|
|
|
Article Article Menu
THE HISTORY OF Mazda 626 / CAPELLA / CRONOS
THE HISTORY OF Mazda 626 / CAPELLA / CRONOS
รถยนต์ครอบครัวนักล่ารางวัล
ในช่วงปี 1969 - 1973 หลังจากเริ่มเข้าสู่ธุรกิจรถยนต์เต็มตัว มาสด้าเริ่มวางแผนขยายสายพันธุ์ให้มากขึ้น ขนาดให้กับลูเช่รุ่นที่ 2 ให้ใหญ่โตขึ้น และอัพเกรดขุมพลังสู่ระดับ
1,800 ซีซี เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าระดับสูงกว่าเดิม ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างทางการตลาดระหว่างลูเช่ ซึ่งเป็นรถยนต์รุ่นใหญ่สุดในสายการผลิตตอนนั้น และแฟมีเลีย (หรือ
323 สำหรับตลาดโลกในเวลาต่อมา) 626/คาเพลลา รถยนต์นั่งขนาดกลางจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อแทรกตัวในช่องว่างดังกล่าว โดยเน้นภาพลักษณ์ความเป็นแฟมีลีสปอร์ตเป็น
จุดขายหลัก 626 / คาเพลลา นับเป็นรถยนต์รุ่นสำคัญอีกรุ่นหนึ่งรองจาก 323/แฟมีเลีย ที่สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับมาสด้าอย่างต่อเนื่องมาตลอด สำหรับมาสด้าแล้ว การ
เปิดตัว 626 รุ่นใหม่ๆ ในแต่ละครั้ง เรามักพบได้กับพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ ของทีมวิศวกรมาสด้า จนรู้สึกได้ แม้จะมาในรูปแบบคล้ายกับรุ่นก่อนหน้านั้นก็ตาม
นอกจากนี้ นับตั้งแต่รุ่นที่ 3 ในปี 1982 เป็นต้นมา ฟอร์ด ผู้ผลิตรถยนต์ที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในมาสด้า จะให้มาสด้าออกแบบรถยนต์ฝาแฝดรุ่น TELSTAR เพื่อทำตลาดผ่าน
เครือข่ายจำหน่ายพิเศษที่ดูแลโดยทั้งมาสด้าและฟอร์ด แต่ทำตลาดรถยนต์ฟอร์ดอย่างเดียวในชื่อ AUTORAMA (ที่เพิ่งยุบไปเมื่อปีที่แล้ว) โดยใช่เครื่องยนต์กลไกร่วมกันทุก
ประการ ต่างเพียงรายละเอียดปลีกย่อยภายนอกและภายในเท่านั้น
รุ่นที่ 1 SNA SND SNE CAPELLA / 616 / RX-2
THE FIRST & ONLY ROTARY's CAPELLA
13 พฤษภาคม 1970 - 23 ตุลาคม 1978
เปิดตัวเริ่มแรกด้วยแบบซีดานและคูเป้ ด้วยมิติตัวถังยาว 4,150 มิลลิเมตรในรุ่นคูเป้ และ 4,210 มิลลิเมตร ในรุ่นซีดาน กว้าง 1,580 มิลลิเมตร สูง 1,395-1,420 มิลลิเมตร
ระยะฐานล้อยาว 2,470 มิลลิเมตร และใช้โครงสร้างตัวถังแบบโมโนค็อก
นอกจากขุมพลัง 4 สูบเรียง SOHC 1,490 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ 92 แรงม้า (PS) ที่ 5,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.2 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที และ1,586 ซีซี 100 แรงม้า (PS)
แล้ว รุ่นนี้ยังเปิดตัวในช่วงที่มาสด้ากำลังสนุกกับการพัฒนาเครื่องยนต์โรตารี จึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบขุมพลังโรตารี 12A 573 ซีซี 2 โรเตอร์ 120 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที ส่งกำลังสู่ล้อคู่หลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ ใต้ฝากระโปรงหน้าของคาเพลลาด้วย ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 190 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ระบบกันสะเทือนหน้าสตรัท-หลัง 4 จุดยึด ห้ามล้อด้วยดิสก์เบรกหน้า-ดรัมเบรกหลัง
จากนั้นในเดือน มกราคม 1971 เกียร์อัตโนมัติที่ออกแบบพิเศษสำหรับเครื่องยนต์โรตารี RE MATIC ถูกติดตั้งเข้าด้วยกันเป็นครั้งแรกในโลก ในคาเพลลา G-SERISE พร้อมกับ
การปรับปรุงระบบกันสะเทือนให้เกาะถนนดีขึ้น เว้นว่างไปถึงเดือนมกราคม 1972 คาเพลลา โรตารี คูเป้ ออกแล่นทดสอบแบบ ENDURANCE ทั่ว 11 ประเทศในยุโรปครบ
100,000 กิโลเมตร โดยไม่ต้องมีการซ่อมบำรุงใดๆทั้งสิ้น เพื่อฉลองโอกาสนี้ เดือนกุมภาพันธ์ 1972 รุ่นคูเป้ GS-II เกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ จึงออกสู่ตลาด โดยลดความสูงลงจาก
เดิม 40 มิลลิเมตร รุ่นนี้เคยเอาชนะนิสสัน สกายไลน์ GT-R ในการแข่งสนามพิเศษ และในปีเดียวกันนี้ คาเพลลา รุ่นส่งออกสู่สหรัฐอเมริกาในชื่อ RX-2 ได้รับรางวัลรถยนต์นำเข้า
ยอดเยี่ยมแห่งปีจากนิตยสารรถยนต์ชั้นนำของสหรัฐอเมริกาชื่อ ROAD TEST อีกด้วย ขณะที่เวอร์ชันส่งออกสู่ยุโรป จะเปลี่ยนไปใช้ชื่อรุ่น 616 แทน
ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ครั้งใหญ่เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 1974 วางขุมพลัง โรตารี AP (ANTI POLUTION) 120 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที
