User Name :
  Password :

จำนวนสมาชิก 17,837 คน
จำนวนรถ 4,779 คัน

ออนไลน์ 0 คน

รายนามขาเม๊าท์ (0)
  - ไม่มีคนเม๊าท์

Currency Convert



Article

Article Menu
เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2546

น้ำมันเครื่อง ปลอมหรือไม่ ให้ดูที่ "แฉกหอย" !!

แหม ถ้ามันเป็นได้แบบที่ผมพาดหัวจริงคิดว่าชาวมาสด้าคลับของ "เพลิดเพลิน" กับการตระเวณดู "หอยตามปั้ม" ในอีกไม่นานนี้เป็นแน่แท้ ฮ่าฮ่าฮ่า

วลีข้างต้นนี้ นำมาจากคุณรัชตพงษ์ วิทยากรจากบริษัท เชลล์ แห่งประเทศไทย จำกัดที่ให้เกียรติมาอบรมความรู้พื้นฐานเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นเมื่อบ่ายวันเสาร์ที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา ณ.มาสด้า ซิตี หัวหมาก ซึ่งได้สร้างความสนุกสนานครื้นเครงพร้อมทั้งสาระประโยชน์ให้กับเหล่าสมาชิกของมาสด้าคลับเป็นอย่างดียิ่ง ผมเองเดินทางไปถึงเมื่อบ่าย 2 โมง ยังไม่ได้เริ่มต้นอะไรกัน เจอคุณอาทศพรรณ ทักทายกันตามปกติ เปิดประตูห้องประชุมบนชั้น 2 ของศูนย์บริการผมเองก็ค่อนข้างเหวอๆไปสักหน่อย เพราะนอกจากพี่บ๊อบ Miata Club แล้วผมไม่คุ้นหน้าท่านสมาชิกผู้ใดเลยแม้แต่ท่านเดียว และดูแต่ละท่านก็คงอึ้งๆ พอสมควรด้วยเช่นเดียวกัน ว่าไอ้อ้วนที่เดินเข้ามานี่มันใครเนี่ย? พอแนะนำตัวไปว่า ชื่อจิมมี่ครับ..อ๋อ กันเลยเชียว.... ตามประสาของคนที่ได้เห็นวีรกรรมในเน็ตมาตั้งเยอะแยะ

ผมจำหน้าทุกท่านได้ ณ เวลาที่นั่งเขียนเรื่องราวให้อ่านกันอยู่นี้ แต่เท่าที่ผมพอจะจำชื่อสมาชิกใหม่ๆได้ ก็มีเพียงคุณรัชนี คุณ 3239090 คุณโต้ น้องเนย (วิศวะฯ จุฬาฯ) คุณอ๋อง E5 ซึ่งต้องกราบขออภัยท่านอื่น ไว้แบบไม่มีข้อแก้ตัว ณ ที่นี้ด้วยครับ แหะๆๆ และเช่นเคย กว่าที่บรรดาขาประจำจะคลำทางมาถึงศูนย์ มาสด้า ซิตี้ได้ ก็คงต้องขอรายงานรายชื่อของพวกที่ "มาสาย" กันสักหน่อยหนึ่ง"

เริ่มจากลุงตุ๊ก ประธาน Miata club มาพร้อมพี่โอ๊ะเจ้าเก่า ตามติดด้วย เจ้าแม่ หม่อมแม่ หม่อมป้า (ไม่ต้องเอ่ยชิ่อ ก็คาดว่าหลายท่านคงพอจะเดาได้ว่าเป็นใคร คิคิ) ตาไฮด์ควงสาวสวยหน้าคุ้นตา เหมือนว่าเพิ่งเห็นในบูธโตโยต้า เมื่องานมอเตอร์โชว์ที่เพิ่งผ่านไป ผมว่าผมจำไม่ผิดนะ...แต่..เอ สงสัยจะผิด... จากนั้น ดูเหมือนจะปิดท้ายด้วย คู่นักศึกษา 1 คู่ และพี่เอ๋ ที่ควงพี่จอยตามมาตามฟอร์ม แถมด้วยคุณลุงปริศนาที่มานั่งฟังกับเราด้วย ชนิดไม่สนใจผู้คนรอบข้าง อ่านป้ายชื่อบนเสื้อได้ว่าลุงเค้าชื่อคุณประเสริฐ...... อบรมจนเสร็จ ลุงเค้าก็จากไป..อืมม อารมณ์แปลกๆ




