User Name :
  Password :

จำนวนสมาชิก 17,837 คน
จำนวนรถ 4,779 คัน

ออนไลน์ 0 คน

รายนามขาเม๊าท์ (0)
  - ไม่มีคนเม๊าท์

Currency Convert



Article

Article Menu
Mazda 3 / AXELA
ตัวตายตัวแทนของ 323

THAIDRiVER
โดย JIMMY


Mazda 3 THAI VERSION
รุ่น 5 ประตูจะกลับคืนเมืองไทยอีกครั้ง!

หลังการเปิดตัวในตลาดโลกแล้ว ก็จะถึงคราวของคนไทยที่จะได้สัมผัสกับ 3/แอ็กเซลา อย่างแน่นอนเป็นคิวต่อไป หลังจากที่ต้องทานแห้วกับมาสด้า 6 ที่จนถึงตอนนี้ ก็ยังพอมีความหวังในการทำตาดแบบเลือนลางเต็มที

เวอร์ชันไทยนั้น ยังอยู่ในระหว่างการสรุปขั้นสุดท้าย แต่คาดกันว่า จะเป็นเครื่องยนต์ 1,600 ซีซี เวอร์ชันตลาดโลก และ 2,000 ซีซี เวอร์ชันออสเตรเลีย โดยครั้งนี้จะเป็น การกลับมาอีกครั้งของรุ่น 5 ประตู หลังจากที่หายไปเมื่อหมดอายุทำตลาดของแอสทินารุ่นสุดท้าย

เวอร์ชันไทยของ 3 จะถูกนำเข้าจากโรงงาน ออโตอัลลายแอนซ์ ในฟิลิปปินส์ และส่งมาขึ้นท่าเรือที่เมืองไทย ในช่วงกลางปี 2004 แต่ก่อนหน้านั้น อาจมีการนำรถยนต์ ตัวอย่างเข้ามาอวดโฉมกลางงานบางกอกมอเตอร์โชว์ ที่ไบเทค บางนา ปลายเดือนมีนาคมนี้ พร้อมกับเปิดรับจองล่วงหน้า คาดว่ารถคันแรกจะเริ่มส่งถึงมือลูกค้าได้ ก่อนเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2004
มาสด้าเดินหน้าสร้างปรากฎการณ์ระลอกใหม่ ลั่นกลองรบครั้งใหญ่ด้วยคอมแพกต์ซีดาน และแฮตช์แบ็ค 5 ประตูขนาดกลางโฉมใหม่ที่ใช้ชื่อ แอ็กเซลา สำหรับตลาดญี่ปุ่น และ มาสด้า 3 สำหรับตลาดทั่วโลก เปิดตัวแล้วกลางงานแฟรงก์เฟิร์ตมอเตอร์โชว์เมื่อ 9 กันยายนที่ผ่านมา ท้าชนกับพี่เบิ้มเจ้าถิ่นทั้งโฟล์กสวาเกน กอล์ฟ และ โอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ แอสตรา โฉมใหม่ และเริ่มทำตลาดในญี่ปุ่นแล้วเมื่อ 15 ตุลาคม ที่ผ่านมา คนไทยเตรียมรอสัมผัสแน่นอน กลางปี 2004

3 / แอ็กเซลา ใหม่ รหัสรุ่น BK เป็นรถยนต์รุ่นที่ 4 จากแผนเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่มาสด้าเผยโฉมมาตั้งแต่ปี 2001 ต่อเนื่องจาก 6/อาเทนซา 2/เดมิโอ และ RX-8 และถูก พัฒนาขึ้นภายใต้รหัสโครงการ J48C โดยใช้พื้นตัวถังใหม่รหัส C-170 ซึ่งเป็นพื้นตัวถังใหม่ที่ฟอร์ด ร่วมกับ มาสด้า และวอลโว สร้างขึ้น โดยฟอร์ดจะนำพื้นตัวถังนี้ไปใช้กับ โฟกัส ซี-แมกซ์ มินิแวน ที่เพิ่งเปิดตัวไป และ โฟกัสโฉมใหม่ที่จะเปิดตัวในปีหน้า ส่วนวอลโว นำไปใช้กับรุ่น เอส40 ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมๆกันในงานแฟรก์เฟิร์ตมอเตอร์โชว์ เมื่อเดือนที่แล้ว รวมทั้ง วี50 ที่จะตามออกมาในงานเจนีวามอเตอร์โชว์ ต้นปีหน้า