ก่อนไมเนอร์เชนจ์รอบ 2 เมื่อ 28 ตุลาคม 1975 เป็นครั้งสุดท้าย ยกเลิกขุมพลัง 1,490 ซีซีออกจากสายการผลิต ก่อนยุติการผลิตในปี 1978 ด้วยยอดผลิตทั้งหมด 254,919
คัน
คาเพลลารุ่นแรกนี้นับว่าเป็นโชคไม่ค่อยดีสำหรับการเริ่มต้นในตลาดรถยนต์ขนาดกลางของมาสด้าเท่าไหร่นัก เนื่องจากเมื่อเปิดตัวไปได้ประมาณ 2 ปี วิกฤติการณ์น้ำมัน
ได้เริ่มต้นขึ้น หลายประเทศหาทางรณรงค์การประหยัดน้ำมันกัน ขณะเดียวกัน เครื่องยนต์โรตารีถูกวิพากษ์วิจารณ์โดย EPA (ENVIRONMENTAL PROTECTION AGENCY)
ของสหรัฐอเมริกาซึ่งดูแลทางด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมโดยตรงว่า เป็นเครื่องยนต์ที่กินน้ำมันมาก และก่อปัญหามลพิษมาก แถมในญี่ปุ่นเองยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า
ลูกค้าไม่ควรใช้ความเร็วสูงโดยไม่จำเป็น เนื่องจากประสิทธิภาพของแชสซี สู้น้องเล็กอย่างแฟมีเลีย ไม่ได้ รุ่นแรกนี้เข้ามาทำตลาดในเมืองไทย และไม่ค่อยได้รับความนิยม
เท่าที่ควร เนื่องจากรูปร่างไม่น่าใช้เท่ากับคู่แข่งในสมัยเดียวกัน และเหตุผลอื่นๆดังที่กล่าวมาข้างต้น
รุ่นที่ 2 CB CAPELLA / 626
THE FIRST TIME FOR NAMEPLATE 626
23 ตุลาคม 1978 - 21 กันยายน 1982
ด้วยปัญหาสภาพการเงินในบริษัทที่ยังรุนแรง ปัญหาวิกฤติการณ์น้ำมัน และการแก้ปัญหามลภาวะ ดังนั้นในรุ่นที่ 2 ของคาเพลลา ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ใช้ชื่อรุ่น 626 สำหรับทำตลาด
นอกญี่ปุ่น จึงไม่มีขุมพลังโรตารี ยุคเก่าที่กินน้ำมัน และปล่อยมลภาวะสูงในสมัยนั้นให้เห็นอีก เปลี่ยนโฉมจนทันสมัยด้วยเส้นสายเหลี่ยมคมสไตล์ยุโรปทั้งคันและไม่เหลือเค้า
โครงเดิมไว้เลย ลู่ลมด้วยค่า Cd 0.38 มีให้เลือกเพียงแบบซีดานและฮาร์ดท็อปคูเป้ และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง
ทั้ง 2 ตัวถังมีความยาวเท่ากันระหว่าง 4,290-4,305 มิลลิเมตร กว้าง 1,660 มิลลิเมตร สูง 1,355-1,380 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร วาง 2 ขุมพลัง ทั้ง
รหัส NA 4 สูบ OHC 1,586 ซีซี 90 แรงม้า (PS) ที่ 5,700 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที และรหัส VC 4 สูบ OHC 1,769 ซีซี 100 แรงม้า (PS)
ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.2 กก.-ม.ที่ 3,300 รอบ/นาที ทุกรุ่นขับเคลื่อนล้อหลังด้วยเกียร์ธรรมดา 4 จังหวะ ยกเว้นรุ่น 1,800 ซีซี ซีดาน ที่มีเกียร์อัตโนมัติ 3 จังหวะ
ให้เลือกและรุ่น 1,800 ซีซี ฮาร์ดท็อปคูเป้ ที่เพิ่มเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะมาให้เล่นเป็นพิเศษ ระบบกันสะเทือนหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังคานแข็ง 5 จุดยึด โดยเหล็กกันโคลง
มีเฉพาะรุ่น 1,800 ซีซีเท่านั้น รุ่น GL มีเฉพาะด้านหลัง แต่รุ่น Super Custom เพิ่มด้านหน้ามาให้ด้วย ห้ามล้อด้วยระบบเบรกหน้าดิสก์หลังดรัม อุปกรณ์ภายในมีทั้งกระจก
มองข้างปรับด้วยไฟฟ้า เบาะหลังพับได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ห้องเก็บของขนาด 331 ลิตร กระจายน้ำหนักหน้า-หลัง อัตราส่วน 50% : 50% แบบเดียวกับ RX-7 รุ่นแรก นอกจากนี้ยัง
เป็น 626/คาเพลลารุ่นแรกที่ส่งเข้าไปทำตลาดในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 1978 ในฐานะรถยนต์รุ่นปี 1979
หลังจากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1979 รุ่น 2,000 Limited ที่มาพร้อมขุมพลังแบบ 4 สูบ SOHC 1,970 ซีซี 110 แรงม้า (PS) ที่ 5,300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17 กก.-ม.ที่
3,000 รอบ/นาที จึงตามออกมาเสริมทัพ ก่อนปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เมื่อ 8 กันยายน 1980 เปลี่ยนชุดไฟหน้า กระจังหน้า และฝากระโปรงหน้าทั้งหมด ให้เรียบเป็นแนว
ระนาบเดียวกัน จากเดิมที่แยกออกจากกัน แผงหน้าปัดและพวงมาลัยออกแบบใหม่ แต่ยังยืนพื้นกับรายละเอียดทางเทคนิกเดิม ยุติการผลิตด้วยยอดผลิตรวมทั้งหมด
723,709 คัน
รุ่นนี้เข้ามาทำตลาดในเมืองไทยปี 1979 ด้วยเครื่องยนต์ 4 สูบ SOHC 1,586 ซีซี 90 แรงม้า (PS) บล็อกเดียวกับในญี่ปุ่น พ่วงด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ วางในตัวถังซีดาน
เพียงแบบเดียว และคว้ารางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมจากนิตยสาร ยวดยาน ในสมัยนั้นไปครองทันที ก่อนปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในปี 1981 ตามหลังเวอร์ชันญี่ปุ่น
รุ่นที่ 3 GC CAPELLA / 626
THE FIRST FF WITH A BIG HIT!