เนื้อหาที่อบรมกันในวันนั้น ขอสรุปแต่เพียงคร่าวๆนะครับ

น้ำมันเชื้อเพลิงยานยนต์ แบ่งออกทั้งแบบเบนซิน และดีเซล

น้ำมันเบนซิน

สมัยก่อนจะมีสารตะกั่วอยู่ในน้ำมัน เพื่อช่วยเคลือบบ่าวาล์ว แต่เมื่อปี 1991 มีการรณรงค์ให้เปลี่ยนมาใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วในประเทศไทยดังนั้น จึงมีการนำสารเพิ่มคุณภาพ (Additive) มาเติมลงไปเพื่อทดแทนตะกั่ว โดยชลล์ ใช้สาร MTBE มาทดแทน

น้ำมันเบนซินในไทย อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีคือ มี 2 แบบ ออกเทน 91 และ 95 (ก่อนหน้านี้ มี 87 ด้วย แต่ค่อยๆถูกยกเลิกไปในภายหลัง) หลายคนสงสัยว่า ค่าออกเทนคืออะไร?

"ค่าออกเทน" คือตัวเลขที่แสดงถึงคุณสมบัติการต้านทานการชิงจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของเครืองยนต์ หรือที่เรียกกันว่าอาการน็อก

โดยปกตินั้น ในเครื่องยนต์ 4 จังหวะทั่วไป ท่านใดที่นึกไม่ออกว่า จังหวะการดูด อัด ระเบิด คาย เป็นอย่างไร ขอเรียนเชิญชมภาพประกอบได้ที่ http://www.howstuffworks.net ครับ

โดยปกติ การจุดระเบิดจะเกิดขึ้นได้ เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวเข้าใกล้จุดศูนย์ตายบน (คือ ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นไปจนจะถึงจุดสุดยอดนั่นแหละครับ) โดยในรถยนต์แต่ละรุ่นจะมีการตั้ง ignition timing หรือจังหวะการจุดระเบิดเอาไว้

ถ้ารถคันไหนเติมน้ำมันออกเทนต่ำกว่าที่ผู้ผลิตเครื่องยนต์กำหนด เมื่อละอองน้ำมันมาผสมกับอากาศกลายเป็นไอดี ไหลเข้าห้องเผาไหม้ หากน้ำมันนั้นมีค่าออกเทนต่ำ จะทนกำลังอัด (Compression ratio) ในห้องเผาไหม้ไม่ไหว และชิงจุดระเบิดเองเสียก่อน และนี่แหละครับที่เรียกกันว่า อาการน็อก หรือจะมีเสียงดังแต๊กๆๆ ออกมาเป็นระยะ ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้เครื่องยนต์สึกหรอแล้ว จะทำให้ลูกสูบแตกได้ในที่สุด เมื่อมาถึงตรงนี้ การเติม Octane Booster ลงไปต่างหาก ก็ช่วยได้บ้างแต่ไม่ถึงกับเห็นผลชัดเจนใดๆมากนัก

ดังนั้น ถ้ารถคุณ คู่มือให้เติม 95 เติม 95 ต่อไปเถอะครับหรือถ้าอยากเติม 91 จริง ก็ลองปรับตั้งไฟจุดระเบิดให้อ่อนลงและปรับตั้งจังหวะจุดระเบิดให้เหมาะสม ก็พอจะช่วยได้ แต่ การเติม 91 ทั้งที่รถตัวเองเขากำหนดให้เติม 95 นั้น จริงอยู่ว่า จะไม่เห็นผลชัดเจนในช่วง ระยะใกล้ๆ แต่เมื่อใช้งานรถผ่านไปเป็นเวลานานๆ อาการจะออกเด่นชัด

นอกเหนือจากค่าออกเทนแล้ว ผู้ผลิตน้ำมันยังคงเติมสารเพิ่มคุณภาพหรือ Additive จำพวกสารชะล้างทำความสะอาด detergent สารป้องกันการเกิดสนิม และสารเพิ่มค่าออกเทน