ถึงแม้ว่ามาสด้าจะคาดหวังให้ 3/ แอ็กเซลา เป็นหัวหอกหลักในยุทธศาสตร์บุกตลาดทั่วโลก แต่เป้าหมายหลักที่แท้จริง คือการมุ่งเจาะตลาดรถยนต์คอมแพกต์ในยุโรป ซึ่งเป็น กลุ่มตลาดที่ถูกยึดครองโดยโฟล์กสวาเกน กอล์ฟ ฟอร์ด โฟกัส เรโนลต์ เมกาน-ทู โอเปิล/วอกซ์ฮอลล์ แอสตราใหม่ ไปจนถึงเพียต สติโล อย่างไรก็ตาม มาสด้าได้เปรียบ ผู้ผลิตสัญชาติญี่ปุ่นรายอื่นๆ เพราะมีภาพพจน์ที่แข็งแกร่งในหมู่ชาวยุโรป ทั้งในด้านการยอมรับด้านคุณภาพการผลิต และสมรรถนะการขับขี่ ล่าสุด มาสด้าเพิ่งประกาศตัวเลข ยอดขายในยุโรปตลอดช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ว่าสามารถสร้างสถิติยอดขายใหม่ ถึง 158,435 คัน เพิ่มขึ้นจากสถิติ 118,702 คัน จากช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว ถึง 33.5 %

รูปลักษณ์ภายนอกเป็นผลงานของทีมงานที่นำโดย HIDEAKI SUZUKI ; CHIEF DESIGNER ที่เคยดูแลงานออกแบบของ มาสด้า 121 (ออโตแซม รีวิว) และรถต้นแบบ RX-EVOLVE ยังคงรับอิทธิพลความคล้ายคลึงมาจากทั้ง 2/เดมิโอ 6/อาเทนซา และอาร์เอ็กซ์-8 อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นกรอบไฟหน้าทรงรียาว รวมชุดไฟหน้า และไฟเลี้ยว แบบกลมไว้ข้างในฝั่งละ 3 ดวง กระจังหน้าทรง 5 เหลี่ยม มี 3 ลาย หากเป็นรุ่นพื้นฐานจะเป็นแบบตะแกรงสีดำ ขอบกระจังด้านบนสีเดียวกับตัวถัง ในรุ่นกลาง ขอบกระจังด้าน บนจะมีสีเงินแต่ในรุ่นท็อป จะเปลี่ยนมาใช้กระจัง 2 ซี่นอนคาดกลาง สีเดียวกับตัวถัง เสริมความหนาให้กับตัวถังด้วยโป่งข้างเหนือซุ้มล้อทั้ง 4 ชิ้นส่วนตัวถังครึ่งคันหน้าใช้ร่วม กันได้หมด

สิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับคาแรกเตอร์ของแต่ละคันอยู่ที่บริเวณบั้นท้าย โดยรุ่นแฮตช์แบ็ก ซึ่งมาสด้าชูโปรโมทเป็นรุ่นหลัก เน้นความโฉบเฉี่ยวด้วยเส้นตัวถัง J-LINE บริเวณเสาหลังคาด้านหลัง ตัดกับชุดไฟท้ายและชุดฝากระโปรงท้าย ขณะที่รุ่นซีดาน จะมีเส้นตัวถังบริเวณเสาหลังคาคู่หลัง C-PILLAR ถอดแบบมาจาก อาร์เอ็กซ์-8 และออกแบบให้ฝากระโปรงท้ายขึ้นรูปเป็นสปอยเลอร์หลังในตัว รับกับชุดไฟท้ายและกันชนท้ายที่ออกแบบให้แตกต่างกัน และใช้ร่วมกันไม่ได้เลย