22 กันยายน 1982 - 7 พฤษภาคม 1987
เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ในฐานะ 626/คาเพลลารุ่นแรกที่หันมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า มีทั้งแบบซีดาน คูเป้ และเป็นครั้งแรกที่มีรุ่นแฮตช์แบ็ก 5 ประตู เข้าร่วมสายพันธุ์ตาม
ความนิยมในยุคนั้น จนกลายเป็นปรากฎการณ์ฮิตทั่วโลกเกินความคาดหมาย ด้วยรูปทรงที่ร่วมสมัย เรียบง่ายแต่โฉบเฉี่ยวกว่าเดิม รุ่นซีดานลู่ลมด้วยค่า Cd 0.38 ขณะที่รุ่น
แฮตช์แบ็คอยู่ที่ Cd 0.35 และคูเป้อยู่ที่ Cd 0.34 ในญี่ปุ่น เพิ่มความฮิตอีกระดับด้วยการดึงเอาดาราฮอลลีวูด ALAN DELON มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ก่อนเปิดตัวในสหรัฐ-
อเมริกาเมื่อปี 1983 รุ่นนี้ทำตัวเป็นนักล่ารางวัลจากทั่วโลกจนนับไม่ไหว เช่นรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปีของญี่ปุ่นประจำปี 1982-1983 ไปจนถึงรางวัลรถยนต์นำเข้า
ยอดเยี่ยมในเยอรมันของนิตยสาร AUTO MOTOR und SPORT 5 ปีติดกันรวด (1984-1988) รวมทั้งรางวัลรถยนต์นำเข้ายอดเยี่ยม 1983 จากนิตยสาร MOTOR
TREND ในสหรัฐอเมริกา ฯลฯ
มิติตัวถังรุ่นซีดานและแฮตช์แบ็กยาว 4,430 มิลลิเมตร คูเป้ 4,360 มิลลิเมตร กว้างเท่ากันที่ 1,690 มิลลิเมตร สูง 1,350 มิลลิเมตร ระยะฐนล้อยาว 2,510 มิลลิเมตร
วางขุมพลังตระกูล MAGNUM 4 สูบ SOHC 1,789 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ 100 แรงม้า (PS) ที่ 5,700 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 15.2 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที, 4 สูบ SOHC
1,998 ซีซี 120 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17 กก.-ม.ที่ 3,000 รอบ/นาที ระบบกันสะเทือนหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังปีกนกคู่สัมพันธ์ TRAPEZODIAL
LINK ห้ามล้อด้วยระบบเบรกหน้าดิสก์หลังดรัม (ดิสก์ 4 ล้อในบางรุ่น) ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เมื่อ 7 พฤษภาคม 1985 เพิ่มตัวถังแฮตช์แบ็กให้กับเวอร์ชันญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก
หลังจากปล่อยให้ตลาดอื่นได้สัมผัสไปล่วงหน้าแล้ว ส่วนรุ่นซีดาน GT-X นำขุมพลัง 1,998 ซีซีเดิม มาเพิ่มเทอร์โบชาร์จเจอร์ จนแรงขึ้นเป็น 145 แรงม้า (PS) ที่ 5,000
รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22 กก.-ม.ที่ 3,000 รอบ/นาที
รุ่นนี้เข้าทำตลาดในเมืองไทยเมื่อ 29 เมษายน 1983 ที่โรงแรมรามาการ์เด้น และสร้างปรากฎการณ์ใหม่ เพราะลูกค้าต้องสั่งจองลวงหน้านานเป็นเดือน เนื่องจากผลิตไม่ทันต่อ
ความต้องการที่มากเกินคาดคิด เพราะจุดเด่นมากมายทั้งหน้าปัดดิจิตอล สัญญาณเตือนต่างๆสารพัดเสียง และห้องโดยสารที่นั่งสบาย รุ่นซีดานวางขุมพลังรหัส F6 4 สูบ SOHC
1,587 ซีซี คาร์บูเรเตอร์ 81 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.2 กก.-ม.ที่ 3,800 รอบ/นาที ส่วนรุ่นแฮตช์แบ็คและคูเป้ วางรหัส F8 4 สูบ SOHC 1,789 ซีซี
คาร์บูเรเตอร์ 92 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 13.9 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที แต่เมื่อ ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในเดือนมีนาคม 1986 รุ่นคูเป้ถูกตัดออกไป เช่นเดียวกับขุมพลังรหัส F6 ในรุ่นซีดาน เพราะถูกแทนที่ด้วยขุมพลัง"ดีเซล" รหัส RF 4 สูบ OHC 1,998 ซีซี จ่ายเชื้อเพลิงด้วยปั้มหัวฉีดโรตารี 64 แรงม้า (PS) ที่ 4,650 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.2 กก.-ม.ที่ 2,750 รอบ/นาที ส่วนภายนอกรุ่นซีดาน เปลี่ยนฝากระโปรงหน้า ชุดไฟหน้าและกระจังหน้าจากแบบตั้งเฉียง มาใช้ร่วมกับรุ่นแฮตช์แบ็ก และเปลี่ยนชุดไฟท้ายพร้อมกรอบป้ายทะเบียนใหม่ ส่วนรุ่นแฮต์แบ็คเปลี่ยนแค่กระจังหน้าทรงสปอร์ตเท่านั้น
รุ่นที่ 4 GD & GV CAPELLA / 626
THE FIRST 4WS WITH 4WD
8 พฤษภาคม 1987- 6 ตุลาคม 1991
เพิ่มความอ่อนช้อยให้เห็นบนเรือนร่างตัวถังมากขึ้น ตอกย้ำความล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยีระบบเลี้ยว 4 ล้อที่จะทำงานแปรผันตามความเร็วที่ใช้ พร้อมระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ
รุ่นคูเป้ในญี่ปุ่น ใช้ชื่อ C2 แต่เปลี่ยนเป็น MX-6 เมื่ออยู่ในสหรัฐอเมริกา ส่วนรุ่นแวกอนในชื่อ คาเพลลา CARGO และ VAN ตามมาในปี 1988 และกลายเป็นรถยนต์นำเข้า
ที่ขายดีที่สุดในเยอรมันอยู่ช่วงหนึ่ง
มิติตัวถังรุ่นซีดานและแฮตชช์แบ็กยาว 4,515 มิลลิเมตร คูเป้ 4,450 มิลลิเมตร แวกอน-คาร์โก้ 4,590 มิลลิเมตร กว้างเท่ากันที่ 1,690 มิลลิเมตร สูงระหว่าง 1,360-1,465
