐเขาคงคำนวณแล้วล่ะว่า ต้นทุนที่ต้องเอามาทำ 95 ขาย มันคงแพงกว่า ไม่คุ้มกับการที่จะให้ใช้ประสิทธิภาพเครื่องยนต์แบบพอใช้ได้ และให้ทนใช้แบบประหยัดกันต่อไป........ สู้...

อีกอย่างนะ จำได้หรือเปล่า เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ปั้มต่างๆ จะโฆษณาว่าตัวเองมีน้ำมัน อ๊อคเทน 97 บางปั้ม 98 ด้วยซ้ำ ถ้ามัน ไม่มีผลเรื่องการให้กำลังงานที่สูงขึ้นตามสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วปั้มันจะเอามาโฆษณาขายทำไม .... แล้วน้ำมันอ๊อคเทน 97-98 ตอนนี้มันหายไปไหนหมด ...................
เออ.... ชั่งมัน ตอนนี้ผมใช้ อ๊อคเทน 105 อยู่ หุหุ ไม่สนมันละ 97-98

ป.ล.ในเรื่องกระแนะกระแหน รัฐเนี่ย ผมอ่านมาจากหนังสือเล่มนั้นแล้วตรงใจมาก เลยเอามาแถลงให้ฟังกันหน่อย แต่จำชื่อหนังสือไม่ได้จริงๆ ครับ อยากยกเครดิตให้เขามาก
แถมท้ายกันอีกนิดเรื่อง unoctanium ( อันอ๊อคเทนเนี่ยม ) เคยได้ยินกันมั๊ยครับ ถ้าเป็นคอหนังอาจจะคุ้นๆ ในเรื่อง อวตาร ไงครับ ที่มนุษย์เราไปบุกดาวเขาน่ะ เพื่อที่จะเอาไอ้ธาตุตัวนี้ ที่มัน กก. ละ 20 ล้านเหรียญน่ะ มาเป็นเชื้อเพลิง คิดดูเล่นๆ นะ อันอ๊อคเทนเนี่ยม ก็แปลประมาณว่าธาตุให้พลังงานประมาณพวกไฮโดรคาร์บอน ( พวกเชื้อเพลิงน่ะ ) แต่ไม่ต้องมีอ๊อคเทน แสดงว่าเครื่องยนต์ที่เอาไอ้ธาตุนี้ไปใส่นี่ก็ต้องตัดปัญหาเรื่อง การน๊อค ไปได้ เมื่อไม่มีการน๊อค ก็อาจจะหมายถึง สามารถให้เชื้อเพลิงได้เต็มที่ ให้อ๊อคซิเจนได้เต็มที่ ในกระบอกสูบเล็กๆ ( สมมติว่าเป็นเครื่องแบบสันดาบภายในอยู่นะ ) ก็สามารถให้กำลังงานออกมาแบบมหาศาล แทบไม่จำกัด ( เนื่องจากให้ อันอ๊อคเทนเนี่ยม ) ได้เลยเหรอ คิดๆ ดูตอนนี้ก็ประมาณ พลังงานนิวเครียร์ นะ ถ้าเป็นพวกสันดาบภายในที่เครื่องเล็กให้กำลังงานสูงๆ ในตอนนี้อก้อย่างพวกเครื่อง F1 ไง ที่แต่ก่อน เครื่อง 1.5 ลิตรเทอร์โบ แต่ล่อไป 1000 กว่าแรงม้าที่ ประมาณ 20000 รอบน่ะ

เรื่องท้ายนี่ คิดเล่นๆ นะครับอย่าคิดมาก หุหุ

ท้ายนี้ ข้อความนี้หากมีข้อผิดพลาดอันใด หากท่านผู้รู้มาอ่าน และหากจะช่วยแก้ไข จะเป็นพระคุณยิ่งครับ


.
.
.
โดย: ไม่แรงแต่แซงทุกโค้ง.   วันที่: 2 Sep 2010 - 01:52


 ความคิดเห็นที่: 1 / 17 : 588917
โดย: วิตต์
ขอบคุณครับ เป็นกระทู้ที่ยาวๆๆๆเหมือนหลายๆกระทู้ แต่เป็นกระทู้ยาวๆๆๆๆๆๆไม่กี่กระทู้ที่ผมอ่านจบทุกตัวอักษร ครับ
วันที่: 02 Sep 10 - 08:24

