Close this window

ไขข้อข้องใจ กับเรื่องของไดน์ชาร์ทและแบ็ตเตอรี่ ตัวไหนคือพลังงานหลัก
ในเรื่องการทำงานของแบ็ตเตอรี่และไดน์ชาร์ท( Alternator) ว่าอะไรคือตัวที่จ่ายพลังงานกระแสไฟฟ้าในรถยนต์ทั้งหมดที่แท้จริง ไดน์ชาร์ทหรือแบ็ตเตอรี่ ก็มีหลายๆท่านให้ความเห็นคิดต่าง ตามความเข้าใจของแต่ละท่าน ไม่ขอตอบว่าท่านใดตรงประเด็นและท่านใดไม่ตรงประเด็น แม้ในความคิดของผมเอง ก็พยายามทบทวนความเข้าใจตามตำรา ที่ท่านครูบาอาจารย์ท่านสั่งสอนมา จากท่านผู้ทรงความรู้ และในสื่อด้านวิชาการต่างๆ ก็ยังสับสนกับการทำความเข้าใจที่ท่องแท้ ว่าแท้จริงแล้ว ระหว่างแบ็ตเตอรี่ กับตัวไดน์ชาร์ท ตัวไหนทำการจ่ายพลังงานกระแสไฟฟ้าให้กับโหลดในรถยนต์ทั้งหมด
บางท่านหรือแหล่งที่มาให้ข้อมูลก็มีความคิดต่างกัน บ้างก็บอกว่า ตัวไดน์ชาร์ท(Alternator) เป็นตัวจ่ายกระแสไฟทั้งหมดให้กับรถยนต์ และบอกว่าแบ็ตเตอรี่ เป็นเพียงพลังงานเสริม ยามที่ไดน์ชาร์ทจ่ายไม่ทัน ไม่พอ บางท่านบางแหล่งข้อมูล ก็บอกว่าไดน์ชาร์ทมีไว้สำหรับชาร์ท หรือป้อนประจุไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่ เก็บพลังงานในรูปของกระแสไฟ ให้แบ็ตเต็มไว้เสมอ เมื่อจ่ายออกก็ต้องหามาแทน โดยการชาร์ทให้กระแสไฟเต็มตลอดเวลา เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของโหลดในรถยนต์

เมื่อเป็นดังนี้ ก็อยากจะมาถกปัญหา แชร์ประสบการณ์ทางความคิดและความรู้ มาวิเคราะห์กันว่า ความน่าจะเป็นควรจะเป็นอย่างไร ด้วยเหตุและผล ผิดบ้างถูกบ้างก็อย่าตำหนิ สิ่งไหนที่คิดว่าเป็นความรู้และถูกต้องตามหลักวิชาการ ก็รับเก็บเอาไว้ประดับความรู้ สิ่งไหนที่เห็นว่ามันยังแตกต่างขาดเหตุและผลน้อยไป ก็เก็บเอาไว้เปรียบเทียบกับข้อมูล ที่สามารถจะค้นคว้า ได้จากแหล่งเรียนรู้ ที่สมัยนี้โลกทางด้านวิทยาการ สามารถค้นคว้าได้ง่าย เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส ก็ได้ข้อมูลที่อยากรู้ ความรู้ที่ได้จากตำราและครูบาอาจารย์ หากจะให้รู้แจ้งและเห็นจริง ก็ต้องทดลองและปฏิบัติควบคู่กันไปด้วย จึงจะสมบูรณ์

สำหรับผมแล้วก็ขอเอาความรู้แบบงูๆปลาๆ รูบ้างไม่รู้บ้าง มาออกความคิดเห็นต่าง ในเรื่องนี้บ้าง ว่าความคิดนี้ถูกต้องหรือไม่ และอย่างไร หากผิดพลาดหรือขาดความเข้าใจไปบ้าง ก็ขออภัยมา ณ ที่ด้วย มาเข้าเนื้อหาของเรื่องนี้กันดีกว่า

ไดน์ชาร์ทและแบ็ตเตอรี่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างไรได้บ้าง ตามความรู้และเข้าใจของผม แบบพื้นๆทั่วไป เมื่อกล่าวถึงไดน์ชาร์ท ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า มีไว้สำหรับชาร์ท แบ็ตเตอรี่ ไม่ใช่บอกแบบกำปั้นทุบดิน เพราะหน้าที่ของมันก็คือการสร้างกระแสไฟหรือประจุกระแสไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่ ที่ได้จาการทำงานของสนามแม่เหล็ก ของขดลวดโรเตอร์ ที่เหนี่ยวนำไปยังขดลวดสเตเตอร์ เกิดกระแสไหลในขดลวด ในรูปแบบของกระแสไฟ AC และนำกระแสไฟที่เป็นรูปสัญญาณ AC นี้ ไปทำการเร็คติฟลาย ให้เป็นไฟกระแสไฟตรง DC เพื่อนำไปชาร์ทให้กับแบ็ตเตอรี่

แต่เนื่องจากกระแสไฟที่ได้จากการเร็คติฟลาย ไม่เป็นกระแสไฟตรงแบบกระแสไฟ ที่ได้จาการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนประจุบวก ในทางฟิสิคส์เคมี ในการทำปฏิกริยาระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ ในน้ำกรดกำมะถันเจือจางทางเคมี หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า กระแสไฟที่ได้จากการแปลงพลังงานทางเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ที่ทำให้การเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนประจุบวก เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงตามผิวของตัวนำ

ดังนั้นกระแสไฟที่ได้จากการเร็คติฟลายของ Diode ในไดน์ชาร์ท จึงไม่สามารถเป็นเส้นตรงราบเรียบเช่นกระแสไฟ DC ของแบ็เตอรี่ และยังมีส่วนของกระไฟที่มีลักษณะเป็น Ripple Voltage อันแสดงออกถึงความไม่เป็นเส้นตรงของลักษณะกระแสไฟ DC ที่เป็นคุณสมบัติของกระแสไฟที่ได้จากแบ็ตเตอรี่ และเป็นคุณสมบัติอันไม่พึงประสงค์ ในระบบวงจรไฟฟ้าทางอีเลคโทรนิคส์ เป็นผลที่ทำให้เกิดการรบกวนวงจรอีเลคโทรนิคส์ย่านความถี่ต่ำ เกิดเสียงฮัมในภาคขยายความถี่ต่ำ ของย่าน AF amplifier ของอุปกรณ์เครื่องเสียงวิทยุและเครื่อง Amplifier
ประการที่สำคัญ กระแสไฟที่ได้จากการ Generate ของไดน์ชาร์ท ไม่สามารถที่จะจ่ายพลังงานไฟฟ้าในรูปของกระแส ให้คงที่ได้ตลอดเวลา เมื่อมีการใช้กระแสไฟของรถยนต์มาก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการหมุนของทุ่นโรเตอรให้มีรอบความเร็วเพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มความเร็วรอบของเครื่องยนต์ไปหมุนไดชาร์ท เพิ่อให้ทุ่นโรเตอร์หมุนด้วยความเร็วที่สูงขึ้น ทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กหรือสนามแม่เหล็ก เพิ่มขึ้นและเสริมทับกันมากๆ ยิ่งโรเตตอร์หมุนเร็วการเกิดเส้นแรงสนามมากขึ้น เมื่อสนามแม่เหล็กนี้ไปตัดกับขดลวดสเตเตอร์ ทำให้มีกระแสที่ไหลในเส้นลวดมากขึ้นตาม