มิลลิเมตร ระยะฐานล้อทุกรุ่นยาว 2,575 มิลลิเมตร ยกเว้นรุ่นคูเป้ สั้นกว่าที่ 2,515 มิลลิเมตร รุ่นซีดานและคูเป้ทุกรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า ยกเว้นรุ่นแฮตช์แบ็กที่มีรุ่นพิเศษ
ขับเคลื่อน 4 ล้อ และเลี้ยว 4 ล้อตลอดเวลาที่มากับเฟืองกลาง CENTER DIFFERENTIAL ลิมิเต็ดสลิป LSD และระบบเลี้ยว 4 ล้อ 4WS ด้วยไฟฟ้า ถ้าขับช้า ล้อหลังจะ
เลี้ยวสวนทางกับล้อหน้า แต่ถ้าใช้ความเร็วสูง ล้อหลังจะหันไปในทางเดียวกับล้อหน้าเพื่อช่วยในการเข้าโค้ง
รุ่นคูเป้วางขุมพลัง 2 แบบทั้งรหัส F8 4 สูบ SOHC 12 วาล์ว 1,789 ซีซี หัวฉีด EGI 97 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.6 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที
และ FE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,998 ซีซี 140 แรงม้า (PS) ส่วนรุ่นแฮตช์แบ็ก เพิ่มขุมพลัง F8 4 สูบ SOHC แต่ใช้คาร์บูเรเตอร์ 82 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 13.6 กก.-ม.ที่ 2,500 รอบ/นาที อีก 1 เครื่อง ส่วนรุ่นซีดาน วาง 3 ขุมพลังที่กล่าวมา และเพิ่มน้องเล็ก รหัส B6 4 สูบ SOHC 8 วาล์ว 1,597 ซีซี 73 แรงม้า
(PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12.4 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที ขุมพลังดีเซล RF 4 สูบ SOHC 1,998 ซีซี พร้อมระบบ P.W.S (PRESSURE VALVE SUPER
CHARGER) 82 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.5 กก.-ม.ที่ 2,000 รอบ/นาที อีก 2 ทางเลือก รวม 5 ขนาด
ไมเนอร์เชนจ์เมื่อ 8 มิถุนายน 1989 เปลี่ยนลายกระจังหน้า และเพิ่มขุมพลัง F8 4 สูบ DOHC EGI 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่
5,000 รอบ/นาที ส่วนรุ่นแรงในรหัส FE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,998 ซีซี ที่อัพเกรดให้แรงขึ้น ถ้าพ่วงเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ กำลังสูงสุดจะอยู่ที่ 150 แรงม้า (PS) ที่
6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.8 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที แต่ถ้าพ่วงเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ EC-AT ตัวเลขจะลดลงเหลือ 145 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที
แต่แรงบิดสูงสุดเพิ่มเป็น 19 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที
เวอร์ชันอเมริกันเปิดตัวในปี 1988 มีครบทั้งรุ่นซีดาน แฮตช์แบ็กในชื่อ CG และคูเป้ C2 ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อ MX-6 โดยรุ่นย่อย DX,LX,LE วางขุมพลัง 4 สูบ SOHC 12 วาล์ว
2,184 ซีซี EGI 110 แรงม้า (PS) ที่ 4,700 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.94 กก.-ม.ที่ 3,000 รอบ/นาที ส่วนรุ่น GT วางขุมพลังเดิม แต่เพิ่มเทอร์โบและอินเตอร์คูลเลอร์
145 แรงม้า (PS) ที่ 4,300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 26.22 กก.-ม.ที่ 3,500 รอบ/นาที พ่วงได้ทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะและอัตโนมัติ 4 จังหวะ
เวอร์ชันไทยเปิดตัวเมื่อ 27 สิงหาคม 1988 มีเพียงแค่รุ่นซีดานและแฮตช์แบ็ก ชูจุดขายด้วยระบบกันสะเทือนหลัง TTL INTRA 4WS ที่แค่ปรับมุมโทอิน-เอาท์ วางขุมพลัง 4
สูบ SOHC ขับด้วยสายพาน 1,789 ซีซี 90 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.3 กก.-ม.ที่ 3,400 รอบ/นาที พ่วงทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะและอัตโนมัติ 4
จังหวะ ปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์เมื่อเดือนกันยายน 1990 ปรับโฉมภายนอกด้วยล้ออัลลอยลายใหม่ ชุดไฟท้ายและทับทิม รวมถึงกระจังหน้าใหม่ โละขุมพลังเก่าออก โดยรุ่น
ซีดานวางขุมพลังใหม่ตระกูล F 4 สูบ 12 วาล์ว 1,998 ซีซี 109 แรงม้า (PS) ที่ 5,300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.8 กก.-ม.ที่ 3,300 รอบ/นาที พ่วงทั้งเกียร์ธรรมดาและ
อัตโนมัติ ส่วนรุ่นแฮตช์แบ็คเน้นความสปอร์ตกว่าด้วยไฟเบรกดวงที่ 3 บนฝากระโปรงหลัง ขุมพลังรหัส FE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,998 ซีซี บล็อกเดียวกับในญี่ปุ่น แต่เพิ่ม
กำลังขึ้นเป็น 148 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที ขณะที่ลดแรงบิดสูงสุดลงเหลือ 18.6 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที พ่วงได้แต่เกียร์ธรรมดาอย่างเดียว แต่มีดิสก์เบรก 4 ล้อ
มาให้เพียงรุ่นเดียว เป็น 626 รุ่นสุดท้ายที่ขึ้นสายการประกอบในเมืองไทย