เมื่อดูจากภาพถ่าย อาจคิดว่า 3/แอ็กเซลา น่าจะมีขนาดตัวถังเล็กลง แต่เมื่อดูจากมิติของทั้ง 2 ตัวถังที่มีขนาดไล่เลี่ยกัน แล้ว อาจต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะทั้งคู่มีขนาด ใหญ่ขึ้นในทุกมิติ ด้วยความยาวระหว่าง 4,485-4,540 มิลลิเมตร กว้าง 1,745 มิลลิเมตร สูง 1,465 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาวกว่าใครเพื่อนที่ 2,640 มิลลิเมตร โดยที่ โครงสร้างตัวถังถูกปรับปรุงให้แข็งแกร่งขึ้น ลดเสียงรบกวน และลดการบิดตัว อีกทั้งยังรองรับและส่งกระจายแรงปะทะจากการชนได้ดีขึ้นรอบคัน

ไม่ใช่แค่ภายนอก แต่ความคล้ายคลึงกันกับพี่น้องร่วมตระกูล ยังถ่ายทอดสู่ภายในห้องโดยสารด้วยเช่นกัน แผงหน้าปัดสไตล์สปอร์ต มาตรวัดแบบ 3 ช่อง เน้นปริมาณปุ่มควบคุม บนแผงคอนโซลกลาง เรืองแสงด้วยหลอดไฟสีแดง ชุดเครื่องเสียงพร้อมปุ่มควบคุมบนพวงมาลัย ส่วนปุ่มควบคุมระบบนำร่องผ่านดาวเทียม GPS พร้อมระบบแจ้งข้อมูลด้วย เสียง ถูกย้ายลงมาอยู่ติดกับคันเกียร์แทน ระบบเปิดไฟหน้าอัตโนมัติ และระบบใบปัดน้ำฝนพร้อมเซ็นเซอร์วัดปริมาณน้ำฝน RAIN-SENSOR เบาะคู่หน้าแบบบักเก็ตซีต ออกแบบใหม่ให้กระชับตัวยิ่งขึ้น ถุงลมนิรภัยคู่หน้าและด้านข้างรวม 4 ใบ ส่วนม่านลมนิรภัยบนรางหลังคาติดมาให้เฉพาะรุ่นท็อปเท่านั้น ส่วนรุ่นรองเป็นออพชัน นอกจากนี้ ยังมีจุดยึดเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก ISO-FIX แป้นเบรกยุบตัวได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ฯลฯ

ในช่วงเปิดตัว 3/แอ็กเซลามีเครื่องยนต์ให้เลือก 4 ขนาด เป็นบล็อกอะลูมิเนียม 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว ลดน้ำหนักลงจากเดิม 10% เกือบทุกรุ่นติดตั้งระบบแปรผันวาล์ว S-VT (SEQUENTIAL VALVE TIMING) ระบบแปรผันท่อทางเดินไอดี VIS (VARIABLI INDUCTION SYSTEM) และระบบ TSCV (TUMBLE SWIRL CONTROL VALVE แต่มีสเป็กหลากหลายสำหรับ 4 กลุ่มตลาดหลักทั่วโลก ทุกรุ่นมีให้เลือกทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ พร้อมโหมดบวกลบ ACTIVE MATIC ให้ผู้ขับเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้เอง นอกจากนี้ทุกรุ่นยังผ่านมาตรฐานมลพิษ U-LEV ของรัฐบาลญี่ปุ่น Euro3 ของสหภาพยุโรป และ T2B5 ของสหรัฐ- อเมริกา และบางรุ่นยังผ่านไปถึงระดับ Euro4 แล้วอีกด้วย มีให้เลือกดังนี้