 ความคิดเห็นที่: 2 / 17 : 588948
โดย: RaZinger
ยอดเยี่ยม ยิ่งใหญ่ ไขข้อข้องใจของผมไปได้เยอะเลย ขอขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ
วันที่: 02 Sep 10 - 10:14

 ความคิดเห็นที่: 3 / 17 : 588984
โดย: SpyTT
คุณตุล สอนตั้งไฟ เคเอฟ (น้องเคแอล)หน่อยชิ
สรุป มันตั้งได้มะ หรือว่ากล่องมันปรับให้ (ตั้งไปก็ไม่มีผล) ผมละงง
แล้วถ้าตั้งได้ ให้ตั้งไปทางใหนประมาณเท่าไร อะครับ
วันที่: 02 Sep 10 - 11:42

 ความคิดเห็นที่: 4 / 17 : 589012
โดย: Kate...Ka
ยอดเยี่ยมไปเลยคะ

ตอบปัญหาที่เกดสงสัยมานานพอดีเลยว่าทำไมเวลารถสตาร์ทเป็นน้ำมัน แล้วขับไปมันจะมีเสียง ก๊อก ๆ ๆ ๆ และถ้าเราพยายามจะเหยียบเร่งไงก็ไม่ไปยิ่งมีเสียงแรงเลย แต่พอตัดเป็นระบบแก๊ส มันก็หายไปเลยทันที แสดงว่ารถเกดตั้งไฟไว้แก่เพื่อให้ใช้ระบบแก๊สได้ลื่นไหล

ทีนี้เกดก็เลยสงสัยอีกว่า แล้วรถที่ใช้ทั้งน้ำมันและแก๊ส จะต้องตั้งไฟยังไงหละคะ เพราะถ้าตั้งแก่ มันก็ใช้น้ำมันไม่ได้ แล้วตั้งอ่อนก็ใช้แก๊สไม่ได้อีก หรือเราต้องเลือกเอาเลยว่าจะใช้แก๊สหรือน้ำมัน

รบกวน คุณพริ้ง อธิบายข้อสงสัยนี้สักหน่อยนะคะ ไหน ๆ ก็ไหน ๆ และ
ขอบคุณมาก ๆ สำหรับความรู้ที่อุตส่าห์พิมพ์ซะยาวเลย
วันที่: 02 Sep 10 - 13:30

 ความคิดเห็นที่: 5 / 17 : 589030
โดย: Dang_p
เยี่ยมครับ แต่ผมอ่านยังไม่จบครับ ทำงานไปด้วย อ่านไปด้วยรับโทรศัพท์ด้วย ก็เลยยังไม่จบ
แต่ขอถามก่อนแล้วกัน ที่ผมเข้าใจก่อนหน้านี้ ค่าออกเทน ผมนึกว่าเป็นค่าความหน่วง
เวลาในการเผาไหม้ซะอีก เช่น ถ้าออกเทน 91 ก็จะจุดระเบิดที่ตำแหน่ง ลูกสูบเลื่อนขึ้นไปที่ 91%
ของกระบอกสูบ แต่ถ้าเป็นออกเทน 95 ก็จะจุดระเบิดที่ตำแหน่งลูกสูบเลื่อนขึ้นไปทีตำแหน่ง 95%
ของกระบอกสูบ ความแตกต่างระหว่าง น้ำมันที่มีออกเทน 91 กับ 95 ก็คือเวลาจุดระเบิดจะเหลือช่อง
ว่างระหว่างลูกสูบกับฝาสูบต่างกัน น้ำมันที่มีค่าออกเทน 91 จะเหลือระห่างระหว่างลูกสูบกับฝาสูบ
มากกว่า น้ำมันที่มีค่าออกเทน 95 จึงทำให้น้ำมันออกเทน 95 มีแรงกระทำต่อลูกสูบมากกว่าจึงแรง
บิดมากกว่า แต่มาตรฐานการตั้งไฟก็จะตั้งอยู่ที่ประมาณ 10 องศา จากศูนย์ตายบน

ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับเนี๊ย
วันที่: 02 Sep 10 - 14:01

 ความคิดเห็นที่: 6 / 17 : 589102
โดย: va
วันที่: 02 Sep 10 - 20:50

 ความคิดเห็นที่: 7 / 17 : 589122
โดย: 323เก่าๆ
ตาตีเมืองนอกเค้าตั้งกัน 14-15 btdc กันครับ เติม 95 อย่างเดียว

แต่ผมลองตั้งแล้วเฉยๆ เลยกลับมาที่ 10 btdc แบบเดิมเรียบร้อย
วันที่: 02 Sep 10 - 21:53

 ความคิดเห็นที่: 8 / 17 : 589130
โดย: ตาหวาน
พูดถึงการตั้งไฟของเครื่องยนต์ต้องถามก่องว่าเราใช้นำ้มันอ๊อกเทนเท่าไรถ้า91ตั้งไว้ประมาน5-10องศา95ประมาน10-15องศาส่วนแก้สLPG105ตั้งไว้15-25องศาส่วนNGVต้องใส่กล่องเพิ่มองศาเพราะต้องการเกือบ35องศา รถเราถึงจะวิ่งหูหลับตับไหม้ 180แน่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆครับท่าน
วันที่: 02 Sep 10 - 22:25

 ความคิดเห็นที่: 9 / 17 : 589132
โดย: วิตต์

แต่ขอถามก่อนแล้วกัน ที่ผมเข้าใจก่อนหน้านี้ ค่าออกเทน ผมนึกว่าเป็นค่าความหน่วง
เวลาในการเผาไหม้ซะอีก


ค่าออกเทนคือตัวที่บอกว่าน้ำมันตัวไหนติดไฟได้ง่ายกว่าครับ ค่าออกเทนต่ำติดง่าย ออกเทนสูงติดยากกว่า เพราะค่าออกเทนเป็นตัวต้านทานการจุดระเบิด ทำไมต้องมีตัวต้านทานการจุดระเบิด เพราะเมื่อเครื่องยนต์ทำงานจะเกิดความร้อนในห้องเผาไหม้ที่สูงมาก ถ้าไม่มีตัวต้านทานแค่ใส่น้ำมันเข้าไปพร้อมๆอากาศมันก็ร้อนพอที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้โดยไม่ต้องรอไฟจากหัวเทียนแล้วครับ ยิ่งโดนบีบอัดด้วยลูกสูบยิ่งเกิดความร้อน อากาศธรรมดาโดนอัดให้ปริมาตรลดลงจาก8ส่วนเหลือ1ส่วนก็เกิดความร้อนเป็นร้อยๆองศา อย่างเครื่องดีเซลไงครับ อัดอากาศด้วยกำลังอัด18ต่อ1แล้วฉีดน้ำมันเข้าไปไม่ต้องใช้ไฟก็เกิดการเผาไหม้ได้โดยไม่ต้องใช้ไฟจากหัวเทียนเลย ทีนี้ถ้ามันเกิดการเผาไหม้ก่อนหัวเทียนจะจ่ายไฟ ก็ทำให้ครื่องยนต์ไม่มีแรงเกิดการเขกหรือชิงจุดระเบิด ยิ่งรอบสูงๆ ยิ่งเกิดง่าย รถที่เครื่องยนต์สมรรถนะสูงๆเช่นรถแข่งจึงต้องใช้น้ำมันที่ค่าออกเทนสูงไงครับ งงมั้ยเนี่ย พูดเอง งงเอง จบดีกว่า
วันที่: 02 Sep 10 - 22:30

 ความคิดเห็นที่: 10 / 17 : 589157
โดย: cronosbo
สุดยอดครับ น่าจะไปเก็บไว้ article ของเว็ปเลยครับจะได้ไม่ต้องมาหาคนตอบกระทู้เรื่องนี้อีกครับ แต่ก่อนเก็บถ้าได้เรื่องการตั้งไฟ (ไม่ใช่อยู่ไฟนะ) ทั้งจานจ่ายและไดเร็คคอยล์ ก็จะเยี่ยมที่สุดครับ.....
วันที่: 03 Sep 10 - 00:30