ส่วนรุ่น CARGO แม้ว่ารุ่นหลักจะหมดอายุตลาดไปแล้ว แต่มาสด้ายังคงทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับตระกูลโครโนส โดยเมื่อ 21 มิถุนายน 1991 เพิ่ม 2 ทางเลือกให้กับรุ่น CARGO ด้วยรุ่น GT 4WD DOHC 2,000 ซีซี และ 2,000 PWS ดีเซล เมื่อ 17 สิงหาคม 1992 ก่อนไมเนอร์เชนจ์กร 21 กันยายน 1992 เพิ่มรุ่น SV URBAN BREAK
ไมเนอร์เชนจ์ครั้งใหญ่เมื่อ 31 ตุลาคม 1994 เปลี่ยนชุดไฟหน้า กระจังหน้า ชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้าทั้งหมด ให้สอดคล้องกับรุ่นซีดาน ที่เปิดตัวก่อนหน้านั้น 2 เดือน
เว้นว่างยาวมาถึง 11 พฤศจิกายน 1995 จึงปล่อยรุ่นตกแต่งพิเศษ MAZDASPEED SPORT FACTORY LIMITED และตามติดด้วยรุ่น SV-F เมื่อ 21 ธันวาคม 1995
และ 23 กรกฎาคม 1996 กับรุ่น SX-CRUISING 2WD กับ FX-CRUISING 4WD ตกแต่งสไตล์ OUTBACK เพิ่มขนาดตัวถังให้ยาวขึ้นเป็น 4,650 มิลลิเมตร กว้าง 1,695
มิลลิเมตร สูง 1,495 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,575 มิลลิเมตร อัพเกรดขุมพลัง FE-ZE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,998 ซีซี ให้แรงขึ้นเป็น 165 แรงม้า (PS) ที่ 6,500
รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 19.2 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที และยังคงขุมพลัง F8-DE 1,789 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 5,000
รอบ/นาที ก่อนส่งท้ายความสับสนวุ่นวายเมื่อ 3 กรกฎาคม 1997 กับรุ่น SV CRUISING
ส่วนคาเพลลา CARGO VAN ส่งของ วางขุมพลังรหัส B6 และดีเซล RF 4 สูบ OHC 1,998 ซีซี 61 แรงม้า (PS) ที่ 4,650 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 12 กก.-ม.ที่ 2,750
รอบ/นาที ทำตลาดแบบเงียบๆจนถึงปี 1999 จึงยุติการผลิต
รุ่นที่ 5 GE 626 / CRONOS (& THE GANG)
7 ตุลาคม 1991- ปลายปี 1996
มาสด้ารู้ดีว่าการเปลี่ยนโฉมของ 626/คาเพลลา มาใช้ชื่อ โครโนส เป็นโครงการสำคัญ เพราะต้องพัฒนารถยนต์ขนาดกลางสารพัดรุ่นบนพื้นฐานวิศวกรรมร่วมกับโครโนส
เพื่อให้เตรียมออกสุ่ตลาดตามกันมาอย่างต่อเนื่องผ่าน 4 เครือข่ายจำหน่ายใหม่ในขณะนั้น ที่ตั้งขึ้นเพื่อครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าให้ได้ ทั้งเครือข่ายหลักมาสด้า
เครือข่ายยูโนส ที่เน้นรถนยนต์หรู เครือข่ายแองฟินี เน้นรถยนต์สมรรถนะสูง และออโตแซม สำหรับรถยนต์ขนาดไม่ใหญ่มาก ง่ายต่อการบำรุงรักษา ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกรุ่นจะ
ต้องใช้ขุมพลัง ระบบส่งกำลังและระบบกันสะเทือนร่วมกับโครโนส และพี่น้องในตระกูลทั้งหมด เพื่อประหยัดต้นทุนในการพัฒนาและผลิต 626 รุ่นนี้ยังเป็นรุ่นแรกที่ขุมพลังทุก
แบบเปลี่ยนมาใช้ระบบหัวฉีดควบคุมด้วยอีเล็กโทรนิกส์ EGI ทั้งหมด
Mazda CRONOS
เปิดตัวเมื่อ 7 ตุลาคม 1991 ด้วยสโลแกน V6 WIDE & COMFORT เน้นจุดขายที่ขุมพลัง วี6 ติดตั้งบนตัวถังที่กว้างกว่าคู่แข่งระดับเดียวกันทุกรุ่น
มิติตัวถังยาว 4,695 มิลลิเมตร กว้าง 1,770 มิลลิเมตร สูง 1,400 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,610 มิลลิเมตร ในช่วงแรกวาง 2 ขุมพลัง ทั้งรหัส K8-ZE วี6 DOHC 24 วาล์ว
1,844 ซีซี EGI 140 แรงม้า (PS) ที่ 7,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 5,500 รอบ/นาที และ KF-ZE วี6 DOHC 24 วาล์ว 1,995 ซีซี EGI พร้อมระบบแปรผัน
ท่อไอดี VRIS 160 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.3 กก.-ม.ที่ 5,500 รอบ/นาที ส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าได้ทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ
รุ่น GF42 ใช้ระบบกันสะเทือนหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท หลังสตรัทธรรมดา พร้อมเหล็กกันโคลงหน้า-หลัง และติดตั้งดิสก์เบรก 4 ล้อทุกรุ่น โดยมีเอบีเอสเฉพาะรุ่นท็อป
20VG-L เท่านั้น
การเพิ่มรุ่นครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 1992 ด้วยรุ่นดีเซลรหัส RF 4 สูบ SOHC P.W.F 82แรงม้า (PS) ตามด้วยรุ่น 25 Gran Turismo มากับขุมพลัง KL-ZE วี6
DOHC 2,496 ซีซี VRIS 200 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22.8 กก.-ม.ที่ 5,500 รอบ/นาที นอกจากนี้ยังมีรุ่น 18VL SALOON ตามมาในคราวเดียว
กันด้วย เว้นไปถึง 3 กุมภาพันธ์ 1993 จึงปล่อยรุ่น 20VS Selection พร้อมกระจังหน้าโครเมียมชุดเดียวกับในเมืองไทย ออกสู่ตลาด ก่อนปรับโฉมเปลี่ยนกระจังหน้ามา
เป็นแบบตัว U คว่ำ ทรงเว้า เหมืนอรุ่น วี6 ในเมืองไทย เมื่อ 24 ตุลาคม 1994 เป็นครั้งสุดท้าย และถูกปลดออกจากสายการผลิตช่วงปลายปี 1995
นอกจากนี้ ยังมีพี่น้องร่วมโครงการอีก 6 แบบ ใน 7 ชื่อ ได้แก่
efini MS-6