- รหัส ZVY 1.5GE 1,498 ซีซี S-VT VIS มีเฉพาะเวอร์ชันญี่ปุ่น และตลาดโลก 114 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.2 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที
- รหัส Z6V 1.6GE 1,598 ซีซี S-VT VIS มีเฉพาะเวอร์ชันยุโรป และตลาดโลก 105 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 14.7 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที
- รหัส LFD 2.0L 1,998 ซีซี ไม่มีระบบ S-VT
- เวอร์ชันญี่ปุ่น 150 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.6 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที มีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ ACTIVE MATIC
- เวอร์ชันอเมริกาเหนือ 148 แรงม้า (HP) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.63 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที ยกเว้นเวอร์ชันแคลิฟอร์เนีย ที่จะลดกำลังลงเหลือ 144 แรงม้า (HP) และแรงบิดสูงสุด 18.2 กก.-ม. ณ รอบเครื่องยนต์เท่ากันทั้งคู่
- เวอร์ชันยุโรป 149 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 19.05 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที
- เวอร์ชันออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ 144 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 18.54 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที

- รหัส L3V 2.3L 2,260 ซีซี S-VT VIS
- เวอร์ชันญี่ปุ่น 171 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 21.8 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที มีเฉพาะเกียร์อัตโนมัติ ACTIVE MATIC
- เวอร์ชันอเมริกาเหนือ 160 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 20.7 กก.-ม.ที่ 4,500 รอบ/นาที
- เวอร์ชันออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ 159 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 20.78 กก.-ม. ที่ 4,500 รอบ/นาที

ทั้ง 4 แบบเลือกได้ทั้งเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ และอัตโนมัติ 4 จังหวะ พร้อมโหมดบวกลบ ACTIVE MATIC ให้ผู้ขับเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้เอง ระบบกันสะเทือนหน้ายังคงเป็นแม็กเฟอร์สันสตรัต เพิ่มขนาดแดมเปอร์หน้าเป็น 35 มิลลิเมตร และใช้บุชยางร่วมกับ 6/อาเทนซา แต่ด้านหลัง เปลี่ยนมาใช้แบบมัลติลิงก์ ที่พัฒนาจากพื้นญานเดียวกับใน 6/อาเทนซา เสริมการทำงานด้วยระบบควบคุมการทรงตัว DSC (DYNAMIC STABILITY CONTROL) พร้อมแทร็กชันคอนโทรล เอบีเอส ระบบกระจายแรงเบรกอีบีดี และระบบเพิ่มแรงเหยียบเบรกในภาวะฉุกเฉิน ดิสก์เบรกคู่หน้าเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 278 - 300 มิลลิเมตร ส่วนคู่หลัง ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลางตั้งแต่ 265-280 มิลลิเมตร ตามแต่ละรุ่นย่อย ส่วนรุ่นพื้นฐานจะใช้ดรัมเบรกหลัง เส้นผ่าศูนย์กลาง 228 มิลลิเมตร (ใหญ่ขึ้นจากจานเบรกโปรทีเจ ทีมีขนาด 235-274 มิลลิเมตร ที่คู่หน้า และ 261-280 มิลลิเมตร ที่คู่หลัง และดรัมเบรกขนาด 200 มิลลิเมตร)

SPECFICATION Mazda 3 / AXELA
แบบตัวถัง ซีดาน และ แฮตช์แบ็ก 5 ประตู
เครื่องยนต์ 4 สูบ ทวินแคม 16 วาล์ว
ความจุกระบอกสูบ 2,260 ซีซี
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 87.5 x 94.0 มิลลิเมตร
อัตราส่วนกำลังอัด 10.5 : 1
กำลังสูงสุด 171 แรงม้า (PS) ที่ 6,500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 21.8 กก.-ม.ที่ 4,000 รอบ/นาที
ระบบส่งกำลัง อัตโนมัติ 4 และ 5 จังหวะ
ระบบขับเคลื่อน ล้อหน้า
ระบบบังคับเลี้ยว แรคแอนด์พีเนียนพร้อมเพาเวอร์
ระบบกันสะเทือนหน้า ปีกนกคู่+แมคเฟอร์สันสตรัท พร้อมเหล็กกันโคลง
ระบบกันสะเทือนหลัง E-TYPE มัลติลิงก์
ระบบเบรกหน้า / หลัง ดิสก์ 4 ล้อ พร้อม เอบีเอส EBD
ตัวแทนจำหน่าย บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัดโทร.
บังคับเลี้ยวด้วยระบบพวงมาลัยแร็กแอนด์พีเนียน พร้อมระบบเพาเวอร์ช่วยผ่อนแรง ELECTRO-HYDRALIC โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าควบคุมการทำงานของปั้มไฮโดรลิก เพื่อปรับน้ำหนักตามความเร็วรอบเครื่องยนต์ จากเดิมที่เชื่อมการทำงานกับเครื่องยนต์โดยตรง รัศมีวงเลี้ยว 5.2 เมตร