เมื่อเป็นดังนี้ หากเราใช้รถที่ความเร็วต่ำ หรืออยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา มีการใช้กระแสไฟมาก เช่นในเวลากลางคืนหรือกลางวัน เปิดแอร์ เปิดไฟหน้ารถ เปิดเครื่องเสียง ในจังหวะที่รถอยู่ในรอบเดินเบา มีการใช้กระแสไฟมาก ที่ตัวไดน์ชาร์ทจะไม่สามารถผลิตกระแสไฟออกมาจ่ายให้กับโหลดที่ใช้กระแสไฟในขณะนั้น ไดน์ชาร์ทจะผลิตกระแสได้ประมาณ 6-10 Amp เมื่อรอบเครื่องยนต์อยู่ในจังหวะรอบเดินเบา มันจึงมีกระแสไฟไม่พอจ่าย จึงเป็นภาระหน้าที่ ของแบ็ตเตอรี่ที่จะต้องจ่ายกระแสไฟไปแทนจากแบ็ตเตอรี่ (ความเข้าใจที่ผมคิดว่าผิด)

ในความเป็นจริงแล้วเรื่องของกระแสไฟฟ้า ที่เก็บพลังงานไฟฟ้าในรูปของกระแสไฟ เช่นแบ็ตเตอรี่ หากมีการเก็บพลังงานในรูปของกระแสยิ่งมาก ยิ่งมีแรงดันของกระแสมากขึ้นตาม และถ้าหากมีการใช้กระแสไฟฟ้าไปจ่ายให้กับโหลด มันจะดึงกระแสจากแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้าที่มีแรงดันของกระแสที่สูงกว่าไปใช้ มากกว่าที่มันจะไม่ดึงกระแสไฟจากตัวไดน์ชาร์ทไปใช้งานโดยตรง เพราะค่าแรงดันของกระแสไฟจากไดน์ชาร์ท มีน้อยแค่ 6-10 Amp เท่านั้น เมื่อเทียบกับกระแสไฟที่ถูกชาร์ทเก็บไว้ในหม้อแบ็ต 45-100 Amp

ในเรื่องตรงจุดนี้ ที่ใช้สนับสนุนว่า กระแสไฟจากไดน์ชาร์ท ถูกนำไปใช้น้อย กว่ากระแสที่มาจากแบ็ตเตอรี่ ก็คือให้เราหาแอมป์มิเตอร์ มาต่ออันดับระหว่างขั่ว B+ ของไดน์ชาร์ท กับขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่(แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1) เพื่อเอาไว้อ่านค่ากระแสไฟชาร์ทในรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ และก็ให้เอาแอมป์มิเตอร์ อีกตัวหนึ่ง มาต่ออันดับกับขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่กับสายไฟทั้งหมดที่ต่อเข้าขั่วบวกกับแบ็ตเตอรี่( แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 2) ที่เราเอาออกมาต่ออันดับกับแอมป์มิเตอร์ (แอมป์มิเตอร์ต้อง สามารถวัดกระแสได้อย่างน้อย 30 Amp )

จากนั้นให้ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ให้อยู่ในจังหวะรอบเดินเบา ให้ดูที่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 ว่ามีกระแสไหลผ่านกี่แอมป์ สมุติว่าอ่านได้ 10 แอมป์ ทีนี้ก็มาดูแอมป์มิเตอร์ ตัวที่ 2 ว่าขณะนี้อ่านได้กี่แอมป์ แล้วลองเปิดแอร์ เปิดอุปกรณ์ที่ใช่ไฟทั้งหมดในรถ ในระหว่างที่เปิดไฟในรถทีละจุดให้สังเกตที่แอมป์มิเตอร์ ตัวที่ 1 มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะพบว่าไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง แต่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 2 จะมีกระแสเพิ่มขึ้น สมมุติว่าเปิดไฟใช้กระแสทั้งหมดอ่านได้เท่ากับ 20 Amp ช่วงนี้เราจะไม่ค่อยเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 เพราะกระแสไฟส่วนมากออกจากแบ็ตเตอรี่

ทำอย่างไรที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่ต่อจาก B+ ของไดน์ชาร์ท ไปที่ขั่วบวกแบ็ต ของแอมป์มิเตอร์ตัวที่ 1 ก็ต้องรอให้การใช้กระแสไฟจากแบ็ตจนเกือบจะถึงหรือต่ำกว่า 30 Amp ที่นี้เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงของกระแสจากไดน์ชาร์ทลดลง เพราะมีการจ่ายกระแสไปยังโหลดของระบบไฟทั้งหมด กระแสไฟที่มีการเอาออกไปใช้งาน หากมีการใช้งานในขณะนั้น เป็นครึ่งหนึ่งหรือ 50% ของกระแสไฟทั้งหมดในตัวแบ็ตเตอรี่ จะพบว่ามีแรงเคลื่อนโวลเต็จเริ่มลดลง
เมื่อแบ็ตเตอรี่มีโวลเต็จลดลง ทำให้ไฟโวลเต็จที่ต่อไปใช้ที่ตัวไดน์ชาร์ท ที่ขดลวดโรเตอร์ ลดลงไปด้วย
การเกิดสนามแม่เหล็กที่ไปตัดกับขดลวดสเตเตอร์ ก็ต่ำลง กระแสไฟที่ได้จากขดลวดสเตเตอร์ก็ลดลง ประกอบกับโหลดมีการใช้กระแสมาก ในขณะที่กระแสในตัวแบ็ตเริ่มลดลงจนมีผลกับการใช้กระแสขณะนั้น โหลดจึงดึงกระแสจากไดน์ชาร์ทมากขึ้น ในสภาวะเช่นนี้ในทางปฏิบัติ เราคงไม่สตาร์ทเครื่องยนต์จอดรถเปิดแอร์ไว้นานๆ ปกติทั่วไปก็ขับรถสลับกับความเร็วที่สูงและต่ำกันไป โดยมากรอบเครื่องยนต์จะอยู่ที่สองพันกว่ารอบขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ไดน์ผลิตกระแสไฟออกมามาก 20-30 Amp มันก็จะชาร์ทประจุไฟบวกให้กับแบ็ตเตอรี่จนเต็มในระยะเวลาอันสั้น เมื่อเต็มแล้ว ไดนชาร์ทมันก็จะหยุดผลิตกระแสไฟออกมา โดยวงจรเร็คกูเรเตอร์ ที่มีวงจร reference current หรือ voltage คอนโทรลตัดต่อการจ่ายไฟเข้าขดโรเตอร์ของไดน์ชาร์ท เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก จนกว่าการใช้กระแสไฟจากแบ็ตเตอรี่จะลดลงมา ณ. จุดๆหนึ่งตามที่เขาออกแบบกำหนดไว้ในวงจรเร็คกูเรเตอร์ ว่ากระแสจากแบ็ตลงมากี่เปอร์เซ็นต์ แล้วจะทำให้ระบบคอนโทรลของวงจร ทำการจ่ายไฟให้กับขดลวดโรเตอร์ เริ่มสร้างสนามแม่เหล็ก ให้กับขดลวดสเตอร์ผลิตกระแสไฟออกมาชาร์ทให้กับแบ็ตเตอรี่ทำการชาร์ทไฟให้กับแบ็ตเตอรี่ต่อ