เวอร์ชันแฮตช์แบ็ก 5 ประตูของโครโนส เปิดตัววันที่ 16 ตุลาคม 1991 ตามหลังโครโนสมาเพียง 2 สัปดาห์ ทำตลาดผ่านเครือข่ายจำหน่ายแองฟินี ด้วยมิติตัวถังที่มีขนาดเท่า
กัน แต่ลดความสูงลงมา 10 มิลลิเมตร วางขุมพลังทั้งรหัส K8-ZE และ KF-ZE รวมทั้งเกียร์และช่วงล่างชุดเดียวกับโครโนส จนถึงวันที่ 2 มีนาคม 1992 จึงเพิ่มรุ่นขับเคลื่อน
4 ล้อ วางขุมพลัง FS-DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี EGI 125 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.6 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที เสริมทัพ ตามด้วย
รุ่นดีเซลรหัส RF 2,000 ซีซี P.W.S ในรุ่นย่อย F และ G เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 1993 ก่อนเงียบหายไปจากตลาด
Mazda MX-6
20 มกราคม 1992 เวอร์ชันสปอร์ตคูเป้ขนาดลางของโครโนสในชื่อ MX-6 รุ่นที่ 2 (รุ่นสุดท้าย) ตามออกมาด้วยมิติตัวถังยาว 4,610 มิลลิเมตร กว้าง 1,750 มิลลิเมตร สูง
1,310 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,610 มิลลิเมตร วาง 2 ขุมพลัง ทั้งรหัส KF-ZE จากโครโนส และแรงสุดกับ KL-ZE จากโครโนส 25 Gran Turismo ส่วนเวอร์ชันยุโรปวาง
ขุมพลังเดียวแบบ วี6 DOHC 24 วาล์ว 2,497 ซีซี 164 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22.08 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที
EUNOS 500 / XEDOS 6
เว้นไปเพียง 2 วันหลังเปิดตัว MX-6 โครโนสรุ่นหรูตัวถังเล็กในชื่อ EUNOS 500 ก็คลานตามออกมาเมื่อวันที่ 23 มกราคม 1992 ออกแบบใหม่ทั้งหมด เน้นความโค้งมน
ด้วยแนวทางการออกแบบ HIBIKI บนมิติตัวถังยาว 4,545 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,350 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,610 มิลลิเมตร วาง 3 ขุมพลังหลัก ทั้งรหัส
K8-ZE และ KF-ZE จากโครโนส ทั้งคู่วางในรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า พ่วงด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ หรืออัตโนมัติ 4 จังหวะรุ่น GF42 เพิ่มรุ่นครั้งแรกเมื่อ 18 ธันวาคม 1992
ด้วยรุ่น 20F-X ตามด้วยรุ่น 20F-Spacial เมื่อ 24 พฤษภาคม 1993 ก่อนที่รุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ด้วยขุมพลัง FP-DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,839 ซีซี 115 แรงม้า (PS)
ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที พ่วงด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ จะตามออกมาในปี1994 และอยู่ในตลาดจนถึงสิ้นปี 1995 ด้วยยอดขายใน
ญี่ปุ่นตลอด 4 ปีรวมทั้งสิ้น 25,728 คัน
ส่วนเวอร์ชันยุโรปในชื่อ XEDOS 6 เริ่มบุกตลาดยุโรปช่วงปลายปี 1993 วางขุมพลัง 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,598 ซีซี 107 แรงม้า (PS) ที่ 6,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด
14.06 กก.-ม.ที่ 3,600 รอบ/นาที และ วี6 DOHC 24 วาล์ว 1,995 ซีซี 140 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.32 กก.-ม.ที่ 5,000 รอบ/นาที ขับเคลื่อน
ล้อหน้าอย่างเดียวด้วยเกียร์ธรรมดาและอัตโนมัติ
efini MS-8
มีนาคม 1992 efini MS-8 รุ่นเปลี่ยนโฉมโมเดลเชนจ์ของ มาสด้า เพอร์โซนา หรือ EUNOS 300 ออกสู่ตลาดในรูปของ พรีเมียมฮาร์ดท็อป 4 ประตู ออกแบบล้ำสมัยด้วย
การย้ายคันเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะมาไว้บนแผงหน้าปัด ติดกับมาตรวัดความเร็ว แถมชุดเครื่องเสียง ยังมีฝาครอบปิดเพื่อความสวยงาม มิติตัวถังยาว 4,695 มิลลิเมตร กว้าง
1,750 มิลลิเมตร สูง 1,340 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,610 มิลลิเมตร วาง 2 ขุมพลังทั้งแบบ KF-ZE และ KL-ZE ชุดเดียวกับใน MX-6 เพิ่มรุ่นครั้งแรกเมื่อ 30 ตุลาคม
1992 เพิ่มระบบ SOLAR VENTILATION SYSTEM บนซันรูฟของรุ่น 2.5 ทุกรุ่น ตามด้วย 28 มกราคม 1993 กับรุ่น 2.0 TYPE G-S PREMIUM MUSIC
SYSTEM เว้นมาถึง 28 กรกฎาคม 1993 จึงเพิ่มรุ่น 2.0 TYPE R-J และเพิ่มถุงลมนิรภัยในรายการออพชันเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1995 เป็นการปิดท้าย
19 พฤษภาคม 1992 แฝดผู้น้อง AUTOZAM CLEF ซีดาน เปิดตัวออกมาเสริมทัพในฐานะรถยนต์รุ่นใหญ่ที่สุดที่มีขายในโชว์รูมเครือข่ายจำหน่าย AUTOZAM ขณะนั้น
ใช้ชิ้นส่วนตัวถังร่วมกับโครโนส และ MS-6 ได้ทั้งกระจกบังลมหน้า ประตูคู่หน้า และแผ่นประตูหลัง (ไม่รวมเสากรอบกระจก) ที่เปิดประตู กระจกมองข้าง และแผงหน้าปัด
แผงบุประตู จนถึงเบาะนั่งทั้งหมด รวมถึงทุกรายละเอียดวิศวกรรม มีความยาวตัวถัง 4,670 มิลลิเมตร กว้าง 1,750 มิลลิเมตร สูง 1,400 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,610