น้ำมันดีเซล

เนื่องจากระบบการจุดระเบิดในเครื่องยนต์ดีเซลไม่จำเป็นต้องใช้หัวเทียน แต่ใช้วิธีอัดอากาศให้ร้อน เมื่อร้อนได้ที่ ก็จะฉีดเชื้อเพลิงเข้าหองเผาไหม้ทันที

ปัญหาที่ตามมาก็คือ ถ้ามีการจุดระเบิดช้า และเกิดขึ้นหลังลูกสูบขึ้นมาถึงจุดศูนย์ตายบนแล้วมันก็จะไม่ต่างจาการที่เราออกแรงผลักชิงช้านั่นเอง ถ้าชิงช้าเลื่อนขึ้นมาจนสุดแล้ว ไหลออกไป แต่เราเพิ่งออกแรงผลัก แรงผลักที่เราผลักไปก็สูญเปล่า ดังนั้น น้ำมันดีเซลที่ดี ต้องมีค่าซีเทนที่สูง

ค่าซีเทน ก็คือตัวเลขที่แสดงถึงเวลาหน่วงการจุดระเบิด ถ้าค่าซีเทนสูง แสดงว่าเวลาหน่วงการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้จะสั้น จุดระเบิดได้ง่าย และแม่นยำ ไม่เกิดการสะสมของเชื้อเพลิง และเขม่าในห้องเผาไหม้

กฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรมในบ้านเรา กำหนดให้น้ำมันดีเซลต้องมีค่าซีเทนที่ระดับ 44 ขึ้นไปแต่น้ำมันดีเซลหมุนเร็วทั่วไป มีค่าซีเทนในระดับ 52 (เชลล์ เพียวรา อยู่ที่ 60) ค่าซีเทนนี้ ไม่มีจำกัดลีมิท และตัวเลขจะสูงขึ้นไปได้อีกเรื่อยๆ ตามพัฒนาการคุณภาพน้ำมัน

น้ำมันดีเซลมักจะมีค่ากำมะถัน (ซัลเฟอร์) สูง เมื่อเผาไหม้แล้วจะก่อให้เกิดก๊าซ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งจะแปลสภาพเป็นกรดซัลฟูริกได้ในที่สุด เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ กำมะถันหรือซัลเฟอร์ จะไปกัดกร่อนเครื่องยนต์ให้เสื่อมสภาพเร็วอีกด้วย แต่ถ้าจะกำจัดกำมะถันหรือซัลเฟอร์ออกไป ก็จะส่งผลให้ความสามารถในการหล่อลื่นปั้มเชื้อเพลิงน้อยลง ทางออกที่พอจะทำได้ในเวลานี้คือการเพิ่มสารเพิ่มการหล่อลื่น Lubricant Additive เข้าไป

ดังนัน รัฐบาลไทย จึงกำหนดปริมาณกำมะถันไม่ให้เกิน 0.05% โดยน้ำหนัก ดีเซลหมนเร็วทั่วไปตอนนี้อยู่ที่ 0.04% ขณะที่ เพียวรา อยู่ที่ 0.03%

แต่ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน หรือดีเซล พลังงานจากการเผาไหม้ 100% จากน้ำมัน จะก่อให้เกิดพลังงานจริงได้เพียง 30% อีก 70% ที่เหลือ จะสูญเสียไปเนื่องจากความร้อนและแรงเสียดทานในกระบวนการสันดาป ค่าที่ก่อให้เกิดพลังงานจริงนี้ เรียกว่าค่า Thermal efficiency 30%




มาดูน้ำมันหล่อลื่นกันบ้าง
คงไม่ต้องอธิบายนะครับว่าทำไมเราต้องหล่อลื่น..... (คุณผู้ชายทั้งหลาย ห้ามคิดถึง KY เด็ดขาด!) ใครมาถามผมนี่ แสดงว่า ยังเวอร์จิ้นอยู่แน่นอน!