 ความคิดเห็นที่: 11 / 17 : 589169
โดย: ชัยฯ
ง่วงแล้วก็ยังอ่านนิ
วันที่: 03 Sep 10 - 01:19

 ความคิดเห็นที่: 12 / 17 : 589171
โดย: ชัยฯ
อ้อ ถามเพิ่มหน่อยครับ ถ้าต้องการรู้ว่าองศาจุดระเบิดตอนนี้อยู่ที่กี่องศาbtdc แล้ว ต้องใช้เครื่องมือ ไอ้เจ้าตัวที่เป็นไฟฉายคีบกับสายหัวเทียบแล้วส่องๆดู(เรียกไม่ถูก)อย่างเดียวเลยรึป่าวครับ หรือมีมาร์คอะไรให้รู้ได้จากตำแหน่งของจานจ่ายเลยว่า 0องศาbtdc มันอยู่ตรงไหน เนื่องจากเปลี่ยนจานจ่ายมาด้วย และผ่านทั้งมือช่างเครื่อง และอู่แก๊สจนไม่รู้ว่าจุดเดิมมันอยู่ตรงไหนแล้ว
วันที่: 03 Sep 10 - 01:26

 ความคิดเห็นที่: 13 / 17 : 589255
โดย: Dang_p
ขอบคุณคุณวิตต์ครับที่ให้ความกระจ่าง ผมก็นึกถึงตอนเป็ยวัยรุ่น
เวลาอยากให้มอไซด์แรง ๆ แต่ก่อนเติมน้ำมันเบนซิล 91 ก็เติม
2T ลงไปซักฝา รถก็จะแรงขึ้นทันได คงจะเป็นเพราะ น้ำมัน 2T
มันไปหน่วงเวลา หรือ ทำให้การเผาไหม้ช้าขึ้นครับ
วันที่: 03 Sep 10 - 11:58

 ความคิดเห็นที่: 14 / 17 : 589391
โดย: 323เก่าๆ
เครื่องมือตั้งไฟที่เป็นไฟแวปๆ เรียกว่าไทม์มิ่งไลท์ครับ

ราคาตัวละพันกว่าบาทที่คลองถม

ใช้เครื่องนี่วัด+ตั้งครับ ส่องไปที่มาร์คตรงหน้าพูลเลย์ก็จะรู้ว่าจุดกันอยู่ที่เท่าไร

ถ้าไม่ซน ไม่ตั้งบ่อยๆ หาอู่ตั้งเอาก็ได้ครับ แต่หาอู่ที่มียากเหมือนกัน ส่วนมากชอบบิดๆ จานจ่าย เบิ้ลเครื่องฟังดูไม่น๊อคก็เก็บตังค์ลูกค้า 2-5 ร้อยแล้ว
วันที่: 03 Sep 10 - 23:11

 ความคิดเห็นที่: 15 / 17 : 589424
โดย: ชัยฯ
ขอบคุณครับ เคยเข้าศูนย์ให้ล้างปีกผีเสื้อให้ แล้วก็ตีซี้กะช่างไปเรื่อยให้เค้าตั้งให้ เค้าก็เอาอิไทม์มิ่งไลท์มาตั้งให้แหละ แต่มันนานมาแล้วก่อนที่ผ่านมือช่างแก๊ส ช่างน้ำมัน และอิช่างซน (ตัวเองนี่แหละ) จนเละเทะซะแล้ว
วันที่: 04 Sep 10 - 03:06

 ความคิดเห็นที่: 16 / 17 : 749612
โดย: PPPP
เข้ามาอ่านครับ ขอบคุณข้อมูลมากๆครับ
วันที่: 06 Nov 12 - 11:33

 ความคิดเห็นที่: 17 / 17 : 749636
โดย: Yut13
คำเตือน ก่อนใช้ Timing light เช็คให้ตรวจดูก่อนว่าพูลเลย์ในที่มีมาร์คอยู่มันรูดหรือไม่เพราะตำแหน่งอ้างอิงจะเปลี่ยน สำหรับของเทียบที่เปลี่ยนจะไม่มีมาร์คตัวนี้ต้องทำขึ้นเอง
วันที่: 06 Nov 12 - 13:40