มิลลิเมตร วาง 3 ขุมพลังทั้งแบบ FS-DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี 125 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.6 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที วาง
เฉพาะรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ ส่วนรุ่นขับเคลื่อนล้อหน้า วางขุมพลังทั้งรหัส KF-ZE และ KL-ZE จาก MX-6
เข้าเมืองไทยในชื่อ 626 โครโนส เมื่อเดือนสิงหาคม 1992 ทั้งรุ่นซีดานและ MS-6 ในรูปแบบรถยนต์นำเข้าทั้งคัน สเป็กเดียวกับเวอร์ชันออสเตรเลีย ที่ได้รางวัลรถยนต์ยอด
เยี่ยมแห่งปีจากนิตยสาร Wheels วางขุมพลัง FP-DE ก่อนตามด้วย KF-ZE บล็อกเดียวกับแลนติส วี6 แต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกันเล็กน้อย ในปี 1994
(รายละเอียดเพิ่มเติมดูในคอลัมน์ USED CAR ของ THAIDRiVER ฉบับ 22 เดือนเมษายน 2001 หรือ http://www.thaidriver.net/014-usedcar/usedcar22-mazda626.htm)
เวอร์ชันอเมริกัน เปิดตัวปี 1993 ช้ากว่าใครเพื่อนและมีเพียงรุ่นซีดานเท่านั้น วางขุมพลัง KS-DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 17.3 กก.-ม. ที่ 4,500 รอบ/นาที บล็อกเดียวกับเวอร์ชันไทยรุ่นแรก และแบบ วี6 DOHC 24 วาล์ว 2,497 ซีซี 164 แรงม้า (PS) ที่ 5,600 รอบ/นาที แรงบิดสูง
สุด 22.08 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที มีทั้งเกียร์ธรรมดาและอัตโนมัติ ผลิตขึ้นที่โรงงานแฟล็ตร็อก มิชิแกน ด้วยชิ้นส่วนในท้องถิ่นสหรัฐอเมริกากว่า 75%
รุ่นที่ 6 CG CAPELLA (JAPANESSE ONLY)
CAPELLA NAMEPLATE COME BACK!
29 สิงหาคม 1994 -19 สิงหาคม 1997
การกลับมาใช้ชื่อคาเพลลาอีกครั้ง หลังจากใช้ชื่อโครโนสอยู่ 3 ปี ครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงที่ญี่ปุ่นประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงพอดี ขณะนั้นทางออกที่จะช่วยให้ผู้ผลิต
รถยนต์อยู่รอดได้คือการออกรถยนต์รุ่นใหม่ โดยใช้ชิ้นส่วนอะไหล่จากรถยนต์รุ่นก่อนหน้านี้ให้มากที่สุด เพื่อลดต้นทุนในการออกแบบและผลิตจริง มาสด้าเองก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบเห็นชิ้นส่วนอะไหล่ของโครโนส จำนวนมาก ปรากฎอยู่บนตัวถังที่ยาว 4,595 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,395 มิลลิเมตร ระยะฐาน
ล้อ 2,610 มิลลิเมตร วาง 2 ขุมพลังทั้งรหัส FP-DE 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,839 ซีซี 115 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที
และ FS-DE 1,991 ซีซี 125 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิด สูงสุด 17.6 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ
เพิ่มรุ่นครั้งเดียวเมื่อวันที่ 20 กันยายน 1995 กับรุ่น Gi SPACIAL EDITION สีทูโทน และเว้นว่างยาวถึง 10 มกราคม 1996 เพิ่มถุงลมนิรภัยฝั่งคนขับเป็นอุปกรณ์เลือก
ติดตั้งพิเศษก่อนยุติการผลิตในช่วงไตรมาส 2 ปี 1997
รุ่นที่ 7 GF / GW
SPORTY CAPELLA
20 สิงหาคม 1997 - ปัจจุบัน
เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่พร้อมๆกันทั่วโลก เน้นจุดขายด้วยการออกแบบในแนวทาง CONTRAST IN HARMONY โครงสร้างนิรภัย MAGMA เบาะนั่งคู่หน้าพับเป็นโต๊ะวางของ
ได้ รวมทั้งติดตั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า และด้านข้างแบบป้องกันได้ถึงศีรษะ รวม 4 ใบ ซึ่งทั้งคู่เป็นครั้งแรกของรถยนต์ซีดานในญี่ปุ่น เสริมด้วยเบรกเอบีเอส ด้วยความสดใหม่ ทำให้
มียอดขายเฉพาะในญี่ปุ่นสูงถึง 4,300 คัน เพียงเดือนเดียวที่เปิดตัว มากกว่าเป้าจำหน่าย 2,000 คัน/เดือนถึง 1 เท่าตัว อย่างไรก็ตาม แม้จะมีให้เลือกทั้งแบบซีดาน แวกอน
และแฮตช์แบ็กเหมือนรุ่นก่อนๆ แต่รุ่นแฮตช์แบ็กกลับไม่มีจำหน่ายในญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
มิติตัวถังยาว 4,575 มิลลิเมตร กว้าง 1,695 มิลลิเมตร สูง 1,440-1,455 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,610 มิลลิเมตร วาง 3 ขุมพลังหลักแบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว ทั้ง
รหัส FP-DE 1,839 ซีซี 125 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 16.3 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที ตามด้วยตัวแรงสุด FS-ZE 1,991 ซีซี 170 แรงม้า (PS) ที่
6,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.4 กก.-ม.ที่ 5,000 รอบ/นาที ส่วนรุ่นขับเคลื่อน 4 ล้อ จะวางขุมพลังแยกออกมาต่างหากในรหัส FS-DE 1,991 ซีซี 140 แรงม้า (PS) ที่