น้ำมันหล่อลื่นนั้น โดยทั่วไปมาจากการนำ น้ำมันพื้นฐาน based oil มาผสมการสารเพิ่มคุณภาพ หรือ Additive สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำมันเครื่อง นั่นคือ

ค่าความหนืด (Viscosity)
- หรือการต้านทานการไหลของของเหลว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิ

ดัชนีความหนืด (Viscosity index)
- คือค่าที่วัดความสามารถในการคงความหนืดไว้ได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป
-น้ำมันหล่อลื่นที่มีดัชนีความหนืดสูง ความหนืดจะเปลี่ยนแปลงน้อย เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง และในทางกลับกัน ถ้าน้ำมันมีความหนืดต่ำ ความหนืดจะเปลี่ยนแปลงง่ายขึ้น เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน

หน้าที่ของน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์
-ลดแรงเสียดทาน ป้องกันการสึกหรอ
-ระบายความร้อน..
-นำพาเศษปนเปื้อนและเศษโลหะที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์ออกจากระบบ
-ช่วยรักษากำลังอัดในกระบอกสูบ
-ป้องกันการกัดกร่อน
-สารเพิ่มคุณภาพต่างๆ จะช่วยชะล้างและกระจายคราบเขม่าจากการเผาไหม้

น้ำมันพืช และน้ำมันสัตว์ (Vegetable & Animal oil)
ข้อเสียคือ เสื่อมสภาพเร็ว สังเกตได้จากการทอดปาท่องโก๋ เพียงไม่นานนักน้ำมันก็จะเริ่มดำแล้ว ในนั้นจะเต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง แถมยังมีความหนืดต่ำ ปล่อยให้น้ำไหลผ่านเข้าไปได้ง่าย

น้ำมันแร่ หรือ Mineral oil ได้มาจากการขุดเจาะจากใต้พื้นโลกนั่นเอง คุณภาพดี หาง่าย ไม่แพงนัก เลือกได้หลายระดับ

แต่ถ้าเป็นน้ำมันสังเคราะห์ (Synthetic oil) ฟิล์มน้ำมันจะแข็งแรงกว่า ทนความร้อนและปฏิกิริยาเคมีได้ดีกว่า แถมยังมีการระเหยต่ำ

สารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันหล่อลื่นมักจะประกอบด้วย
-สารต้านปฏิกิริยา อ็อกซิเดชัน เพื่อให้ใช้งานได้ยาวขึ้น
-สารเพิ่มความเป็นด่าง
-สารป้องกันสนิม และการกัดกร่อน
-สารป้องกันการสึกหรอ และรับแรงกดสูง ซึ่งมักพบในน้ำมันเกียร์และเฟืองท้าย
-สารป้องกันการเกิดฟอง จำเป็นต้องมีในน้ำมันเครื่อง เพราะ ทันทีที่ติดเครื่อง น้ำมันจะถูกตีขึ้นมาจาก
crankshaft เพื่อให้ไหลเข้าสู่ทุกจุดของเครื่องยนต์ ระหว่างนี้ จะเกิดฟองเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นจึงต้องป้องกันฟองไว้ก่อน

น้ำมันเครื่องนั้น ทั้งเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล จำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องที่ต่างกันออกไป เพราะเครื่องยนต์เบนซินนั้น ทำงานที่รอบสูงกว่า และเผาไหม้สะอาดกว่าเครื่องยนต์ดีเซล ดังนั้นน้ำมันเครื่องจึงต้องทนแรงเเสียดทานในห้องเผาไหม้ได้ดี และทนความร้อนได้สูง ส่วนเครื่องยนต์ดีเซล จุดระเบิดด้วยแรงอัด ให้กำลังสูง แต่มีคราบสกปรกและเขม่าจากการเผาไหม้สูง น้ำมันหล่อลื่นจึงต้องมีสารชะล้างและกระจายคราบเขม่าได้ดีกว่า และต้องทนความร้อนสูง

การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่น ก็เป็นไปอย่างที่เรารู้ๆกันดีนั่นแหละครับ
- เลือกให้ถูกชนิด และประเภทการใช้งาน
- มีความหนืดและมาตรฐานเหมาะสมกับความต้องการ
- มีเครื่องหมายรับรองของกระทรวงอุตสาหกรรม ทค.
- เลือกใช้ยี่ห้อที่น่าเชื่อถือ