ถามว่า ในระหว่างที่ไดน์ชาร์ทหยุดการทำงานนี้ กระแสไฟที่จ่ายไปให้กับระบบไฟในรถยนต์ทั้งหมดมาจากไหน หากไม่ใช่จากแบ็ตแล้วจะเอาจากไหน ดังนั้นการที่มีผู้ทรงความรู้บอกว่า ไดน์ชาร์ท เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักให้กับระบบไฟในรถทั้งหมด มันดูจะขัดกับหลักการที่ผมกล่าวมาทั้งหมด การที่บอกว่าไดน์เป็นตัวจ่ายพลังงานหลักให้กับระบบไฟในรถยนต์ และแบ็ตเตอรี่เป็นเพียงแหล่งพลังงานเสริมช่วยในสภาวะไดน์ผลิตกระแสไม่พอ

คำว่าพลังงานหลัก มันจะต้องจ่ายไฟได้เต็มตามสภาวะของโหลดได้เพียงพอและตลอดเวลา ไม่ใช่มีการเปลี่ยนแปลง พลังงานของกระแส ที่มีตัวแปรเรื่องรอบของเครื่องยนต์ และประการสำคัญ ไดน์ชาร์ท หากไม่มีไฟจากแบ็ตเตอรี่จ่ายให้ขดโรเตอร์ก่อน ไดน์ชาร์ทก็ไม่สามารถทำงานได้ และอะไรคือพลังงานตัวจริงและเป็นพลังงานหลัก

ในระหว่างที่ไดน์ชาร์ทหยุดทำงานจ่ายกระแสไฟ เนื่องจากกระแสไฟในแบ็ตเตอรี่เต็ม เพื่อป้องการ โอเวอร์ชาร์ท ที่สร้างความเสียหายให้กับแผ่นธาตุในโครงสร้างของแบ็ตเตอรี่ ในทางเคมี และการเกิดความร้อนในตัวแบ็ตเตอรี่ อันเป็นเหตุทำให้แบ็ตเตอรี่มีอายุการใช้งานสั้นลง

ถามว่า ในระหว่างที่ไดน์ชาร์ทหยุดทำงาน อะไรคือแหล่งจ่ายพลังงานหลัก
ถามว่า การที่จะเกิดสนามแม่เหล็กเสริมมากขึ้น เพื่อสร้างกระแสไฟที่มากเพื่อจ่าย ให้กับโหลดและชาร์ทให้แบ็ตเตอรี่ ยังคงต้องอาศัยเรื่องรอบเครื่องยนต์เป็นหลัก จะถือว่า เป็นพลังงานหลักได้ไหม?
ถามว่า หากกระแสไฟที่จ่ายให้กับวงจรไฟฟ้าในรถยนต์ ที่ต้องการไฟ DC กระแสตรง ที่ได้จาก พลังงานเคมี แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการเคลื่อนที่ของอีเล็คตรอนบวก ในแนวเส้นตรงของกระแส กับกระแสไฟที่ได้จากการ เร็คติไฟน์ของวงจรไดโอด ในตัวไดน์ชาร์ท ที่มีกระแสไฟไม่เรียบ เหมือนกระแสไฟ DC มันขัดกับคุณสมบัติ ที่วงจรไฟฟ้าอีเลคโทรนิคส์ ต้องการไฟ DC กระแสตรง

ถามว่า ถ้าหากไดน์ชาร์ทมีไว้เป็นพลังงานหลัก ทำไมนักออกแบบดีไซน์ จึงไม่พัฒนา เพิ่มหรือออกแบบวงจรฟิลเตอร์ ให้กระแสไฟออกมาเรียบได้ใกล้เคียงกับกระแสไฟ DC ของแบ็ตเตอรี่ …..มันต้องมีเหตุผลและหนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือต้องการพัลส์ของกระแสไฟที่ไม่เป็นเส้นตรงนี้ หรือกระแสไฟที่มี Ripple current ไปกระตุ้นเซลของตะกั่วซันเฟต ที่เป็นตะกอนสีขาวจับอยู่ที่แผ่นตะกั่วอ๊อกไซด์ขั่วบวกและลบของแบ็ตให้หลุดออกมาละลายกับน้ำ เกิดเป็นกรดกำมะถันจือจาง เพื่อให้เกิดขบวนการทางเคมี ในการประจุกระแสไฟได้ง่าย

เรื่องพัลส์ของกระแสไฟที่มีผลต่อการทำปฏิกิริยาทางเคมี เคยมีผู้สร้างจรอีเลคโทรนิคส์ ที่มีการสร้างสัญญาณพัลส์ ไปกระตุ้นเซลตะกั่วซันเฟต ที่จับอยู่ที่แผ่นธาตุตะกั่วอ๊อกไซด์แผ่นตะกั่วขั่วลบ ให้หลุดออกมาทำปฏิกิริยากับน้ำ เป็นกรดกำมะถันเจือจาง ในแบ็ตเตอรี่ที่ทิ้งไว้นานๆโดยไม่ได้ชาร์ท และเสื่อม ให้กลับมาใช้งานได้ต่อไป มันก็เป็นเครื่องยืนยันนั่งยันได้ส่วนหนึ่ง ที่ไดน์ชาร์ท ควรจะทำหน้าที่ชาร์ทประจุให้กับแบ็ตเตอรี่เท่านั้น ในความคิดผม และอยากจะเห็นความคิดต่างมุมจากเพื่อนๆสมาชิกหรือท่านที่ทรงความรู้ ช่วยชี้แนะว่าที่แท้ควรจะเป็นอย่างไร ผมเองก็มีความเข้าใจบ้างแบบงูๆปลาๆ (แถมเป็ดไก่ให้ด้วยก็ได้) อาจจะไม่ทราบในสิ่งที่ถูกต้อง แต่ก็ขอบอกและเป็นความคิดของผมว่า ไดน์ชาร์ทและแบ็ตเตอรี่ ก็คือองค์ประกอบที่ทำงานร่วมกัน ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ครับ.......srithanon
โดย: srithanon   วันที่: 11 Jul 2012 - 14:58


 ความคิดเห็นที่: 1 / 20 : 724457
โดย: *ทวีรัฐ
เนื้อๆตามหลักเป๊ะ
วันที่: 11 Jul 12 - 15:46

 ความคิดเห็นที่: 2 / 20 : 724470
โดย: melodic DM
วันที่: 11 Jul 12 - 16:24

 ความคิดเห็นที่: 3 / 20 : 724477
โดย: NAIprotege
สตาร์ทรถติดแล้ว ยกแบตเตอรี่ออกเครื่องยังติดอยู่ แต่ก็มีโอกาสเบาดับได้ ผมเข้าใจถูกไหมครับ
วันที่: 11 Jul 12 - 16:44

 ความคิดเห็นที่: 4 / 20 : 724478
โดย: Fujiwara Takumi
ใช้แล้วครับท่าน ไดชาร์ทและแบ็ตเตอรี่ ก็คือองค์ประกอบที่ทำงานร่วมกัน ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ครับถูกต้องแล้วครับ
ปั๊มน้ำ =ไดชาร์จ ถังน้ำสำรอง = แบตเตอรี่
เมื่อเราใช้น้ำก็ใช้มาจากถังน้ำสำรองเท่านั้นครับ ก็คือต้องผ่านแบตเตอร์รี่ หรือเหมือนโทรศัพท์เมื่อแบตฯหมดเราเสียบปลั๊ก=ไดชาร์ท เปิดเครื่องต้องใช้ไฟฟ้าต้องผ่านแบตฯเท่านั้น แต่ไม่มีไฟก็ยังต่อได้เพราะไฟมาจากปลั๊กหรือไดฯนั้นเอง ฉะนั้นถ้ามองมุมเครื่องยนต์มันใช้ไฟจากแบตฯ ถ้ามองอีกมุมมองไฟหลักก็ต้องมาจากปลั๊กคือไดฯ ที่ต้องใช้ไฟผ่านแบตฯครับ อันนี้แบบบ้าน ๆ ครับเข้าใจง่ายดี