6,300 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.2 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที พ่วงทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ EC-AT
ส่วนรุ่นแวกอน เปิดตัวครั้งแรกพร้อมรุ่นซีดานเวอร์ชันยุโรปที่งานแฟรงค์เฟิร์ทมอเตอร์โชว์เมื่อวันที่ 1 กันยายน 1999 และออกอวดโฉมในญี่ปุ่นกลางงานโตเกียวมอเตอร์โชว์
ครั้งที่ 32 เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 1997 ก่อนเริ่มทำตลาดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1997 เน้นสปอร์ตกว่ารุ่นซีดาน ด้วยชุดกันชนหน้าพร้อมกระจังหน้าไม่เหมือนกับรุ่นซีดาน
เพิ่มความยาวตัวถังเป็น 4,665 มิลลิเมตร เพิ่มความสูงเป็น 1,510-1,525 มิลลิเมตร และขยายระยะฐานล้อเป็น 2,670 มิลลิเมตร และยังเพิ่มทางเลือกขุมพลังใหม่ที่แรง
สะใจกว่าด้วยรหัส KL-ZE วี6 DOHC 24 วาล์ว 2,500 ซีซี 200 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22.8 กก.-ม.ที่ 4,800 รอบ/นาที เสริมทัพกับ 3 ขุมพลังเดิม
เพิ่มรุ่นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1998 ด้วยขุมพลังดีเซล Di-TD รหัส RF 4 สูบ 16 วาล์ว ไดเรกท์อินเจกชัน 1,998 ซีซี พ่วงเทอร์โบ 100 แรงม้า (PS) ที่ 4,000
รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22.4 กก.-ม.ที่ 2,000 รอบ/นาที พ่วงด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ EC-AT ติดตั้งในรุ่นซีดาน Ti และแวกอน SE ก่อนปรับโฉมไมเนอร์เชนจ์ในวันที่
8 ตุลาคม 1999 เปลี่ยนชิ้นส่วนตัวถังด้านหน้าทั้งหมดให้สปอร์ตขึ้น เพิ่มสีตัวถังใหม่ ตัดขุมพลังดีเซลออกจากสายการผลิต ตามข้อบังคับของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ไม่ส่งเสริมให้รถยนต์
นั่งใช้เครื่องยนต์ดีเซลแล่นในเขตเมือง ปิดท้ายด้วยการเพิ่มรุ่น วี6 2,500 ซีซี เมื่อ 22 สิงหาคม 2000
เวอร์ชันยุโรปวางขุมพลังทุกรุ่นแบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,840 ซีซี 90 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.7 กก.-ม.ที่ 2,500 รอบ/นาที ตามด้วย KS-DE
ตัวเดียวกับโครโนส 4 สูบเวอร์ชันไทย 115 แรงม้า (PS) และแรงสุดกับเวอร์ชัน 136 แรงม้า (PS) ที่ 5,800 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.2 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที หรือ
แรงแบบประหยัดกับดีเซล 4 สูบ 1,998 ซีซี 100 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 22.4 กก.-ม.ที่ 1,800 รอบ/นาที
ส่วนเวอร์ชันอเมริกัน เปิดตัวในงานนิวยอร์กออโตโชว์ในปี 1997 ด้วยรูปทรงที่แตกต่างจากเวอร์ชันญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง เพราะออกแบบขึ้นรองรับความต้องการของตลาดอเมริกา
เหนือเท่านั้น มิติตัวถังยาว 4,760 มิลลิเมตร กว้าง 1,760 มิลลิเมตร สูง 1,400 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,670 มิลลิเมตร วาง 2 ขุมพลังทั้งแบบ 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว
1,991 ซีซี 125 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 17.52 กก.-ม.ที่ 3,000 รอบ/นาที และ วี6 DOHC 24 วาล์ว 2,497 ซีซี 165 แรงม้า (PS) ที่ 6,00 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 22.21 กก.-ม.ที่ 5,000 รอบ/นาที ทั้งคู่ส่งกำลังสู่ล้อคู่หน้าได้ทั้งเดียร์ธรรมดา 5 จังหวะรุ่น G5M และอัตโนมัติ 4 จังหวะรุ่น LA4A-EL รองรับด้วยระบบกัน
สะเทือนหน้าแมคเฟอร์สันสตรัท-หลังแทรปซอยด์ ลิงก์คู่ เหล็กกันโคลงทั้งหน้า-หลัง ห้ามล้อด้วยระบบเบรก หน้าดิสก์-หลังดรัม (ดิสก์ 4 ล้อเฉพาะรุ่น วี6) ในสหรัฐฯถูกจัดอยู่ใน
กลุ่มรถยนต์ประกอบในประเทศ
รุ่นนี้นำเข้าสู่เมืองไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 1998 ทั้งแบบซีดานและแฮตช์แบ็ก วางขุมพลัง KS-DE 136 แรงม้า (PS) บล็อกเดียวกับตัวท็อปของยุโรป ด้วยจำนวนจำกัดเพียง
200 คันเท่านั้น เนื่องจากต้องเปิดตัวในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้ต้องตั้งราคาแบบพอขายได้ เนื่องจากอัตราแลกปลี่ยนเงินตราอยู่ในช่วงผันผวนอย่างรุนแรง
และสต็อกอะไหล่เท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้ต้นทุนสูงมากเกินไป นอกจากนี้ยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนถ่ายการบริหารจากกิจกมลสุโกศลเดิมที่ต้องถูกลดบทบาทเหลือเพียงเมกกะดีลเลอร์
เมื่อมาสด้าญี่ปุ่น เข้ามาบริหารเองในชื่อ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 1999
http://www.mrccfl.com/early.html
http://www.alphalink.com.au/~hillsk/capella1.htm
|
|
|
|
|