มาตรฐานน้ำมันหล่อลื่นนั้น มีทั้งมาตรฐานความหนืด วัดโดย SAE (Society of Automotive Engineering) ประเภท 5W-40 15W-40 20W-50 ฯลฯ และมาตรฐานด้านสมรรถนะ วัดโดย API (American Petroleum Institute)
เครื่องยนต์เบนซิน : SA SB SC SD SE SF SG SH SJ ล่าสุดกับเกรด SL โดยตัวS ด้านหน้าย่อมาจาก Spark ignition หรือการจุดระเบิด
เครื่องยนต์ดีเซล : CA CB CC CD CE CF CF-4 CG-4 (เริ่มคุมด้านมลภาวะจากมาตรฐานนี้) CH-4 CI-4
นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานพิเศษ ทั้ง ACEA ILSAC และ MIL-L (US Military specification)



น้ำมันเกียร์

เกียร์ มี2 ประเภทหลักๆ คือเกียร์ส่งกำลัง ทั้งเกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ อีกประเภทคือ เฟืองท้าย ซึ่งมักจะเป็นแบบ ไฮปอยด์เกียร์

เฟืองเกียร์หลักๆ มี 4 แบบ ทั้งแบบ Spur Gears ฟันตรง ขบกัน
Helical Gears ฟันเฉียงขับกัน
Skew Gears เฟืองเล็กขบเยื้องเฟืองใหญ่
และ Hypoid Gears เฟืองเล็ก หมุนอยู่บนจานขนาดใหญ่
คล้ายกับเข็มที่หมุนอ่านไปบนจ่านแผ่นเสียง

หน้าที่ของน้ำมันเกียร์คือ
-ลดแรงเสียดทานและสึกหรอ
-ลดเสียงดังและการสั่นสะเทือนในเรือนเกียร์
-ชะล้างเศษโลหะจากหน้าฟันเกียร์ที่เกิดจากการกระเทือนและเสียดสี
-ป้องกันสนิม และการกัดกร่อน

คุณสมบัติของน้ำมันเกียร์ธรรมดาและเฟืองท้าย
-ควรจะมีสารรับแรงกดสูง Additive เคลือบผิวฟันเกียร์
-ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน
-ไม่กัดกร่อนวัสดุในเรือนเกียร์

การเลือกใช้ ยังคงดูตามมาตรฐานทั้งด้านความหนืดจาก SAE ทั้งแบบ 70W 75W 80W 90 140 80W-90 และมาตรฐานสมรรถนะจาก API ทั้ง GL-1 จนถึง GL-5

GL1 = รถที่ใช้ Spiral bevel & worm gear axles (เฟืองตัวหนอน) ใช้งานเบา เป็นน้ำมันแร่ อาจเติมสารกันฟอง
GL-2 = ใช้กับเฟืองตัวหนอน ทำงานรับน้ำหนักและความร้อนสูงกว่า GL-1
GL-3 = เกียร์ธรรมดา และ Spiral bevel axles
GL-4 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ หรือ ความเร็วต่ำแต่แรงบิดสูง
GL-5 = ไฮปอยด์เกียร์ ทำงานใต้สภาวะ ความเร็วต่ำ แต่มีการกดดันสูง แรงบิดสูง หรือ ความเร็วสูง แรงบิดต่ำ



ส่วนน้ำมันเกียร์อัตโนมัตินั้น จะทำหน้าที่
-ส่งถุ่ายกำลังในระบบ Torque converter
-หล่อลื่นป้องกันการสึกหรอในชุดเกียร์
-หล่อลื่นระบบคลัชต์เปียก
-เป็นน้ำมันไฮโดรลิกในระบบสมองกลควบคุมการทำงานของเกียร์
-ระบายความร้อนในเรือนเกียร์

คุณสมบัติที่ควรมีก็คือ
-มีความหนืดเหมาะสม
-ทนทานต่อแรงเฉือน
-ทนความร้อนและปฏิกิริยาอ็อกซิเดชัน
-ป้องกันการเกิดฟอง
-ต้านความฝืดได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานน้ำมันเกียร์อัตโนมัตินั้น หลักๆมีทั้ง