อ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้ว อาจสงสัยว่า ทำไมมาสด้าถึงไม่ค่อยติดตั้งเทคโนโลยีล้ำสมัยลงใน 3/แอ็กเซลา AKIRA TANIOKA ; PROGRAM MANAGER ของโครงการนี้ กล่าวโดยสรุปว่า จุดมุ่งหมายสำคัญในการพัฒนารถยนต์รุ่นนี้ คือ การสร้างรถยนต์อย่างตั้งใจให้ดีพอที่จะแข่งขันกับรถยนต์ยุโรปได้ในตลาดโลก โดยสร้างรถให้มีเสน่ห์ดึงดูด เมื่อแรกพบ มีความปลอดภัยและมีสมรรถนะดีในย่านความเร็วสูง

"ถ้าคุณนึกถึงบ้าน คุณคงอยากจะใช้ชีวิตอย่างง่ายๆ สบายๆ ในบ้านที่มีเฟอร์นิเจอร์ไม่มากนัก แต่ออกแบบอย่างกลมกลืน มากกว่าห้องที่เต็มไปด้วยความหรูหราฟู่ฟ่าแต่มี ราคาแพงเพียงห้องเดียว ผมไม่อาจปฏิเสธความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกรูปแบบ อย่างกลมกลืนและสมดุล แต่เรามีตัวอย่างมากมายที่สามารถชนะใจลูกค้าได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ๆ บางอย่างที่ใช้งานยาก เพราะด้วยการใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ อย่างสมดุล ซึ่งทำให้รถยนต์ ยุโรปประสบความสำเร็จ ทำให้เราสร้างรถยนต์ที่ไม่เพียงสร้างความพอใจเฉพาะแต่ลูกค้า แต่รวมถึงตัวเราเองด้วย"

เวอร์ชันญี่ปุ่นออกสู่ตลาดผ่านทุกเครือข่ายจำหน่าย ทั้งเครือข่ายหลักมาสด้า เครือข่าย มาสด้า-แองฟินิ และ มาสด้า-ออโตแซม มีให้เลือก 8 รุ่นย่อย ด้วยราคาตั้งแต่ 474,300 - 663,000 บาท คาดหวังยอดขายไว้ที่ระดับ 2,500 คัน/เดือน ขณะที่เวอร์ชันยุโรป เริ่มทำตลาดพร้อมกับเวอร์ชันญี่ปุ่นทันที ส่วนคนอเมริกัน และคนไทย รอได้พร้อมๆกันใน ช่วงกลางปีหน้า

แต่สิ่งที่น่าสังเกตอยู่คือ ถึงมาสด้าจะเปิดตัวแอ็กเซลาในตลาดญี่ปุ่นแล้ว แต่ยังคงเดินหน้าทำตลาด แฟมีเลียรุ่นเดิมต่อไป โดยบรรจุข้อมูลและบริการพิเศษของแฟมีเลียลงใน เว็บไซต์ http://www.mazda.co.jp ที่เพิ่งปรับปรุงใหม่เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา เราได้แต่รอดูต่อไปว่า มาสด้าจะปลดแฟมีเลียออกจากสายการผลิตเมื่อใด