แต่.....แบบหลักการ ไดชาร์จ ( Alternator )
หน้าที่ของไดชาร์จ คนส่วนใหญ่คิดว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในรถยนต์ทั้งหมดใช้ไฟจากแบตเตอรี่ไม่ว่าจะติดเครื่องยนต์ หรือไม่ได้ติดเครื่องยนต์ แล้วไดชาร์จมีหน้าที่เติมไฟ หรือชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ ซึ่งความเข้าใจแบบนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิดนะครับ อิอิ ที่ถูกต้องคือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ทั้งหมดจะใช้ไฟจากไดชาร์จ ไดชาร์จไม่ได้มีหน้าที่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่โดยตรง แต่ที่ไดชาร์จสามารถชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ได้เพราะว่า แรงดันไฟที่ไดชาร์จผลิตออกมาได้นั้นมีค่าสูงกว่าแรงดันไฟที่แบตเตอรี่มี จึงทำให้เกิดการไหลของกระแสไฟศักย์สูงไปยังกระแสไฟศักย์ต่ำ และสาเหตุที่ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดแบบนั้นก็เพราะว่าเราคนไทยเรียกมันว่า "ไดชาร์จ" ซึ่งจริงๆ แล้วชื่อของไดชาร์จคือ "อัลเทอร์เนเตอร์" นะครับ ซึ่งแปลว่า เครื่องปั่นไฟ โดยปกติที่รอบเดินเบาของเครื่องยนต์แรงดันไดชาร์จขณะเปิดโหลดจะอยู่ที่ 13.9V – 14.5V โหลดในที่นี้จะมีอยู่ 2 อย่าง คือ แอร์ และ ไฟหน้า เพราะฉะนั้นในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในรถยนต์จะใช้ไฟจากไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เพียงอย่างเดียว ไม่ได้ใช้ไฟจากแบตเตอรี่รถยนต์อย่างที่เคยเข้าใจกันมา สังเกตได้จากรถรุ่นเก่าๆ สมัยก่อน เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้วสามารถถอดแบตเตอรี่ออกได้ครับ

สาเหตุที่รถดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ขณะเครื่องยนต์ทำงานแล้วมีอยู่ 2 กรณีครับคือ
1. มีการเพิ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าไปภายในรถมากเกินกว่ากำลังไฟที่ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) จะสามารถผลิตได้ เช่น ติดตั้งเครื่องเสียงเพิ่ม, ติดชุดไฟเพิ่มโดยปกติรถแต่ละรุ่นจะมีความต้องการไฟฟ้า หรือมีเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เท่ากัน(คิดที่กรณีรถใหม่ออกจากโรงงาน) ซึ่งทางผู้ผลิตรถแต่ละรุ่นจะเลือกขนาดของไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) มาให้เหมาะสมกับความต้องการไฟของรถแต่ละรุ่น แต่เมื่อมีการเพิ่มขึ้นของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ติดตั้งชุดเครื่องเสียงเพิ่ม, ติดตั้งชุดไฟเพิ่ม ส่งผลทำให้ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้พอกับความต้องการ ทำให้ต้องมีการดึงไฟจากแบตเตอรี่มาใช้ และหากเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง
2. ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เริ่มเสื่อม หรือไดอ่อน ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เสื่อม แต่ยังไม่เสียมันเลยไม่มีไฟแจ้งเตือนที่หน้าปัดรถยนต์ แต่สามารถตรวจสอบได้ แรงดันไฟที่ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) รถยนต์สามารถสร้างขึ้นได้จะอยู่ที่ประมาณ 13.9V – 14.5V แต่จะมีบางกรณีที่ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ไม่สามารถสร้างแรงดันไฟได้ถึง 13.9V – 14.5V เราเรียกกรณีนี้ว่าอาการ "ไดชาร์จอ่อน" ซึ่งเวลาตรวจสอบว่ารถมีอาการไดชาร์จอ่อนก็คือ สตาร์ทเครื่องแล้วเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลัก คือ แอร์ และไฟหน้าค้างไว้ เอาดิจิตอลมิเตอร์ปรับเป็น DC โวลต์ วัดคร่อมระหว่างขั้วบวก และขั้วลบของแบตเตอรี่ค่าแรงดันไฟจากไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ที่ได้ควรอยู่ระหว่าง 13.9V – 14.5V ถ้าต่ำกว่านี้แสดงว่าประสิทธิภาพการผลิตไฟของไดชาร์จ(อัลเทอร์เน-เตอร์) เริ่มลดลง และถ้าแรงดันไฟจากไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ต่ำกว่า 13.5V แสดงว่ามีอาการไดชาร์จอ่อนจะส่งผลให้ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้เพียงพอต่อความต้องการของเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในรถ ทำให้ต้องมีการดึงไฟจากแบตเตอรี่ไปใช้ส่งผลให้แบตเตอรี่อยู่ในสภาวะคายไฟ สาเหตุนี้เป็นสาเหตุใหญ่และสาเหตุหลักที่ทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าปกตินั่นเอง
การตรวจสอบไดชาร์จวัดด้วยโวลล์มิเตอร์และต้องเปิดแอร์ขณะวัดทำไม.....
เพราะว่าแอร์รถยนต์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่กินไฟฟ้ามากที่สุดในรถ ดังนั้นการจะตรวจสอบประสิทธิภาพของไดชาร์จ จึงต้องวัดขณะที่ไดชาร์จมีภาระที่ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในรถ หากเปิดแอร์แล้วไดชาร์จประสิทธิ ภาพไม่ดี แรงดันไฟฟ้า ก็จะตกลง (ณ.ระดับ 13.5V ถือว่าค่อนข้างต่ำแล้ว) หากไดชาร์จมีประสิทธิภาพดี (แข็งแรง) จะรักษาแรงดันไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 13.8V ระดับ 13.5V ถือเป็นระดับต่ำสุดที่ยอมรับได้ (และถ้าเมื่อเปิดไฟหน้าแล้ว ต่ำกว่า 13.5V ก็ให้ระวังช่วงขับรถตอนกลางคืนไว้ และถ้าไดชาร์จเรามีประสิทธิภาพต่ำ แล้วแบตเตอรี่ ก็จะไม่ได้รับการชาร์จที่ดีพอ ดังนั้น หากต้องการให้แบตเตอรี่ มีอายุยืนยาว ก็อาจจะใช้เครื่องชาร์จเล็ก ๆ ชาร์จแบตฯ ช่วงวันหยุด ที่เราไม่ได้ใช้รถ เพื่อเป็นการบำรุงรักษาแบตเตอรี่
แบตเตอรี่คือ
ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานหลักในกรณีที่เครื่องยนต์ไม่ได้ทำงาน เป็นแหล่งจ่ายพลังงานสำรองในกรณีที่เครื่องยนต์ทำงานแล้ว การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ขณะเครื่องยนต์ไม่ได้ทำงานเป็นการทำร้ายแบตเตอรี่อย่างหนึ่ง เพราะโดยปกติเมื่อเครื่องยนต์ทำงานแล้วเครื่องใช้ไฟฟ้าในรถยนต์ทั้งหมดจะใช้ไฟจากไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เท่านั้น แต่ถ้าประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์)ลดลง รถยนต์จะใช้ไฟจากแบตเตอรี่แทนเพราะไดชาร์จไม่สามารถผลิตกระแสไฟได้พอ เพราะฉะนั้นแบตเตอรี่จะมีอายุสั้น หรือยาว จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) ด้วย
ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่มีขายในประเทศไทยมีอยู่ 3 ประเภท

