|
|
|
Article Article Menu
Shock Abosorber
ช็อค อับซอร์เบอร์ (Shock Absorber) แก๊ส-น้ำมัน
ช็อค อับ หนึ่งในอุปกรณ์ที่สร้างความเข้าใจผิดในวงกว้าง เช่น ช็อค อับ แก๊สต้องแข็งกว่าน้ำมันเสมอ หรือช็อค อับ แก๊สทำงานด้วยแก๊สล้วน ๆ หรือมีช็อค อับ แก๊สผสมน้ำมัน
ชิ้นส่วนหลักของช็อค อับ ประกอบด้วยกระบอกบรรจุของเหลว แกนโลหะที่มีลูกสูบติดอยู่ตรงปลาย เรียกกว่า MAIN PISTON และวาล์ว ซึ่งอยู่บนลูกสูบ สร้างความหนืดด้วยของเหลวที่ไหลผ่านวาล์ว แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ช็อค อับ น้ำมัน และช็อค อับ แก๊ส
จากชื่อเรียกว่าน้ำมันหรือแก๊สนั่นเอง ที่ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่า ช็อค อับ ทั้ง 2 แบบ สร้างความหนืดด้วยของเหลวต่างชนิดกัน ทั้งที่ความจริงแล้ว ทั้งโช้กอัพน้ำมันและโช้กอัพแก๊ส ก็ทำงานด้วยของเหลวชนิดเดียวกัน คือ "น้ำมัน"
ช็อค อับ น้ำมันล้วน กระบอก 2 ชั้น
เวลาที่ช็อค อับ ยุบหรือยืด ต้องมีแต่น้ำมันเท่านั้นที่ไหลผ่านวาล์ว จะมีอากาศไหลผ่านไม่ได้ ถ้ามีก็คือ พัง
ถ้าช็อค อับ น้ำมันล้วนทำกระบอกชั้นเดียว ภายในบรรจุน้ำมันไว้เต็ม (เพราะต้องไม่มีอากาศปนอยู่) เมื่อช็อค อับ ยืดตัวสุด ด้านล่างของลูกสูบมีน้ำมันอยู่เต็ม ช็อค อับ จะไม่สามารถยุบตัวได้ เนื่องจากแกนลงมาแทนที่น้ำมันไม่ได้ และกระบอกช็อค อับ ก็ขยายตัวไม่ได้
ถ้าจะแก้ปัญหาโดยใส่น้ำมันไม่เต็มกระบอก เพื่อให้มีอากาศอยู่ภายในบ้าง แกนจะได้ยุบตัวได้ (อากาศพอจะยุบตัวได้) เมื่อช็อค อับ อยู่ในจังหวะยืดตัวสุด ลูกสูบและวาล์วก็จะเจอกับอากาศ
ดังนั้น ช็อค อับ น้ำมันล้วนจึงต้องทำกระบอก 2 ชั้น โดยมีอากาศอยู่ที่กระบอกชั้นนอก เมื่อลูกสูบเลื่อนลงมาก็จะดันน้ำมันให้ไหลผ่าน FOOT VALVE ซึ่งอยู่ด้านล่างของกระบอกชั้นใน เข้าไปที่กระบอกชั้นนอก ไล่อากาศขึ้นไปอยู่ด้านบนของกระบอกชั้นนอก เมื่อลูกสูบเลื่อนขึ้นก็จะดูดน้ำมันที่กระบอกชั้นนอกกลับเข้ามาที่กระบอกชั้นใน
ความหนืดของช็อค อับ แบบน้ำมันล้วนทั้งในจังหวะยุบหรือยืด ขึ้นอยู่กับวาล์วบนลูกสูบ และบน FOOT VALVE (ถ้ามี)
ช็อค อับแก๊ส ทำงานด้วยน้ำมัน
เมื่อได้ยินว่าเป็นช็อค อับแก๊ส หลายคนเข้าใจว่าภายในกระบอกโลหะนั้นบรรจุแก๊สไว้เต็ม ใช้แก๊สในการสร้างความหนืด และคิดว่าแก๊สดีกว่าน้ำมัน เมื่อนำมาทำเป็นช็อค อับจึงต้องดีกว่า และมีความหนืดมากกว่าช็อค อับน้ำมันเสมอไป ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด
ที่ถูกต้อง คือ แม้จะได้ชื่อว่าเป็นช็อค อับแก๊ส แต่ก็สร้างความหนืดด้วยน้ำมันเป็นหลัก ส่วนจะหนืดมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบวาล์ว ไม่ใช่ว่า ช็อค อับแก๊สต้องหนืดกว่าช็อค อับน้ำมันเสมอไป