General Motors (GM) Dexron
-Dexron IID ,Dexron IIE (พัฒนาขึ้นจาก IID เพิ่มการต้านทานความฝืด ป้องกันการสึกหรอได้ดีขึ้น)
-Dexron III

นอกจากนี้ยังมีของฟอร์ด M 2 C-33 C/D , 33F, 33G Alison C3 , C4 และแม้แต่ Caterpillar TO-2 , TO-4

ควรเปลี่ยนถ่ายเมื่อดึงจากก้านวัดแล้วพบว่าสีออกเข้มแล้ว

มาถึงตรงนี้ เกิดคำถามขึ้นมากมายว่า ตกลงแล้วDexron II กับ III ใช้แทนกันได้หรือไม่

สรุปได้ดังนี้ครับ
Dexron II หันไปใช้ III ได้
แต่ Dexron III กลับมาใช้ II "ไม่ได้"
และทั้งหมดนี้ ยังไม่ตายตัว ยังต้องขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบเรือนเกียร์ ของรถแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้ออีกด้วย!



น้ำมันเบรก

การทำงานของระบบเบรกในรถยนต์ทั่วไปนั่นคือ เมื่อเหยียบเบรก ก้านสูบที่ตึดยึดกับแป้นเบรก จะไปดันให้ลูกสูบในชุดแม่ปั้มเบรก ดันน้ำมันเบรกให้ไหลไปตามท่อระบบเบรก เพื่อให้ระบบเบรกทำงาน

เนื่องจากระบบเบรกมีความร้อนสูงมากในระหว่างการใช้งานดังนั้นน้ำมันเบรกที่ดีจึงควรมีคุณสมบัติ
-มีจุดเดือดสูง
-มีจุดเดือดค่าเดียว
-ไม่เป็นอันตรายต่อซีลยางต่างๆ
-มีความหนืดเหมาะสม

มาตรฐานของน้ำมันเบรก

SAE J1703
US FMVSS (Federal Motor Vehicle Safety Standard)
DOT (Department Of Transportation)
มีทั้ง DOT 3 DOT4 DOT5
ไปจนถึง ISO 4925

การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ควรทำอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง




จบช่วงอบรมแล้ว มอบของที่ระลึกกันตามธรรมเนียม เป็นการขอบคุณ

แต่ละท่านก้แยกย้าย บ้างไปตามกิจธุระของตน บ้างก็นั่งเล่นในมาสด้าซิตี้ รอเวลามีทติ้งกันที่ร้านสเต็กลาว พรีเมียร์พระราม 9

ไปถึงก็บังเอิญเจอ คุณสมศักดิ์ มีลือการ แห่งรายการ ค.คนรักรถ ช่อง 5 และรายการวิทยุ คู่แข่งมอเตอร์ริง เห็นว่ามาดูสถานที่ เพื่อเตรียมจัดรายการ ออกอากาศสด ทุกคืนวันศุกร์ ทางช่อง 7 สี หรือช่อง 5 อันนี้ก้จำไม่ได้แน่ชัด ยิ่งผ่านอินเตอร์เน็ต อันนี้ก็ฟังไม่ถนัดอีกเช่นกัน

ก็ขอให้โชคดีครับ...

มีทติ้งคราวนี้ หฤหรรษ์ไม่น้อย มากันเกือบครบ จะขาดก็แต่ท่าน 2 พ่อเนื้อหอมที่ยังมีทติ้งต่างแดนสนุกสนานอยู่ ^_^ ที่พิเศษกว่าปกติก็คือ คุณเปิ้ล ขึ้นมาร่วมมีทติ้งกับพวกเราจากภูเก็ตเลย ซึ่งต้องขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ครับ แม้ว่าจะหลงทางไปบ้าง แต่ก็พบกันจนได้ในท้ายที่สุด อีกทั้งยังมีเค้กปอนด์เล็ก ที่ทั่นป้าสั่งมาฉลองวันเกิด ล่วงหน้าให้กับพี่สุดโดยเฉพาะ

ขาดตกบกพร่องบรรยากาศใด ช่วยกันเติมแต่งความทรงจำด้วยจะดีมากครับ