1.แบตเตอรี่ชนิดน้ำ คือ แบตเตอรี่ที่ต้องมีการเติมน้ำกลั่นบ่อยๆ เนื่องจากมีการระเหยตัวของน้ำกลั่นในแบตเตอรี่สูง แบตเตอรี่ชนิดน้ำต้องการ การบำรุงรักษาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์
2.แบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อย(Low maintenance) คือ แบตเตอรี่ที่ยังต้องมีการเติมน้ำกลั่นแต่ไม่บ่อยเท่ากับ "แบตเตอรี่ชนิดน้ำ" เพราะแบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อยมีการระเหยตัวของน้ำกลั่นในแบตเตอรี่ต่ำจึงไม่ต้องบำรุงรักษาบ่อย แบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อยต้องการ การบำรุงรักษาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 3 เดือน
3.แบตเตอรี่ชนิดไม่ต้องบำรุงรักษา(Maintenance free) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจผิดว่ามันคือ"แบตแห้ง" จริงๆแบตเตอรี่ชนิดนี้ยังไม่ใช่แบตแห้งอย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน แต่ที่คนเข้าใจผิดกันก็เพราะว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้ไม่มีรูให้เติมน้ำกลั่น เป็นแบตเตอรี่ที่ปิดสนิท คนเลยเข้าใจกันว่าแบตเตอรี่ชนิดนี้เป็นแบตเตอรี่แห้ง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะแบตเตอรี่ชนิดบำรุงรักษาน้อยมีการระเหยของน้ำกลั่นที่ต่ำมาก ทำให้ตลอดอายุการใช้งานจึงไม่ต้องมีการเติมน้ำกลั่น หมดปัญหาเรื่องการบำรุงรักษา และปัญหาน้ำกรดในแบตเตอรี่ล้นออกมากัดสี และตัวถังรถยนต์ เนื่องจากเติมน้ำกลั่นมากเกิน

จากรูปเป็นวงจรพื้นฐานของระบบไฟฟ้าในรถยนต์ เมื่อเปิดสวิทช์กุญแจรถยนต์ แบตเตอรี่จะถูกดึงกระแสไฟฟ้าประมาณ 8 - 9A ไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสตาร์ทเครื่องยนต์ และเมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ไดชาร์จ(อัลเทอร์เนเตอร์) เริ่มมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อไปเลี้ยงอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในรถยนต์แทนแบตเตอรี่ และไดชาร์จปกติจะมีแรงดันอยู่ประมาณ 13.9V – 14.5V และต่ำสุดไม่ควรต่ำกว่า 13.5V เพราะถ้าแรงดันไดชาร์จต่ำกว่า 13.5V จะทำให้แบตเตอรี่ถไม่ได้ถูกเติมไฟเข้า หรือมีไฟเติมเข้าแบตเตอรี่น้อยมาก จนทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลงครับ

การเปลี่ยนแบตฯ
ปัจจุบัน มีความเข้าใจอย่างผิด ๆ ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ ในรถยนต์ (รุ่นใหม่ ๆ) ที่มีการติดตั้งเซ็นเซอร์ ไว้อย่างมาก (รถยนต์ที่ใช้กล่องควบคุม ECU ) ว่าการเปลี่ยนแบตเตอรี่ จะต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ ไว้ แล้ว ค่อยเปลี่ยนแบตเตอรี่ จะทำให้หน่วยความจำต่าง ๆ คงอยู่ และ ไม่ถูกลบ ซึ่งก็ถูกต้องครับ แต่ถูกแค่ครี่งเดียวครับ (ถูกต้องที่หน่วยความจำต่าง ๆ จะไม่ถูกลบ ครับ แต่ ผิดตรงที่ไม่ปลอดภัย ครับ และ หากเกิดความผิดพลาด ที่ช่างผู้ปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุ่นแรงกับกล่อง ECU และ อาจเกิดอุตบัติเหตุที่ไม่คาดฝันได้ ครับ

แต่การเปลี่ยนแบตเตอรี่ โดยไม่มีการสำรองไฟฟ้า ให้รถยนต์ ก็จะทำให้รถรุ่นใหม่ เกิดความผิดปรกติบางอย่าง (ไม่ถึงกับทำให้กล่อง ECU เสียหายครับ เพียงแต่ ECU จะทำงานรวน และ ต้องการให้เรานำรถยนต์เข้าไป Reset ค่า มาตรฐานใหม่ ในศูนย์บริการ และ อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น วิทยุ และ กระจกไฟฟ้า ก็ต้องการการ Reset ใหม่ด้วยเช่นกัน ครับผม

ดังนั้นจึงจำแป็นครับ ที่ช่างสมัยใหม่ จะต้องสำรองไฟฟ้าให้กับรถยนต์ โดยการเลี้ยงไฟฟ้าผ่านทางช่องชาร์จไฟในรถยนต์ โดย จะต้อง เสียบเครื่องสำรองไฟฟ้าเข้ากับช่องดังกล่าว แล้ว เปิดสวิทช์กุญแจรถยนต์ไปที่ ตำแหน่ง On หรือ บางคัน อาจจะต้องไปที่ตำแหน่ง Acc . (ซึ่งเราทดสอบได้โดยการเปิดวิทยุ หากเปิดกุญแจไปต่ำแหน่ง On แล้ววิทยุทำงานได้ก็ OK แล้วครับ (ที่เราเสียบเครื่องสำรองไว้กับช่องชาร์จไฟ ในรถ ก็เพราะช่องดังกล่าวจะมีฟิวส์ ป้องกันไฟเกินเอาไว้ ครับ ทำให้หากเกิดความผิดพลาด ก็จะช่วยลดความเสียหายได้ครับ อิอิ
วันที่: 11 Jul 12 - 16:47

 ความคิดเห็นที่: 5 / 20 : 724484
โดย: กี้
วันที่: 11 Jul 12 - 17:20

 ความคิดเห็นที่: 6 / 20 : 724507
โดย: Pe323
มีความรู้เพิ่มเติมแล้ว

ขอบคุณครับ
วันที่: 11 Jul 12 - 18:54

 ความคิดเห็นที่: 7 / 20 : 724575
โดย: Fujiwara Takumi
เกร็ดนิด
ไดชาร์ทที่เรียกกันติดปากมาจากคำว่า Dynamo ในสมัยก่อนรถสมัยก่อนจะใช้ไดนาโมผลิตไฟกระแสตรง DC ( สมัยก่อนผลิตออกมาเป็น กระแส DC นะครับ ) แต่ข้อเสียก็คือกำลังไฟฟ้าที่ผลิตกับขนาดมันเป็นอัตตราส่วนน้อยมาก ถ้าจะให้ไฟให้เท่าหรือเหมือนกันไดชาร์ทสมัยใหม่ต้องใช้ขนาดตัวเท่าหมอนใบหนึ่งเลยทีเดียวครับ ความแน่นอนของแรงดันก็คุมได้ยาก หน้าสัมผัสของ Commutator ก็มีปัญหาบ่อยๆ ทำให้ระบบ DC ค่อยๆหายไปและมีระบบ AC เข้ามาแทนที่ ซึ้งก็คือเหตุผลนี้นะครับตัวเท่ากันแต่ได้ไฟต่างกัน