ที่เรียกว่าช็อค อับแก๊ส เพราะมีการเพิ่มห้องแก๊สเล็ก ๆ อยู่ภายในกระบอก เป็นแก๊สที่มีแรงดันพอประมาณ ไม่ถึงกับสูงมาก วัตถุประสงค์จริง คือ ต้องการให้เป็นกระบอกชั้นเดียว ระบายความร้อนได้ดี และตัวลูกสูบมีขนาดใหญ่ โดยมี FLOATING PISTON กันระหว่างห้องแก๊สและน้ำมัน แก๊สมีคุณสมบัติคล้ายอากาศ คือ สามารถยุบตัวได้เล็กน้อย ดังนั้น เมื่อช็อค อับยุบตัว ลูกสูบเลื่อนลง จึงบีบห้องแก๊สให้เล็กลง หมายความว่าต้องน้ำมันขยายใหญ่ขึ้น และเมื่อช็อค อับยืดตัว ก็จะดูดน้ำมันกลับ ห้องแก๊สที่ถูกบีบก็จะยืดตัวกลับ
ทั้ง 2 แบบ มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย
ช็อค อับน้ำมันล้วน
ข้อดี - ผลิตง่าย เพราะในขั้นตอนการประกอบมีแค่น้ำมัน ไม่ต้องอัดแก๊ส ซึ่งยุ่งยากกว่า มีจุดรั่วน้อยกว่า เพราะไม่มี FLOATING PISTON ถ้าจะทำแบบปรับความหนืดได้ก็ไม่ยาก เพราะมีจุให้ปรับทั้งที่ลูกสูบ และ FOOT VALVE
ข้อเสีย - ระบายความร้อนไม่ค่อยดี เพราะเป็นกระบอก 2 ชั้น แต่ถ้าขับทางเรียบและเลือกใช้น้ำมันที่ทนความร้อนได้สูง ๆ ก็จะดีขึ้น และถ้าถูกจำกัดขนาดของกระบอก ลูกสูบภาในจะมีขนาดเล็ก เพราะเป็นกระบอก 2 ชั้น ทำให้ถูกจำกัดการออกแบบ
ช็อค อับแก๊ส
ข้อดี - ระบายความร้อนได้ดี รองรับการใช้งานหนัก
ข้อเสีย - ผลิตยาก เพราะต้องมีขั้นตอนการอัดแก๊ส รั่วง่าย ไม่ใช่รั่วออกมาภายนอก แต่เป็นการรั่วมาปนกันของน้ำมันและแก๊ส ผ่านทางซีลของ FLOATING PISTON
การออกแบบให้เป็นแบบปรับความหนืดได้ ทำได้ยากกว่า เพราะปรับได้เฉพาะวาล์วบนลูกสูบเท่านั้น ยิ่งถ้าต้องการให้แยกปรับได้ทั้งจังหวะยืดและยุบ ความสูงและต่ำ เรียกว่า 4 WAY ADJUSTABLE ก็จะยิ่งซับซ้อน สามารถทำได้ แต่ราคาแพงมาก
ที่ปรับได้แบบ 4-Way จะปรับความหนืดได้ดังนี้
Hi-speed Bump
Hi-speed Rebound
Low-speed Bump
Low-speed Rebound
ส่วนใหญ่ในท้องตลาดปรับได้แต่ Low-speed Rebound
การที่เป็นกระบอกชั้นเดียว ถ้ากระบอกมีรอยตรงที่ลูกสูบวิ่งผ่าน ประสิทธิภาพก็จะไม่ดีเหมือนเดิม ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะโช้กอัพแก๊สมือสองในเชียงกง ซึ่งมักขนส่งแบบไม่ค่อยระมัดระวัง
ช็อค อับรถแข่ง กระบอกชั้นเดียว
สำหรับรถแข่งที่ขับกันดุเดือดโดยเฉพาะแรลลี ช็อค อับทำงานหนักสุด ๆ จึงมักเน้นการระบายความร้อนด้วยการทำช็อค อับเป็นกระบอกชั้นเดียว แต่อาจเป็นแบบน้ำมันล้วนก็ได้ โดยแยกห้องเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า SUB-TANK ติดตั้งไว้ในส่วนที่รับลมได้ดี ส่งน้ำมันระหว่างกระบอกหลักกับ SUB-TANK ผ่านทางท่อยางหรือสายสเตนเลสถัก
|
|
|
|
|