สมัยใหม่ เป็นระบบ AC ใช้ Alternator แทน Dynamo ในการผลิตไฟฟ้า แต่กระแสไฟฟ้าที่ออกมาเป็นกระแสสลับ ต้องมีชุดแปลงไฟจาก AC เป็น DC ที่เรียกว่า Regulator มาช่วย สมัยก่อนจะใช้แบบ Celenium ชาร์ทเข้าแบตเตอรี่ยากพอสมควร บางครั้งต้องเปิดไฟหน้าล่อให้ไฟออกมาถึงจะยอมชาร์ทเข้าแบต ใครที่ใช้รถสมัยก่อนเมื่อสามสี่สิบปีก่อนจะรู้จักการล่อไฟเป็นอย่างดี แต่ตอนนี้ใช้ Diode ทำให้เรื่องยากเป็นเรื่องง่ายไป ระบบสมัยแรกๆจะต้องมีรีเลย์ชาร์ทที่เรียกว่าคัทเอาท์มาต่อพ่วงด้วยเพื่อควบคุมแรงดันและปริมาณการชาร์ท ถ้ารีเลย์รวนก็ชาร์ทมากไปน้อยไป ไฟหมดหม้อหรือไฟมากจนน้ำกลั่นเดือดก็พบเห็นกันทุกคันเลนนะครับ ( ย้อนนิด มีคนเคยโพสต์ว่าไดชาร์จตัด "โดยยังหมุนอยู่แต่ตัด ระบบการประจุไฟฟ้า" ด้วยคัตเอาต์แบบในหรือนอกตัว จนเมื่อ ๆ ใดที่ปั๊มไม่ทันหรือมีการใช้น้ำมากกว่าการปั๊ม ก็จะดึงน้ำจากถังสำรองมาใช้นะครับ ไดชาจ์ทไม่ได้หยุดทำงานเหมือนที่ท่านเข้าใจนะครับ อิอิ
)ต่อ ๆ มาถึงสมัยใหม่เป็น Electronic Regulator หมดแล้วไม่มี Relay มาวุ่นวาย ต่อสายไฟสามเส้นก็เสร็จ ทำให้การใช้งานง่ายขึ้น การชาร์ทก็แน่นอนไม่มากเกินไม่น้อนเกิน อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ยาวนานกว่าแต่ก่อนนี้มากเพราะอย่างที่กล่าวไว้ข้างบนนะครับ
ฉะนั้นหน้าที่หลักของมันคือสร้างกระแสไฟฟ้าให้รถ ตอนที่เครื่องยนต์ทำงาน หน้าที่รองก็นะตามนั้นแต่เมื่อไดชาจ์ทเจ๊ง มันจะไปดึงไฟมาจากแบตฯทั้งหมด ถ้าไดชาจ์ทเสียท่านจะเปลี่ยนแบต กี่ร้อยลูก ยังไงก็ไม่รอดครับเคลียร์นะครับ ว่าหลักหรือรอง อิอิ
วันที่: 11 Jul 12 - 21:48

 ความคิดเห็นที่: 8 / 20 : 724577
โดย: srithanon
ตอบคุณ NAlprotege เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ ในรอบเดินเบา แล้วยกแบ็ตเตอรี่ออก แล้วเครื่องยนต์ยังทำงานต่อไปได้ แต่อาจจะดับได้หากรอบเครื่องยนต์ต่ำ ก็ถูกต้องส่วนหนึ่ง
เนื่องจาก การทำงานของไดน์ชาร์จ( ขอใช้ภาษาชาวบ้าน) ยังต้องอาศัยไฟจากแบ็ตเตอรี่ จ่ายไฟให้กับขดลวดโรเตอร์ ที่สร้างสนามแม่เหล็ก ไปทำให้ขดลวดสเตเตอร์มีกระแสไฟไหลในเส้นลวด ....หากเอาแบ็ตเตอรี่ออก เท่ากับว่าไม่มีไฟจ่ายให้กับขดลวดโรเตอร์

แต่เนื่องจากกiะแสไฟบวก ที่ออกจากไดน์ชาร์จไปต่อร่วมกับวงจรไฟฟ้าของระบบรถยนต์ ที่ขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่ เมื่อเวลาเราเอาแบ็ตเตอรี่ออก เท่ากับว่ายังมีไฟจ่ายให้กับขดลวดโรเตอร์ไปด้วย
แต่เมื่อใดก็ตามที่รอบเครื่องยนต์ต่ำ ทำให้การผลิตกระแสไฟบวก ที่จ่ายไปที่สายไฟขั่วบวกของแบ็ตเตอรี่ที่ดึงออก มีโวลแลพกระแสลดลง ทำให้แรงเคลื่อนโวลเต็จและกระแสที่จ่ายกลับไปให้ ขดลวดโรเตอร์ ลดลง การเกิดกระแสที่ออกมาจาก Output ( ขั่ว B+ ของไดน์ชาร์จ) ก็ลดลง หรืออาจจะไม่มีกระแสไฟออกมาเลย ทำให้เครื่องยนต์ดับ
ในวงจรไฟฟ้า เรื่องพลังงานที่จ่ายทางด้าน Input ของอุปกรณ์เครื่องกลที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล แสง และพลังงานความร้อน หากทางด้าน Input มีกระแสไฟหรือแหล่งพลังงาน หากมีไม่พอกับการใช้กระแส ที่นำไปเปลี่ยนเป็นพลัลงาน ย่อมทำให้ อุปกรณ์ที่สร้างพลังงานนั้นๆ ไม่ทำงาน หรือทำงานไม่เต็มกำลัง เพราะพลังงานต้นทาง คือ Input มีไม่พอ

ในทำนองเดียวกันกับ ไดน์ชาร์จ หลังจากเอาแบ็ตเตอรี่ออก มันก็ไม่มีพลังงานสำรองจ่ายหรือจ่ายให้กับขอลวดโรเตอร์ สร้างสนามแม่เหล็ก จะอาศัยไฟบวกจากไดน์ชาร์จ ไม่ได้ ที่มันได้ เพราะการทำงาน
ของมันยังมีกระแสไฟบวกจากไดน์ชาร์จไฟป้อนให้ต่อเนื่อง ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน แต่พอเครื่องยนต์มีรอบต่ำ ทำให้การผลิตกระแสไฟจากไดน์ชาร์จลดลง ทำให้ไฟต้นทางคือ ไฟที่จ่ายให้ขดลวดโรเตอร์ ไม่มีกระแสไฟ ไดน์ชาร์จก็ไม่ทำงาน
ปกติแล้วจะต้องอาศัยไฟจากแบ็ตเตอรี่เป็นตัวจ่ายกระแสไฟให้ขดลวดโรเตอร์ตลอดเวลา
หากสมมุติว่า ดึงเอาแบ็ตเตอรี่ออกแล้ว ยังมีไฟจากไดน์ชาร์จจ่ายได้ตลอด ป่านนี้ระบบไฟฟ้า ที่ได้จาก พลังงานกล ของการไฟฟ้าฝ่าผลิต คงปล่อยน้ำจากเขื่อน เพียงครั้งเดียว แล้วผลิตกระแสใช้ไปได้ตลอดกาล ไม่ต้องปลjอยพลังงานน้ำไปหมุนเทอร์ไบน์ อีก ในหลักวิชาการทางพลังงานไฟฟ้า ถือว่าพลังงานทางด้านoutput ไม่มีโอกาสได้พลังงานมากว่า Input ที่เป็นพลังงานต้นกำเนิด มีแต่พลังงานทางด้าน Output จะเกิดการสูญเสียพลังงานไปกับคุณภาพของอุปกรณ์ หรือจ่าย Input 100% ได้ Output 80-90 % เท่านั้น

ที่กล่าวมาเป็นการยกตัวอย่างเรื่องพลังงาน เปรียบเทียบกับระบบไดนฺชาร์จ ที่ขาดแบ็ตเตอรี่จ่ายพลังงานกระแสไฟให้กับไดน์ชาร์จ ไดน์ชาร์ทถึงจะทำงาน ไม่ใช่ไดน์ชาร์จทำงานด้วยตัวของมันเองอย่างอิสร ก็เลยเข้าประเด็นที่ผมตั้งกระทู้ ว่าอะไรคือตัวจ่ายพลังงานหลัก........srithanon
วันที่: 11 Jul 12 - 22:05

 ความคิดเห็นที่: 9 / 20 : 724601
โดย: srithanon
กระทู้ที่ผมตั้งขึ้นมา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในเรื่องการทำงาน ของระบบไดน์ชาร์จ และแบ็ตเตอรี่
ย่อมมีความคิดเห็นต่างมุม ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี จะได้ทำให้เห็นความต่างของความคิด ว่าท่านเหล่านั้นคิดอย่างไร ผู้อ่านเท่านั้นที่จะทราบได้ดี ว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ผมน้อมรับความคิดเห็นทุกท่าน สิ่งใดที่มีเหตุมีผล น่าเชื่อถือ ตามหลักวิชาการ ก็จะขอน้อมรับเก็บไว้ประดับเป็นความรู้ สิ่งไหนในความเห็นส่วนตัวที่คิดว่า มีเหตุผล ยังไม่กระจ่าง หรือข้อมูลนั้นยังไม่พัฒนา ก็จะเก็บไว้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบ กับข้อมูลในหลักวิชาการ ว่ามันูกต้องหรือไม่ หากถูกต้องก็เก็บไว้ประดับป็นความรู้ หากไม่ถูกต้อง ก็ปล่อยวาง ก็ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความคิดต่างมุมมาครับ......srithanon
วันที่: 11 Jul 12 - 22:42

 ความคิดเห็นที่: 10 / 20 : 724607
โดย: Fujiwara Takumi
ใช่ครับเป็นกระทู้ทีดีจริง ๆ
ตามที่ผมเข้าใจผมว่า เขื่อนใช้พลังงานน้ำมาปั่น ไดสตาร์ทก็ควรใช้สายพานมาหมุนซึ่งพลังมาจากน้ำมันนั้นเองสินะครับ

มารู้จักไดชาจ์ทกันให้มากกว่านี้ดีกว่าครับ อิอิ ( อัลเทอร์เนเตอร์ )
อัลเทอร์เนเตอร์คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ให้กำเนิดกระแสไฟฟ้า โดยอัลเทอร์เนเตอร์จะเปลี่ยนพลังงานกลที่รับมาจากเครื่องยนต์ให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้ากระแสสลับ และจะถูกแปลงให้เป็นกระแสตรงโดยใดโอด ก่อนที่จะประจุเข้าแบตเตอรี่และจ่ายไฟไปยังวงจรและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ โดยอัลเทอร์เนเตอร์จะมีคุณสมบัติคือ "จะต้องสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการของระบบ และสม่ำเสมอในขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำประมาณ 750 รอบต่อนาที" อัลเทอร์เนเตอร์จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญ คือขดลวดโรเตอร์ ไดโอดและขอลวดสเตเตอร์
ระบบไฟชาจ์ทจะผลิตกระแสไฟ เพื่อจ่ายให้กับอุปกรณืไฟฟ้าตามจำนวนกระแสไฟฟ้าที่ต้องการ และมีการประจุให้กับแบตฯ ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ทันทีที่เครื่องยนต์ทำงานสายพานจะขับอัลเทอร์เนเตอร์ให้ทำงานพลังงานนี้ก็เหมือนน้ำที่ไหลตลอดในเขื่อนนั้นแหละครับ และเมื่ิเครื่องยนต์ทำงาน สายพานจะขับพูเล่ย์ของอัลเทอร์เนเตอร์หมุนซึ่งเป็นผลให้ "โรเตอร์หมุนด้วย"( ไม่เกี่ยวกับแบตฯนะครับ)และกระแสไฟจะเกิดขึ้นที่ขดลวดของสเตเตอร์
อัลเทอร์เนเตอร์แบบ SC ระบบรวมตัวนำไฟฟ้า( ลวดทองแดงทำมุม ) คือการนำเอาขดลวดสเตเตอร์มาเชื่อมติดกับตัวนำไฟฟ้าแทนที่จะใช้ระบบพันขดลวดธรรมดา เปรียบเทียบอัลเทอร์เนเตอร์แบบธรรมดา ความต้านทานกระแสไฟฟ้าจะลดลง และอัลเทอร์เนเตอร์จะมีขนาดกระทักรัดกว่าขดลวดไฟฟ้า 3 เฟส 2 ชุด จะถูกนำมาใช้ ถ้าขดลวดไฟฟ้าถูกทำให้กลาง จะทำให้เกิดเสียงแม่เหล็กซึ่งกันและกัน ( เกิดขึ้นที่สเตเตอร์ ) การลดเสียงดังจะดีขึ้น
ถ้าเขื่อนเหมือนไดชาร์จ แบตฯก็เปรียบเหมือนไฟสำรองเมื่อยามไฟตก / ดับ ไฟสำรองก็ติดส่องสว่างให้ แต่เมือ่ไฟมาไฟสำรองก็ดับใช้ไฟจากเขื่อนแทน แบบบ้าน ๆ นะครับ
มีรูปแถมด้วยนะครับ อิอิ แต่ผมว่าทั้งไดชาร์ทและแบ็ตเตอรี่ ก็คือองค์ประกอบสำคัญที่ทำงานร่วมกัน ในระบบไฟฟ้ารถยนต์ครับ
วันที่: 11 Jul 12 - 23:31

 ความคิดเห็นที่: 11 / 20 : 724608
โดย: Fujiwara Takumi
วันที่: 11 Jul 12 - 23:32

 ความคิดเห็นที่: 12 / 20 : 724609
โดย: Fujiwara Takumi
ยังไม่ได้ลงรูปเลยมาก่อนซะล่ะ
วันที่: 11 Jul 12 - 23:33

 ความคิดเห็นที่: 13 / 20 : 724709
โดย: santana
สุดยอด
วันที่: 12 Jul 12 - 12:33

 ความคิดเห็นที่: 14 / 20 : 724729
โดย: Force G
แล้วในกรณี ที่ เกิดการโหลด
เช่น
1.ในรอบเดินเบา เปิดแอร์ เปิดไฟหน้า เมื่อแอร์มีการ ทำงานเกิดขึ้น เข็มที่วัด โวล จากเดิมที่ ชี้ไปที่ 13.7 เมื่อมีการทำงานของแอร์ มันล่วงลงมาอยู่ ที่ 12. 8 v แล้ว ค่อยๆๆ เด้งขึ้น กลีบไป ที่ 13.7 สาเหตุน่าจะมาจากอะไร
2.กรณีที่รถวิ่งอยุ่ (ไม่ได้จอด และเปิดแอร์ปกติ ) เหลือบไปเห็น เข็มวัดโวล ตกลงมา อยู่ที่ 12.8-13.3 บ้างเป็นบางครั้ง แต่เมื่อเร่งเครื่องเพิ่ม เข็มมันก็เพิ่มเป็น 13.8 โวล อันนี้น่าจะมาจากสาเหตุอะไร

ไดชาร์ต เริ่มมีปัญหาแล้วหรือป่าว
วันที่: 12 Jul 12 - 14:08

 ความคิดเห็นที่: 15 / 20 : 724751
โดย: บอมบ์
วันที่: 12 Jul 12 - 15:25

 ความคิดเห็นที่: 16 / 20 : 724811
โดย: Fujiwara Takumi
ใช่ครับ ไดชาจ์ทเริ่มมีปัญหาแล้วครับ อย่างที่บอกครับ ไดชาจ์ทที่สมบูรณ์ จะผลิตแรงดันออกมาประมาณ 13.9V – 14.5V และต่ำสุดไม่ควรต่ำกว่า 13.5V "สม่ำเสมอครับ" เพราะไดชาจ์ทจะต้องมีคุณสมบัติคือ "จะต้องสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการของระบบทั้งหมด และสม่ำเสมอในขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำประมาณ 750 รอบต่อนาที"ตามที่วิศวกรกำหนดเอาไว้ในรถสภาพเดิม ๆ นะครับ ถ้ามีอาการแบบที่ท่าน Force G ว่าก็ตามนั้นครับ และถ้าปล่อยไปเรื่อย ๆ มันจะทำให้ต้องมีการดึงไฟจากแบตเตอรี่ไปใช้ส่งผลให้แบตเตอรี่อยู่ในสภาวะคายไฟตลอด(ถึงแม้จะบางครั้งคราว)และประจุเข้ากลับไปใหม่บ่อย ๆ สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานของท่านจะสั้นกว่าปกติครับ
วันที่: 12 Jul 12 - 20:26

 ความคิดเห็นที่: 17 / 20 : 724929
โดย: srithanon
บทความที่คัดลอกนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ หากจะให้เกียรติกับผู้ทรงความรู้ ที่ได้สระเวลาเขียนบทความเนื้อหาสาระความรู้ให้เป็นวิทยาทาน ควรจะอ้างอิงที่มาของข้อมูลนั้นด้วย เพื่อเป็นเกียรติกับผู้ให้ความรู้ .....srithanon
วันที่: 13 Jul 12 - 11:22

 ความคิดเห็นที่: 18 / 20 : 724949
โดย: Fujiwara Takumi
ต้องขอโทษด้วยครับ ใช่ครับผมคัดลอกมา แต่คัดลอกความรู้มาโดยการอ่านทำความเข้าใจและเรียบเรียงออกมาด้วยตัวของผมเอง ทั้งหมดที่เอามาโพสต์นั้นรวมมาจากทุกแหล่งที่ผมพอจะหาและศึกษาได้ ไม่ว่าจากเว็บ และหนังสือที่ผมมี และ ผมได้ใช้วิเคราะห์ตามหลักเหตุผลเป็นอย่างดีบวกกับความรู้ของผมที่พอมีบ้างนิด ๆ มารวมเป็นความคิดแบบเฉพาะลงไปในโพสต์แต่ล่ะโพสต์ ไม่ได้มีประสงค์ใด ๆ ที่ไม่ให้เกียรติเพราะไม่รู้ว่าจะให้เครดิตยังไงดี ต้องขอโทษด้วยจากใจจริงด้วยครับ เพราะมันพิมพ์ผ่านตามความเห็นของที่เรียบเรียงขึ้นมาใหม่ในความคิดของผม จาก เว็บ ทั้งหลายไม่ต่ำ กว่า 10 เว็บ และในแต่ล่ะเว็บก็เอาความคิดเห็นปลีกย่อยมาคิด วิเคราะห์ ไม่ต่ำกว่า 4-5 รายในแต่ล่ะบล็อก และผมได้มาพิจารณาเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง เป็นจริง เผื่อท่านใดที่ยังเข้าใจผิด ๆ อยู่ก็อาจจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องไปครับ ไม่ได้มีเจตนาร้ายกับใครทั้งนั้นครับ ( แค่อยากให้ทราบรู้ที่ถูกต้องและเป็นจริงเท่านั้น ตามวลีอมตะที่ว่าไว้ "น่าเหลือเชื่อที่เราเข้าใจเกมที่เล่นมาทั้งชีวิต ไม่มากเท่ารั้ย" Mickey Mantle )แล้วถึงโพสต์ข้อความที่น่าเป็นความรู้ที่อาจจะประโยชน์กับผู้ที่กำลังเดือดร้อนอยู่ และ อาจให้ความรู้ทีี่ถูกต้องแก่สมากชิกไม่มากก็น้อยครับ อาจมีบางอันที่โพสต์ไม่ได้วิเคราะห์คัดลอกมาเกือบทั้งดุ้นก็มี ไม่ว่าถูกหรือผิดก็มีครับต้องขอโทษมา ณ ที่นี้ด้วย แต่ที่คัดลอกมานั้นไม่ได้ไม่ให้เกียรแค่ผ่านการเรียบเรียงขึ้นใหม่ตามที่ได้บอกข้างต้น และบอกตามตรงว่ารถผมยังไม่เคยเจอปัญหาอะไรเลยแม้แต่ครั้งเดียวเลยยังไม่ชำนาญแน่นอน คามประสาคนมีรถคันแรก ได้ 5-6 เดือนเท่านั้นที่ผมชอบโพสต์เพราะมันสามารถช่วยท่านอื่นได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็แล้วแต่กรณีไป แต่ที่แน่ ๆ มันทำให้ผมได้ความรู้ขึ้นมากอย่างไม่น่าเชื่อและทำให้ผมได้เรียนรู้และวิธีบำรุงรักษาอย่างถูกต้องโดยไม่ต้องรอให้มันเกิดขึ้นกับตัวผมและรถผมเลยแม้แต่น้อยครับ สำหรับมือใหม่อย่างผม เพราะเว็บ MAZDACLUB นี่แหละครับ ขอบคุณครับ
วันที่: 13 Jul 12 - 13:00

 ความคิดเห็นที่: 19 / 20 : 724956
โดย: srithanon
ขอบคุณครับ ที่กล่าวก็มิได้มีเจตนาที่จะมาดิสเครติดอะไร แต่ก็ยังแอบภูมิใจ ที่คนรุ่นใหม่ๆ อย่างคุณ มีความใฝ่รู้ และเอาความรู้ที่ได้จากการค้นคว้า มาเผยแพร่ให้กับเพื่นอสมาชิกที่ยังไม่ทราบ ได้ทราบ ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่ที่ผมมากล่าวก็แนะนำกันแบบพี่ๆน้องๆ ว่าคุณนั้นนะทำถูกแล้ว แต่ถ้าจะให้ความรู้สึกที่สมบูรณ์ขึ้นมาอีกสักหน่อย เพื่อให้ความรู้ที่คุณมีอยู่กับความรู้ที่ได้มา มันมีความน่าเชื่อถือเพิ่มยิ่งขึ้น ครับ หากมีอะไรที่ล่วงเกินไปบ้าง ก็ขออภัย ไม่มีอะไรมากไปกว่า แบบพี่ๆน้องๆ ในคลับแห่งนี้ ..srithanon
วันที่: 13 Jul 12 - 13:30

 ความคิดเห็นที่: 20 / 20 : 724960
โดย: Fujiwara Takumi
ขอบคุณท่าน srithanon มาก ๆ ครับ
วันที่: 13 Jul 12 - 13:45